เมนู

ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนอานนท์ ตถาคตกำหนดรู้ใจบุคคลด้วยใจแม้อย่างนี้
กำหนดรู้ญาณเป็นเครื่องทราบอินทรีย์ของบุรุษด้วยใจแม้อย่างนี้ กำหนดรู้ธรรม
ที่อาศัยกันเกิดขึ้นต่อไปด้วยใจ แม้ด้วยประการฉะนี้.
ดูก่อนอานนท์ บุคคล 6 จำพวกนั้น บุคคล 3 จำพวกข้างต้น
คนหนึ่งเป็นผู้ไม่เสื่อมเป็นธรรมดา คนหนึ่งเป็นผู้เสื่อมเป็นธรรมดา คนหนึ่ง
เป็นผู้เกิดในอบาย ตกนรก ในบุคคล 6 จำพวกนั้น บุคคล 3 จำพวกข้างหลัง
คนหนึ่งเป็นผู้ไม่เสื่อมเป็นธรรมดา คนหนึ่งเป็นผู้เสื่อมเป็นธรรมดา คนหนึ่ง
เป็นผู้จะปรินิพพานเป็นธรรมดา.
จบอุทกสูตรที่ 8

อรรถกถาอุทกสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอุทกสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อญฺญตโร ได้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง ผู้เป็นฝักฝ่ายของพระเทวทัต.
บทว่า สมนฺนาหริตฺวา ได้แก่น้อมนึก. ภิกษุนั้นถามเรื่องนี้ก็ด้วยความ
ประสงค์ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเพราะทรงทราบ หรือไม่ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเป็นเอกังสิกพยากรณ์ (ตรัสตอนโดยส่วนเดียว) หรือ
ว่าตรัสเป็นวิภัชชพยากรณ์ (จำแนกตอบ).
บทว่า อปายิโก ได้แก่ บังเกิดในอบาย. บทว่า เนรยิโก
ได้แก่ ไปสู่นรก. บทว่า กปฺปฏฺโฐ ได้แก่ จักดำรงอยู่ (ในนรก) ตลอด
กัป เพราะได้ทำกรรมที่เป็นเหตุให้ดำรงอยู่ตลอดกัปไว้. บทว่า อเตกิจฺโฉ
ได้แก่ ไม่สามารถจะแก้ไขได้. บทว่า เทฺวชฺฌํ ได้แก่ ภาวะเป็นสอง.

บทว่า วาลคฺคโกฏิ นิตฺตุทนมตฺตํ ได้แก่ ความดีที่พอจะแสดงได้ ด้วย
ปลายขนทราย หรือความดีเพียงที่เอาปลายขนทรายจดลง.
บทว่า ปุริสินฺทฺริยญาณานิ ได้แก่ ญาณเป็นเครื่องรู้ความยิ่งและ
ความหย่อนแห่งอินทรีย์ องบุรุษบุคคลทั้งหลาย อธิบายว่า ญาณเป็นเครื่อง
น้อมนึกถึงความที่อินทรีย์ทั้งหมดแก่กล้าและอ่อน.
บทว่า วิชฺชมานา กุสลาปิ ธมฺมา อกุสลาปิ ธมฺมา ความ
ว่า เราตถาคตรู้อยู่ว่า กุศลธรรม (ของบุคคลนี้) มีอยู่เท่านี้ อกุศลธรรมมี
อยู่เท่านี้. บทว่า อนฺตรหิตา ได้แก่ ถึงการมองไม่เห็น. บทว่า
สมฺมุขีภูตา ได้แก่ เกิดปรากฏด้วยอำนาจความฟุ้งขึ้น. บทว่า กุสลมูลํ
ได้แก่ อัธยาศัยที่เป็นกุศล. บทว่า กุสลา มูลา กุสลํ ความว่า กุศลแม้
อย่างอื่นก็จักบังเกิดจากอัธยาศัยที่เป็นกุศลนั้น. บทว่า สาราทานิ ได้แก่
ถือเอาสาระได้ คือ มีสาระบุคคลถือเอาได้ หรือ บังเกิดในเดือนสารท.
บทว่า สุขสยิตานิ ได้แก่ รวมเก็บไว้ดี. บทว่า สุกฺเขตฺเต ได้แก่ ใน
นาที่สมบูรณ์ด้วยปุ๋ย. บทว่า นิกฺขิตฺตานิ ได้แก่ ที่หว่านลง. บทว่า
สปฺปฏิภาคา ได้แก่ ที่เห็นสม. บทว่า อภิโทสอฑฺฒรตฺตํ ได้แก่ ใน
เวลาใกล้กึ่งราตรี คือ เมื่อเที่ยงคืน ปรากฏเฉพาะหน้า. บทว่า ภตฺตกาลสมเย
ได้แก่ ในสมัย กล่าวคือ เวลาเสวยพระกระยาหารของราชตระกูลทั้งหลาย.
ถามว่า ใครที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอย่างนี้ว่า มีความเสื่อม
เป็นธรรมดา.
ตอบว่า พระเจ้าอชาตศัตรู เพราะว่าพระเจ้าอชาตศัตรูนั้นทรงเสื่อม
จากมรรคผล เพราะอาศัยบาปมิตร ฝ่ายบุคคลผู้อื่นมีพระเจ้าสุปปพุทธะและ
สุนักขัตตะเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงทราบเหมือนกัน.

ถามว่า ใครที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอย่างนี้ว่า มีความไม่
เสื่อมเป็นธรรมดา.
ตอบว่า สุสิมะปริพพาชก และบุคคลพวกอื่นที่ (มีอุปนิสัย)
เป็นเช่นนี้.
ถามว่า ใครที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอย่างนี้ว่า จักปรินิพพาน.
ตอบว่า สันตติมหาอำมาตย์ และบุคคลพวกอื่นที่ (มีอุปนิสัย) เป็น
เช่นนี้.
จบอรรถกถาอุทกสูตรที่ 8

9. นิพเพธิกสูตร


ว่าด้วยธรรมปริยายชำแรกกิเลส


[334] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยายที่เป็นปริยาย
เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จง
ใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมปริยายที่เป็นปริยายเป็นไป
ในส่วนแห่งการชำแรกกิเลสนั้นเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
พึงทราบกาม เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับ
แห่งกาม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกาม เธอทั้งหลายพึงทราบเวทนา เหตุเกิด
แห่งเวทนา ความต่างแห่งเวทนา วิบากแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับเวทนา เธอทั้งหลายพึงทราบสัญญา เหตุเกิดแห่งสัญญา
ความต่างแห่งสัญญา วิบากแห่งสัญญา ความดับแห่งสัญญา ปฏิปทาที่ให้ถึง