เมนู

ทั้งหลายนั้นว่า เป็นของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคล
ผู้มีใจไม่ตั้งมั่น เราย่อมกล่าวแม้ความรู้ตามเป็นจริงซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลายนั้นว่า เป็นของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคลผู้มี
ใจไม่ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตั้งใจมั่นเป็นทางถูก ความไม่ตั้งใจมั่น
เป็นทางผิด ด้วยประการฉะนี้แล.
จบพลสูตรที่ 10

อรรถกถาพลสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาพลสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อาสภํ ฐานํ ได้แก่ ฐานะอันประเสริฐสุด คือฐานะอันไม่
หวั่นไหว. บทว่า สีหนาทํ ได้แก่ การบันลืออย่างไม่เกรงกลัว คือบันลือ
ในฐานะเป็นประมุข. บทว่า พฺรหฺมจกฺกํ ได้แก่ จักรคือญาณอันประเสริฐ
คือปฏิเวธญาณ และญาณที่เหลือ. บทว่า ฐานญฺจ ฐานโต ได้แก่รู้เหตุ
โดยความเป็นเหตุ. บทว่า ยมฺปิ ความว่า ด้วยญาณใด. บทว่า อิทมฺปิ
ตถาคตสฺส
ความว่า ฐานาฐานญาณแม้นี้ ชื่อว่า เป็นตถาคตพละของพระ
ตถาคต. แม้ในบททั้งปวงก็พึงทราบความอย่างนี้.
บทว่า กมฺมสมาทานานํ ได้แก่กุศลกรรม และอกุศลกรรมที่บุคคล
ตั้งใจกระทำแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง กรรมนั่นเอง ชื่อว่า กรรมสมาทาน. บทว่า
ฐานโส เหตุโส ความว่า ทั้งโดยปัจจัย ทั้งโดยเหตุ. บรรดาฐานะและเหตุ
ทั้งสองอย่างนั้น คติ (กำเนิดมีนรกเป็นต้น) อุปธิ (อัตภาพ) กาล (เวลา

ที่กรรมให้ผล) ปโยค (การประกอบกรรม) เป็นฐานะของวิบาก กรรมเป็น
เหตุของวิบาก. บทว่า ฌานวิโมกฺขสมาธิสมาปตฺตีนํ ได้แก่ ฌาน 4
วิโมกข์ 8 สมาธิ 3 อนุปุพพสมาบัติ 9. บทว่า สงฺกิเลสํ ได้แก่ ธรรม
ที่เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม. บทว่า โวทานํ ได้แก่ ธรรมที่เป็นส่วน
แห่งคุณพิเศษ. บทว่า วุฏฺฐานํ ได้แก่ ฌานที่คล่องแคล่วที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า
แม้โวทานะ ก็ชื่อว่า วุฏฐานะ แม้การออกจากสมาธินั้น ๆ ก็ชื่อว่า วุฏฐานะ 1
ภวังค์และผลสมาบัติ 1 เพราะว่าฌานที่คล่องแคล่วชั้นต่ำ ๆ เป็นพื้นฐานของ
ฌานชั้นสูง ๆ ขึ้นไป เพราะฉะนั้น แม้โวทานะ จึงตรัสว่าเป็นวุฏฐานะ
ส่วนการออกจากฌานทั้งปวงย่อมมีได้ด้วยภวังค์. การออกจากนิโรธสมาบัติ
มีได้ด้วยผลสมาบัติ. พระพุทธพจน์ว่า แม้การออกจากสมาธินั้น ๆ ก็ชื่อว่า
วุฏฐานะ ดังนี้ ตรัสไว้ทรงหมายการออกจากนิโรธสมาบัตินั้น.
บทว่า อเนกวิหิตํ เป็นต้น ได้พรรณนาไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.
อาสวักขยญาณ ก็มีเนื้อความดังที่กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล ผู้ประสงค์
จะทราบข้อความอย่างพิสดาร ของญาณทั้ง 3 แม้ข้างต้น พึงตรวจดูข้อความ
ที่พรรณนาไว้ในมหาสีหนาทสูตร ในอรรถกถามัชฌิมนิกาย. บทว่า สมาหิ-
ตสฺส
แปลว่า ผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง. บทว่า สมาธิ มคฺโค ความว่า
สมาธิเป็นอุบายเพื่อบรรลุฌานเหล่านี้. ความไม่มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ชื่อว่า
อสมาธิ. ทางที่ผิดชื่อว่า กุมมัคคะ. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสถึงกำลังพระญาณของพระตถาคต.
จบอรรถกถาพลสูตรที่ 10
จบมหาวรรควรรณนาที่* 1
* อรรถกถาเป็นวรรคที่ 6

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. โสณสูตร 2. ผัคคุณสูตร 3. ฉฬาภิชาติยสูตร 4. อาสวสูตร
5. ทารุกัมมิกสูตร 6. จิตตหัตถิสาริปุตตสูตร 7. ปรายนสูตร 8. อุทกสูตร
9. นิพเพธิกสูตร 10. พลสูตร และอรรถกถา.

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้


1. อนาคามิสูตร 2. อรหัตตสูตร 3. มิตตสูตร 4. ฐานสูตร
5. เทวตาสูตร 6. สติสูตร 7. สักขิสูตร 8. พลสูตร 9. ปฐมฌานสูตร
10. ทุติยฌานสูตร และอรรถกถา.