เมนู

ไม่ยังฉันทะให้ถึงพร้อมเพื่อกระทำติดต่อ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้-
ประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเพื่อบรรลุกุศลธรรมที่ยัง
ไม่ได้บรรลุ หรือเพื่อกระทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 6 ประการ ย่อมเป็น
ผู้ควรเพื่อบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือเพื่อกระทำกุศลธรรมที่ได้
บรรลุแล้วให้เจริญ ธรรม 6 ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเจริญ 1 เป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเสื่อม 1
เป็นผู้ฉลาดในอุบาย 1 ย่อมยังฉันทะให้เกิดขึ้นเพื่อบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้
บรรลุ 1 ย่อมรักษากุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้ว 1 และย่อมยังฉันทะให้ถึงพร้อม
เพื่อกระทำติดต่อ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 6 ประการ
นี้แล ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือเพื่อกระทำ
กุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญ.ุ
จบอธิคมสูตรที่ 5

อรรถกถาอธิคมสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอธิคมสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า น อายกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ไม่ฉลาดในเหตุที่จะให้ประสบ.
บทว่า น อปายกุสโล ได้แก่ ไม่ฉลาดในเหตุที่ไม่ให้ประสบ. บทว่า ฉนฺทํ
ได้แก่ความพอใจ คือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ. บทว่า น อารกฺขติ ได้แก่
ไม่รักษา.
จบอรรถกถาอธิคมสูตรที่ 5

2. มหัตตสูตร


ว่าด้วยผู้ควรบรรลุความเป็นใหญ่ในธรรม


[351] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 6 ประการ
ย่อมบรรลุความเป็นผู้มาก ความเป็นผู้ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ต่อกาลไม่
นานนัก ธรรม 6 ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้
มากด้วยความสว่างแห่งญาณ 1 ย่อมเป็นผู้มากด้วยความเพียรเครื่องประกอบ 1
ย่อมเป็นผู้มากด้วยความบันเทิงใจ (ปีติและปราโมทย์) 1 ย่อมเป็นผู้มากด้วย
ความไม่ยินดีในอกุศลธรรม 1 ย่อมเป็นผู้ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย 1
และย่อมพยายามให้ยิ่งขึ้นไป 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม
6 ประการนี้แล ย่อมบรรลุความเป็นผู้มาก ความเป็นผู้ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
ต่อกาลไม่นานนัก.
จบมหัตตสูตรที่ 6

อรรถกถามหัตตสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในมหัตตสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อาโลกพหุโล ได้แก่ มากไปด้วยแสงสว่างแห่งญาณ. บทว่า
ปโยคพหุโล ได้แก่ กระทำความเพียรให้มาก. บทว่า เวทพหุโล ได้แก่
มากไปด้วยปีติและปราโมทย์. บทว่า อสนฺตุฏฺฐิพหุโล ได้แก่ ไม่สันโดษ
ในกุสลธรรมทั้งหลาย. บทว่า อนิกฺขิตฺตธุโร ได้แก่ วางธุระ คือประคอง
ความเพียรไว้. บทว่า อุตฺตริญฺจ ปตาเรติ ได้แก่ ทำความเพียรในบัดนี้
และให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป.
จบอรรถกถามหัตตสูตรที่ 6