เมนู

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้เคารพในพระศาสดาด้วยตนเอง กล่าวสรรเสริญ
ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่เคารพในพระศาสดา
ให้เคารพในพระศาสดา และกล่าวสรรเสริญภิกษุเหล่าอื่นผู้เคารพในพระศาสดา
ตามเป็นจริง โดยกาลอันควร เป็นผู้เคารพในพระธรรมด้วยตนเอง ฯลฯ
เป็นผู้เคารพในพระสงฆ์ด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นผู้เคารพในสิกขาด้วยตนเอง ฯลฯ
เป็นผู้ว่าง่ายด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นผู้มีมิตรดีด้วยตนเอง กล่าวสรรเสริญความ
เป็นผู้มีมิตรดี ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีมิตรดีให้เป็นผู้มีมิตรดี และกล่าว
สรรเสริญภิกษุเหล่าอื่นผู้มีมิตรดีตามเป็นจริง โดยกาลอันควร ดูก่อนสารีบุตร
เนื้อความแห่งคำที่เราได้กล่าวโดยย่อนี้บัณฑิตพึงเห็นโดยพิสดารอย่างนี้.
จบเทวตาสูตรที่ 5

อรรถกถาเทวตาสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในเทวตาสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้:-
ความเป็นผู้ว่าง่าย ชื่อว่า โสวจัสสตา. ความเป็นผู้มีมิตรที่สะอาด
ชื่อว่า กัลยาณมิตตตา. บทว่า สตฺถุคารโว ได้แก่ ผู้ที่ประกอบไปด้วย
ความเคารพในพระศาสดา. ในบททั้งปวง ก็มีนัยนี้.
จบอรรถกถาเทวตาสูตรที่ 5

6. สติสูตร


ว่าด้วยฐานะและอฐานะสำหรับผู้มีสมาธิ


[341] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีสมาธิอันสงบ ไม่มีสมาธิอัน
ประณีต ไม่มีสมาธิที่ได้ด้วยความสงบ ไม่มีสมาธิที่ถึงความเป็นผู้มีอารมณ์

เป็นหนึ่ง จักแสดงฤทธิ์ได้หลาย ๆ อย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ข้อนี้
ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เธอจักฟังเสียงสองชนิด คือ เสียงทิพและเสียงมนุษย์
ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพโสตอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ ข้อนี้ย่อม
ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ จักกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจว่าจิตมี
ราคะ จักรู้ว่าจิตมีราคะ ฯลฯ หรือจิตยังไม่หลุดพ้น จักรู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น
ข้อนี้ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ จักระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึก
ได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ จักระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมากพร้อมทั้ง
อาการ พร้อมทั้งอุเทศด้วยประการฉะนี้ ข้อนี้ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ จักเห็น
หมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ ฯลฯ ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
จักรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ข้อนี้ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ จักกระทำ
ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้อนี้ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะ
มีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีสมาธิอันสงบ มีสมาธิอันประณีต มีสมาธิ
ที่ได้ด้วยความสงบ มีสมาธิที่ถึงความเป็นผู้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง จักแสดงฤทธิ์ได้
หลาย ๆ อย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ
จักใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ จัก
ฟังเสียงสองชนิด คือ เสียงทิพและเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วย
ทิพโสตอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ จักกำหนด
รู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจว่า จิตมีราคะก็จักรู้ว่า จิตมีราคะ ฯลฯ
หรือจิตยังไม่หลุดพ้น ก็จักรู้ว่า จิตยังไม่หลุดพ้น ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้

จักระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ
จักระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วย
ประการฉะนี้ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ จักเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ
ฯลฯ จักรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ จัก
กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ
ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้อนี้ย่อมเป็น
ฐานะที่จะมีได้.
จบสติสูตรที่ 6

อรรถกถาสติสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสติสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า น สนฺเตน ความว่า ไม่สงบไปจากกิเลสที่เป็นข้าศึกทั้งหลาย.
บทว่า น ปุณีเตน ความว่า ไม่ใช่ด้วยสมาธิอันไม่เร่าร้อน. บทว่า
น ปฏิปสฺสทฺธิลทฺเธน ความว่า ด้วยสมาธิที่ไม่ได้ คือ ไม่ได้บรรลุ
เพราะความสงบระงับแห่งกิเลส. บทว่า น เอโกทิภาวาธิคเตน ความว่า
สมาธิที่ไม่เข้าถึงความเป็นผู้มีอารมณ์เป็นเอก.
จบอรรถกถาสติสูตรที่ 6