เมนู

ละได้แล้ว และเธอเป็นผู้มีสิกขาอันได้ศึกษาแล้วในไตรสิกขานี้ เมื่อนั้นภิกษุนี้
เรากล่าวว่า ได้ตัดตัณหาขาดแล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว ได้ทำที่สุดทุกข์
เพราะละมานะได้โดยชอบ.
จบภาวสูตรที่ 10

11. ตัณหาสูตร


ว่าด้วยตัณหาและมานะ


[377] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหา 3 และมานะ 3 ควรละ ตัณหา
3 เป็นไฉน ? คือ กามตัณหา 1 ภวตัณหา 1 วิภวตัณหา 1 ตัณหา 3 นี้
ควรละ มานะ 3 เป็นไฉน ? คือ ความถือตัวว่าเสมอเขา 1 ความถือตัวว่า
เลวกว่าเขา 1 ความถือตัวว่าดีกว่าเขา 1 มานะ 3 นี้ควรละ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อใดแล ตัณหา 3 และมานะ 3 นี้ย่อมเป็นธรรมชาติอันภิกษุละ
ได้แล้ว เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้ตัดตัณหาขาดแล้ว คลายสังโยชน์
ได้แล้ว ได้กระทำที่สุดทุกข์เพราะละมานะได้โดยชอบ.
จบตัณหาสูตรที่ 11
จบอานิสังสวรรคที่ 5

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปาตุภาวสูตร 2. อานิสังสสูตร 3. อนิจจสูตร 4. ทุกขสูตร
5. อนัตตสูตร 6. นิพพานสูตร 7. ปฐมอโนทิสสูตร 8. ทุติยอโนทิสสูตร
9. ตติยอโนทิสสูตร 10. ภาวสูตร 11. ตัณหาสูตร และอรรถกถา.
จบทุติยปัณณาสก์

วรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์


ติกวรรคที่ 1


1. วิราคสูตร


ว่าด้วยธรรมที่ควรละและควรเจริญ


[378] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้ 3ประการเป็นไฉน ?
คือ ราคะ 1 โทสะ 1 โมหะ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้แล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการอันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อละธรรม 3
ประการเหล่านี้ ธรรม 3 ประการเป็นไฉน ? คือ อสุภะ อันภิกษุพึงให้เจริญ
เพื่อละราคะ 1 เมตตา อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละโทสะ 1 ปัญญา อันภิกษุ
พึงให้เจริญเพื่อละโมหะ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้ อันภิกษุ
พึงให้เจริญเพื่อละธรรม 3 ประการนี้แล.
จบราคสูตรที่ 1