เมนู

ทั้งหลายนั้นว่า เป็นของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคล
ผู้มีใจไม่ตั้งมั่น เราย่อมกล่าวแม้ความรู้ตามเป็นจริงซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลายนั้นว่า เป็นของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคลผู้มี
ใจไม่ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตั้งใจมั่นเป็นทางถูก ความไม่ตั้งใจมั่น
เป็นทางผิด ด้วยประการฉะนี้แล.
จบพลสูตรที่ 10

อรรถกถาพลสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาพลสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อาสภํ ฐานํ ได้แก่ ฐานะอันประเสริฐสุด คือฐานะอันไม่
หวั่นไหว. บทว่า สีหนาทํ ได้แก่ การบันลืออย่างไม่เกรงกลัว คือบันลือ
ในฐานะเป็นประมุข. บทว่า พฺรหฺมจกฺกํ ได้แก่ จักรคือญาณอันประเสริฐ
คือปฏิเวธญาณ และญาณที่เหลือ. บทว่า ฐานญฺจ ฐานโต ได้แก่รู้เหตุ
โดยความเป็นเหตุ. บทว่า ยมฺปิ ความว่า ด้วยญาณใด. บทว่า อิทมฺปิ
ตถาคตสฺส
ความว่า ฐานาฐานญาณแม้นี้ ชื่อว่า เป็นตถาคตพละของพระ
ตถาคต. แม้ในบททั้งปวงก็พึงทราบความอย่างนี้.
บทว่า กมฺมสมาทานานํ ได้แก่กุศลกรรม และอกุศลกรรมที่บุคคล
ตั้งใจกระทำแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง กรรมนั่นเอง ชื่อว่า กรรมสมาทาน. บทว่า
ฐานโส เหตุโส ความว่า ทั้งโดยปัจจัย ทั้งโดยเหตุ. บรรดาฐานะและเหตุ
ทั้งสองอย่างนั้น คติ (กำเนิดมีนรกเป็นต้น) อุปธิ (อัตภาพ) กาล (เวลา