เมนู

คืออาการของสมาธิและวิปัสสนา. บทว่า สมฺมาทิฏฺฐึ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิใน
วิปัสสนา. บทว่า สมาธึ ได้แก่ มรรคสมาธิ และผลสมาธิ. บทว่า สํโยชนานิ
ได้แก่ สังโยชน์ 10 อย่าง. บทว่า นิพฺพานํ ได้แก่ ปรินิพพานที่หาปัจจัย
มิได้.
จบอรรถกถาฐานสูตรหรืออารามสูตรที่

5. เทวตาสูตร


ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้เสื่อมและไม่ให้เสื่อม


[340] ครั้งนั้น เทวดาองค์หนึ่ง เมื่อปฐมยามล่วงไป มีรัศมีงาม
ยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสวแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบ
ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม 6 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความ
ไม่เสื่อมแก่ภิกษุ 6 ประการเป็นไฉน ? คือ ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา 1
ความเป็นผู้เคารพในพระธรรม 1 ความเป็นผู้เคารพในพระสงฆ์ 1 ความเป็น
ผู้เคารพในสิกขา 1 ความเป็นผู้ว่าง่าย 1 ความเป็นผู้มีมิตรดี 1 ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ธรรม 6 ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ เทวดา
องค์นั้นกล่าวดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ครั้งนั้น เทวดาองค์นั้น
ได้ทราบว่า พระศาสดาได้ทรงพอพระทัยตนแล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้น.
ครั้นเมื่อราตรีนั้นล่วงไป พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เทวดาองค์หนึ่ง เมื่อปฐมยามล่วงไป

มีรัศมีงามยิ่งนัก ยังวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว แล้วเข้ามาหาเราถึงที่อยู่
อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกับเราว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ธรรม 6 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
6 ประการเป็นไฉน ? คือ ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา 1 ความเป็นผู้
เคารพในพระธรรม 1 ความเป็นผู้เคารพในพระสงฆ์ 1 ความเป็นผู้เคารพใน
สิกขา 1 ความเป็นผู้ว่าง่าย 1 ความเป็นผู้มีมิตรดี 1 ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ธรรม 6 ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ เทวดาองค์นั้น
ได้กล่าวดังนี้แล้ว อภิวาท กระทำประทักษิณเราแล้ว ได้หายไป ณ ที่นั้น. .
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
ย่อมทราบชัดเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสโดยย่อนี้ โดย
พิสดารอย่างนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้เคารพในพระศาสดาด้วย
ตนเอง กล่าวสรรเสริญความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ย่อมชักชวนภิกษุ
เหล่าอื่นผู้ไม่เคารพในพระศาสดาให้เคารพในพระศาสดา และกล่าวสรรเสริญ
ภิกษุเหล่าอื่นผู้เคารพในพระศาสดาตามเป็นจริง โดยกาลอันควร เป็นผู้เคารพ
ในพระธรรมด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นผู้เคารพในพระสงฆ์ด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นผู้
เคารพในสิกขาด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นผู้ว่าง่ายด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นผู้มีมิตรดี
ด้วยตนเอง กล่าวสรรเสริญความเป็นผู้มีมิตรดี ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มี
มิตรดีให้เป็นผู้มีมิตรดี และกล่าวสรรเสริญภิกษุเหล่าอื่นผู้มีมิตรดีตามเป็นจริง
โดยกาลอันควร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมทราบชัดเนื้อความแห่ง
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้แล พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ดีละ ดีละ เธอย่อมทราบเนื้อความแห่ง
คำที่เรากล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้เป็นการดีแล ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้เคารพในพระศาสดาด้วยตนเอง กล่าวสรรเสริญ
ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่เคารพในพระศาสดา
ให้เคารพในพระศาสดา และกล่าวสรรเสริญภิกษุเหล่าอื่นผู้เคารพในพระศาสดา
ตามเป็นจริง โดยกาลอันควร เป็นผู้เคารพในพระธรรมด้วยตนเอง ฯลฯ
เป็นผู้เคารพในพระสงฆ์ด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นผู้เคารพในสิกขาด้วยตนเอง ฯลฯ
เป็นผู้ว่าง่ายด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นผู้มีมิตรดีด้วยตนเอง กล่าวสรรเสริญความ
เป็นผู้มีมิตรดี ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีมิตรดีให้เป็นผู้มีมิตรดี และกล่าว
สรรเสริญภิกษุเหล่าอื่นผู้มีมิตรดีตามเป็นจริง โดยกาลอันควร ดูก่อนสารีบุตร
เนื้อความแห่งคำที่เราได้กล่าวโดยย่อนี้บัณฑิตพึงเห็นโดยพิสดารอย่างนี้.
จบเทวตาสูตรที่ 5

อรรถกถาเทวตาสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในเทวตาสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้:-
ความเป็นผู้ว่าง่าย ชื่อว่า โสวจัสสตา. ความเป็นผู้มีมิตรที่สะอาด
ชื่อว่า กัลยาณมิตตตา. บทว่า สตฺถุคารโว ได้แก่ ผู้ที่ประกอบไปด้วย
ความเคารพในพระศาสดา. ในบททั้งปวง ก็มีนัยนี้.
จบอรรถกถาเทวตาสูตรที่ 5

6. สติสูตร


ว่าด้วยฐานะและอฐานะสำหรับผู้มีสมาธิ


[341] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีสมาธิอันสงบ ไม่มีสมาธิอัน
ประณีต ไม่มีสมาธิที่ได้ด้วยความสงบ ไม่มีสมาธิที่ถึงความเป็นผู้มีอารมณ์