เมนู

อรรถกถาอุตตริมนุสสธรรมสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอุตตริมนุสสธรรมสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุตฺตริมนุสฺสธมฺมา ได้แก่ ธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์.
บทว่า อลมริยญาณทสฺสนวิเสสํ ได้แก่ ญาณทัสสนะพิเศษ ที่สามารถ
ทำคนให้เป็นพระอริยเจ้าได้ อธิบายว่า ได้แก่มรรค 4 ผล 4. บทว่า กุหนํ
ได้แก่ เรื่องโกหก 3 อย่าง. บทว่า ลปนํ ได้แก่ การกล่าวยกย่อง หรือกด
เพราะประสงค์จะได้.
จบอรรถกถาอุตตริมนุสสธรรมสูตรที่ 3

4. สุขสูตร


ว่าด้วยธรรมทำให้มีสุขโสมนัส


[349] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 6 ประการ
ย่อมเป็นผู้มากด้วยสุขและโสมนัสอยู่ในปัจจุบันเทียว และย่อมเป็นผู้ปรารภเหตุ
เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ธรรม 6 ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุ
ในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ยินดีธรรม 1 ย่อมเป็นผู้ยินดีภาวนา 1 ย่อม
เป็นผู้ยินดีการละ 1 ย่อมเป็นผู้ยินดีปวิเวก 1 ย่อมเป็นผู้ยินดีความไม่พยาบาท 1
ย่อมเป็นผู้ยินดีธรรมที่ไม่เนิ่นช้า 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยธรรม 6 ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้มากด้วยสุขและโสมนัสอยู่ในปัจจุบันเทียว
และย่อมเป็นผู้ปรารภเหตุ เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.
จบสุขสูตรที่ 4

อรรถกถาสุขสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสุขสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โยนิ จสฺส อารทฺธา โหติ ความว่า อนึ่ง เหตุเป็นอัน
เธอทำให้บริบูรณ์ คือประคองไว้. บทว่า ธมฺมาราโม ความว่า ประสบ
ความยินดีในธรรม. ภิกษุชื่อว่า ภาวนาราโม เพราะยินดีในภาวนา หรือ
เมื่อภาวนาอยู่ก็ยินดี. ชื่อว่า ปหานาราโม เพราะยินดีในการละ หรือเมื่อ
ละอยู่ก็ยินดี. ชื่อว่า ปวิเวการาโม เพราะยินดีในปวิเวก 3 อย่าง. ชื่อว่า
อพฺยาปชฺฌาราโม เพราะยินดีในความไม่เบียดเบียน คือในความไม่มีทุกข์.
ชื่อว่า นิปฺปญฺจาราโม เพราะยินดีในพระนิพพาน กล่าวคือธรรมที่ไม่มี
ความเนิ่นช้า.
จบอรรถกถาสุขสูตรที่ 4

5. อธิคมสูตร


ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรบรรลุกุศลธรรม


[350] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 6 ประการ
ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือเพื่อกระทำกุศล-
ธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญ ธรรม 6 ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในเหตุแห่งความเจริญ 1 เป็นผู้ไม่ฉลาดใน
เหตุแห่งความเสื่อม 1 เป็นผู้ไม่ฉลาดในอุบาย 1 ไม่ยังฉันทะให้เกิดขึ้นเพื่อ
บรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ 1 ไม่รักษากุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้ว 1 และ