เมนู

อรรถกถาสีหสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสีหสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สนฺทิฏฺฐิกํ ได้แก่ ที่พึงเห็นเอง. บทว่า ทายโก คือ
เป็นผู้กล้าในการให้. อธิบายว่า ไม่ใช่หยุดอยู่ด้วยเหตุเพียงเชื่อว่าทานเป็นของดี
เท่านั้น ยังสามารถแม้บริจาคได้ด้วย. บทว่า ทานปติ ได้แก่ ให้ทานใดก็เป็น
เจ้าแห่งทานนั้นให้. ไม่ใช่ทาส และ ไม่ใช่สหายทาน. ก็ผู้ใดตนเองบริโภคของ
อร่อย แต่ให้ของไม่อร่อยแก่บุคคลอื่น ผู้นั้นเป็นทาสแห่งไทยธรรม กล่าวคือ
ทานให้. ผู้ใดตนเองบริโภคสิ่งใด ให้สิ่งนั้นแล ผู้นั้นเป็นสหายแห่งทานให้.
ฝ่ายผู้ใดตนเองยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยของธรรมดา ๆ แต่ให้ของที่อร่อยแก่
พวกคนอื่น ผู้นั้นชื่อว่าเป็นเจ้า เป็นใหญ่ เป็นเจ้าของให้. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสหมายถึง ทายกผู้เป็นเช่นนั้นว่าเป็นทานบดี ดังนี้.
บทว่า อมงฺกุภูโต ได้แก่ ไม่ใช่เป็นผู้ไร้อำนาจ. บทว่า วิสารโท
คือ ได้โสมนัสประกอบด้วยญาณ. บทว่า สหพฺยคตา คือ ถึงความร่วมกัน
เป็นอันเดียวกัน. บทว่า กตาวกาสา ความว่า ชื่อว่ามีโอกาสอันทำแล้ว
เพราะตนกระทำกรรมที่มีโอกาสในไตรทิพย์นั้น แต่เพราะเหตุที่กรรมนั้นเป็น
กุศลอย่างเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า กตกุสลา (สร้างกุศลไว้). บทว่า
โมทเร คือ ร่าเริง บันเทิงอยู่. บทว่า อสิตสฺส ได้แก่ พระตถาคต
ผู้อันกิเลสไม่อาศัยแล้ว. บทว่า ตาทิโน คือ เป็นผู้ถึงลักษณะคงที่.
จบอรรถกถาสีหสูตรที่ 4

5. ทานานิสังสสูตร


ว่าด้วยอานิสงส์การให้ทาน 5 ประการ


[35] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการให้ทาน 5 ประการนี้
5 ประการเป็นไฉน คือ ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนหมู่มาก 1
สัปบุรุษผู้สงบย่อมคบหาผู้ให้ทาน 1 กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทานย่อนขจร
ทั่วไป 1 ผู้ให้ทานย่อมไม่ห่างเหินจากธรรมของคฤหัสถ์ 1 ผู้ให้ทานเมื่อตาย
ไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการ
ให้ทาน 5 ประการนี้แล.
ผู้ให้ทาน ย่อมเป็นที่รักของชนเป็น
อันมาก ชื่อว่าดำเนินตามธรรมของสัปบุรุษ
สัปบุรุษผู้สงบผู้สำรวมอินทรีย์ ประพฤติ
พรหมจรรย์ ย่อมคบหาผู้ให้ทานทุกเมื่อ
สัปบุรุษเหล่านั้น ย่อมแสดงธรรมเป็นที่
บรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขา เขาได้ทราบ
ชัดแล้ว ย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้ปริ-
นิพพานในโลกนี้.

จบทานานิสังสสูตรที่ 5