เมนู

ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้
ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว.
จบปรายสูตรที่ 7

อรรถกถาปรายนสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาปรายนสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปารายเน เมตฺเตยฺยปญฺเห ได้แก่ ในปัญหาของเมตเตยย-
มาณพที่มาในปารายนวรรค. บทว่า อุภนฺเต วิทิตฺวาน ได้แก่ ทราบที่สุด
2 อย่าง คือ ส่วน 2 ส่วน. บทว่า มชฺเฌ มนฺตา น ลิปฺปติ ความว่า
ปัญญาเรียกว่า มันตา (บุคคลใด) ทราบที่สุดทั้งสองด้วยปัญญาที่เรียกว่า มันตา
นั้นแล้วไม่ติดอยู่ในท่ามกลาง คือ ไม่ติดอยู่ในที่ตรงกลาง. บทว่า สิพฺพนิ
มจฺจคา
ความว่า (บุคคลนั้น) ผ่านพ้นตัณหาที่เรียกว่า สิพพนี (เครื่อง
ร้อยรัด ) ได้แล้ว.
บทว่า ผสฺโส ความว่า เพราะบังเกิดด้วยอำนาจผัสสะ อัตภาพนี้
จึงมี. บทว่า เอโก อนฺโต ความว่า ผัสสะนี้เป็นส่วนหนึ่ง. บทว่า
ผสฺสสมุทโย มีรูปวิเคราะห์ว่า ผัสสะเป็นเหตุเกิดของอัตภาพนั้น เหตุนั้น
อัตภาพนั้นจึงชื่อว่า มีผัสสะเป็นเหตุเกิด. อัตภาพในอนาคตจักบังเกิดได้
เพราะมีผัสสะ คือกรรมที่ทำไว้ในอัตภาพนี้เป็นปัจจัย. บทว่า ทุติโย อนฺโต
ได้แก่ ส่วนที่ 2. บทว่า ผสฺสนิโรโธ ได้แก่ นิพพาน. บทว่า มชฺเฌ
ความว่า นิพพานชื่อว่า เป็นท่ามกลาง เพราะ หมายความว่าแยกธรรม
(ผัสสะและเหตุเกิดของผัสสะ) ออกเป็น 2 ฝ่ายโดย ตัดตัณหาเครื่องร้อยรัด

เสียได้. บทว่า ตณฺหา หิ นํ สิพฺพติ ความว่า ตัณหาย่อมร้อยรัด คือ
เชื่อมต่อผัสสะ (กล่าวคืออัตภาพทั้งสอง) และเหตุเกิดของผัสสะนั้นเข้าด้วยกัน.
ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะทำภพนั้น ๆ นั่นแลให้บังเกิด อธิบาย
ว่า ถ้าหากตัณหาจะไม่พึงร้อยรัด (ผัสสะกับเหตุเกิดของผัสสะ) ไว้ไซร้ ภพนั้น ๆ
แลก็จะไม่พึงบังเกิด.
ในที่นี้ นักปราชญ์ทั้งหลายได้แสดงข้อเปรียบเทียบระหว่างที่สุดกับ
ท่ามกลางไว้. อธิบายว่า คำว่าที่สุด (ปลาย) และท่ามกลาง ท่านกล่าวไว้
สำหรับไม้ 2 ท่อน ที่บุคคลรวมเข้าด้วยกันแล้วเอาเชือกมัดตรงกลางไว้. เมื่อ
เชือกขาด ไม้ทั้งสองท่อนก็จะหล่นจากทั้งสองข้าง (ข้างปลายและตรงกลาง).
ในข้อนี้ก็เป็นอย่างนั้น คือ ที่สุด 2 อย่างซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว
เปรียบเหมือนไม้ 2 ท่อน. ตัณหาเปรียบเหมือนด้ายที่ร้อยรัด (ไม้) อยู่ เมื่อ
ตัณหาดับ ที่สุดทั้งสองก็เป็นอันดับด้วย เปรียบเหมือนเมื่อด้ายขาด ไม้ทั้ง 2
อันก็หล่นจากทั้งสองข้าง.
บทว่า เอตฺตาวตา คือ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เพราะรู้ที่สุดทั้งสอง
แล้วไม่ถูกตัณหาฉาบติดไว้ตรงกลางนี้ ภิกษุจึงชื่อว่า รู้ยิ่งธรรม คือสัจจะ 4
ที่ควรรู้ยิ่ง จึงชื่อว่า กำหนดรู้สัจจะที่เป็นโลกิยะทั้งสอง ที่ควรกำหนดรู้ด้วย
ตีรณปริญญา และปหานปริญญา. บทว่า ทิฏฺเฐว ธมฺเม ได้แก่
ในอัตภาพนี้แล. บทว่า ทุกฺขสฺสนฺตกโร โหติ ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้
ทำที่สุด คือ ทำการกำหนดรอบวัฏทุกข์.
ในวาระที่ 2 มีอธิบายดังต่อไปนี้ พึงทราบอุปมาด้วยอำนาจไม้ 3
ท่อน จริงอยู่ ไม้ 3 ท่อน ที่บุคคลเอาเชือกมัดไว้ เมื่อเชือกขาด ไม้ 3
ท่อนก็จะตกไปในที่ 3 แห่ง. ในข้อนี้ก็เป็นอย่างนี้ คือ ขันธ์ที่เป็นอดีต

อนาคต และปัจจุบัน เปรียบเหมือนไม้ 3 ท่อน. ตัณหา เปรียบเหมือนเชือก
เพราะว่าตัณหานั้นร้อยรัดขันธ์ที่เป็นอดีตเข้ากับขันธ์ที่เป็นปัจจุบัน และร้อย
รัดขันธ์ที่เป็นปัจจุบันเข้ากับขันธ์ที่เป็นอนาคต เมื่อตัณหาดับ ขันธ์ที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบันก็เป็นอันดับด้วย เปรียบเหมือนเมื่อเชือกขาดไม้ 3 ท่อน
ก็ตกไปในที่ 3 แห่ง.
ในวาระที่ 3 มีอธิบายดังต่อไปนี้ บทว่า อทุกฺขมสุขา มชฺเฌ
ความว่า อทุกขมสุขเวทนา ชื่อว่า ท่ามกลาง เพราะภาวะที่อยู่ในระหว่าง
เวทนาอีก 2 (สุขเวทนากับทุกขเวทนา). เพราะว่า สุข ชื่อว่าอยู่ในภายใน
แห่งทุกข์ หรือว่า ทุกข์ ชื่อว่าอยู่ในภายในแห่งสุขไม่มี. บทว่า ตณฺหา
สิพฺพินี
ได้แก่ ความเพลิดเพลินและความกำหนัด ในเวทนาทั้งหลาย.
บทว่า เวทนานํ อุปจฺเฉทํ นิวาเรติ ความว่า (ตัณหา) ชื่อว่า ร้อยรัดเวทนา
เหล่านั้นไว้.
ในวาระที่ 4 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บทว่า วิญฺญาณํ มชฺเฌ
ความว่า ทั้งปฏิสนธิวิญญาณ ทั้งวิญญาณที่เหลือ ชื่อว่า เป็นท่ามกลางของ
นามรูปทั้งหลาย เพราะเกิดขึ้นโดยเป็นปัจจัยของนามรูป.
ในวาระที่ 5 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บทว่า วิญฺญาณํ มชฺเฌ
ความว่า กรรมวิญญาณ ชื่อว่าเป็นท่ามกลาง อีกอย่างหนึ่ง วิญญาณชนิดใด
ชนิดหนึ่งในที่นี้ ชื่อว่าเป็นท่ามกลาง เพราะในบรรดาอายตนะภายใน (เฉพาะ)
มนายตนะ (อายตนะคือใจ) รับเอากรรมไว้. อีกอย่างหนึ่ง ชวนวิญญาณ
ชื่อว่าเป็นท่ามกลาง เพราะมโนทวาราวัชชนะ (การน้อมนึกในมโนทวาร)
อาศัยอายตนะภายใน.

ในวาระที่ 6 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บทว่า สกฺกาโย ได้แก่
วัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ 3. บทว่า สกฺกายสมุทโย ได้แก่ สมุทัยสัจ. บทว่า
สกฺกายนิโรโธ ได้แก่ นิโรธสัจ. บทว่า ปริยาเยน คือ ด้วยเหตุนั้น ๆ.
บทที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในที่ทุกแห่งทีเดียว.
จบอรรถกถาปรายนสูตรที่ 7

8. อุทกสูตร


ว่าด้วยบุคคล 6 จำพวก


[333] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงนิคมของชาวโกศลชื่อทัณฑกัปปกะ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแวะลงจากหนทาง ประทับนั่งบนอาสนะที่
เขาปูลาดไว้แล้ว ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นได้พากันเข้าไปสู่นิคมชื่อ
ทัณฑกัปปกะ เพื่อแสวงหาที่พัก ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์พร้อมด้วยภิกษุ
หลายรูป ได้ไปที่แม่น้ำอจิรวดีเพื่อสรงน้ำ ครั้นสรงน้ำในแม่น้ำอจิรวดีเสร็จแล้ว
ก็ขึ้นมานุ่งอันตรวาสกผืนเดียวยืนผึ่งตัวอยู่.
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ แล้วถามว่า ดูก่อน
อาวุโสอานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดรู้เหตุทั้งปวงด้วยพระหฤทัยแล้ว
หรือหนอ จึงพยากรณ์พระเทวทัตว่า พระเทวทัตจะต้องเกิดในอบาย ตกนรก
ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียวยาไม่ได้ หรือว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดรู้โดย
ปริยายบางประการเท่านั้น จึงได้ทรงพยากรณ์พระเทวทัตดังนี้ ท่านพระ-