เมนู

เป็นฐานะที่จะมีได้ บำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญศีลทั้งหลาย
ให้บริบูรณ์ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ บำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์แล้ว จัก
ละกามราคะ รูปราคะ หรืออรูปราคะ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้.
จบมิตตสูตรที่ 3

อรรถกถามิตตสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในมิตตสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อาภิสมาจาริกํ ได้แก่ ธรรมที่เป็นสมาจารสูงสุด คือศีลที่
เป็นข้อบัญญัติ ด้วยสามารถแห่งวัตร. บทว่า เสขธมฺมํ ได้แก่ ศีลที่เป็น
ข้อบัญญัติเกี่ยวกับเสขิยวัตร บทว่า สีลานิ ได้แก่ มหาศีล 4 อย่าง.
จบอรรถกถามิตตสูตรที่ 3

4. ฐานสูตร (อารามสูตร)


ว่าด้วยโทษการคลุกคลีคณะและคุณการไม่คลุกคลี


[339] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชอบคลุกคลีด้วยหมู่ ยินดีในการ
คลุกคลีด้วยหมู่ ประกอบความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ ชอบคณะ ยินดี
คณะ ประกอบความยินดีในคณะ จักเป็นผู้อยู่รูปเดียว ยินดียิ่งในวิเวก ข้อนี้
ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่อยู่รูปเดียว ยินดียิ่งในวิเวก จักถือนิมิตแห่งจิต
ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ถือนิมิตแห่งจิต จักบำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้

สมบูรณ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ไม่บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้สมบูรณ์แล้ว จัก
บำเพ็ญสัมมาสมาธิให้สมบูรณ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ไม่บำเพ็ญสัมมา-
สมาธิให้สมบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ไม่ละ
สังโยชน์แล้ว จักกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ยินดีในการ
คลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ประกอบความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ชอบคณะ
ไม่ยินดีคณะ ไม่ประกอบความยินดีคณะ จักเป็นผู้อยู่รูปเดียว ยินดียิ่งในวิเวก
ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อเป็นผู้อยู่รูปเดียว ยินดียิ่งในวิเวก จักถือนิมิต
แห่งจิต ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อถือนิมิตแห่งจิต จักบำเพ็ญสัมมาทิฏฐิ
ให้สมบูรณ์ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้สมบูรณ์แล้ว
จักบำเพ็ญสัมมาสมาธิให้สมบูรณ์ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ บำเพ็ญสัมมา-
สมาธิให้สมบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ ละสังโยชน์
ได้แล้ว จักกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้.
จบฐานสูตรที่ 4

อรรถกถาฐานสูตรหรืออารามสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในฐานสูตรหรืออารามสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สงฺคณิการาโม ความว่า รื่นเริงใจด้วยการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
ส่วนภิกษุชื่อว่า คณารามะ เพราะยินดีในคณะ มีคณะศึกษาพระสูตรเป็นต้น
หรือในคณะ กล่าวคือบริษัทของตน. บทว่า ปวิเวเก ได้แก่ กายวิเวก.
บทว่า จิตฺตสฺส นิมิตฺตํ ความว่า นิมิตของสมาธิจิต และวิปัสสนาจิต