เมนู

สีติวรรคที่ 4


1. สีติสูตร


ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรบรรลุความเป็นผู้เย็น


[356] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 6 ประการ
ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ธรรม 6 ประการ
เป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม 1 ไม่
ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง 1 ไม่ยังจิตให้ร่าเริง ในสมัยที่ควรให้ร่าเริง 1
ไม่วางเฉยจิตในสมัยที่ควรวางเฉย 1 เป็นผู้น้อมไปในธรรมเลว 1 และ
เป็นผู้ยินดียิ่งในสักกายะ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 6
ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 6 ประการ ย่อมเป็น
ผู้ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ธรรม 6 ประการเป็นไฉน ?
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม 1 ย่อมประคองจิตใน
สมัยที่ควรประคอง 1 ย่อมยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง 1 ย่อมวาง
เฉยจิตในสมัยที่ควรวางเฉย 1 เป็นผู้น้อมไปในธรรมประณีต 1 และเป็น
ผู้ยินดียิ่งในนิพพาน 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการ
นี้แล ย่อมเป็นผู้ควรกระทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง.
จบสีติสูตรที่ 1

สีติวรรคที่* 4


อรรถกถาสีติสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสีติสูตรที่ 1 แห่งสีติวรรคที่ 4 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า สีติภาวํ ได้แก่ ความเยือกเย็น. ในบทว่า ยสฺมึ
สมเย จิตฺตํ นิคฺคณฺหิตพฺพํ
เป็นต้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ ธรรมดาจิต
ควรข่มไว้ด้วยสมาธิ ในเวลาที่ฟุ้งซ่าน. ควรข่มด้วยความเพียร ในเวลาที่จิต
ตกไปตามโกสัชชะ (ความเกียจคร้าน). ควรให้ร่าเริงด้วยสมาธิ ในเวลาที่
จิตขาดความแช่มชื่น. ควรเข้าไปเพ่ง ด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ในเวลาที่จิต
เป็นไปสม่ำเสมอ.
จบอรรถกถาสีติสูตรที่ 1

2. ภัพพสูตร


ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรเข้าถึงธรรม


[357] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 6 ประการ
แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบ
ในกุศลธรรมทั้งหลาย ธรรม 6 ประการเป็นไฉน ? คือ เป็นผู้ประกอบ
ด้วยความเป็นผู้มีกรรมเป็นเครื่องกั้น 1 ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกิเลสเป็น
เครื่องกั้น 1 ประกอบด้วยความเป็นผู้มีวิบากเป็นเครื่องกั้น 1 เป็นผู้ไม่มี
* อรรถกถาเป็นวรรคที่ 9