เมนู

จิตตหัตถิสารีบุตร ได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวาย-
บังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ บุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตรเป็นผู้ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ ๆ และได้ลา
สิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่
นานนัก บุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตรจักระลึกถึงคุณแห่งเนกขัมมะได้.
ครั้งนั้น ไม่นานเท่าไร บุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตรก็ปลงผมและหนวด
นุ่งห่มผ้ากาสายะออกบวชเป็นบรรพชิต ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตรหลีกออก
จากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตแน่วแน่ ไม่นานนัก ก็ได้
ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็น
บรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเทียว เข้าถึงอยู่
ได้ทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ
เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก ก็แหละท่านพระจิตตหัตถิ-
สารีบุตร ได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.
จบจิตตหัตถิสาริปุตตสูตรที่ 6

อรรถกถาจิตตหัตถิสาริปุตตสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในจิตตหัตถิสาริปุตตสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อภิธมฺมกถํ ได้แก่ กถาเจือด้วยอภิธรรม. บทว่า กถํ
โอปาเตติ
ความว่า (พระจิตตหัตถิสารีบุตร) กล่าวถ้อยคำของตนตัดคำพูด
ของภิกษุเหล่านั้น. บทว่า เถรานํ ภิกฺขูนํ เป็นฉัฏฐีวิภัตติใช้ในความหมาย
แห่งตติยาวิภัตติ. มีความหมายว่า กับด้วยภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระ. อนึ่ง

มีความหมายว่า อภิธรรมกถาของพระเถระทั้งหลาย อันใด แม้พระจิตตหัตถิ-
สารีบุตรนี้ ก็สามารถกล่าวอภิธรรมกถานั้นได้. บทว่า เจโตปริยายํ ได้แก่
วาระจิต. บทว่า อิธ คือ ในโลกนี้. บทว่า โสรตโสรโต คือ เป็นผู้สงบ
เสงี่ยมเหมือนบุคคลผู้สงบเสงี่ยม อธิบายว่า เปรียบเหมือนบุคคลผู้ประกอบ
ด้วยความสงบเสงี่ยม. บทว่า นิวาตนิวาโต คือ เป็นผู้ถ่อมตนเหมือน
บุคคลผู้ถ่อมตน อธิบายว่า เปรียบเหมือนบุคคลผู้ประพฤติถ่อมตน. บทว่า
อุปสนฺตุปสนฺโต คือ เป็นผู้สงบระงับเหมือนบุคคลผู้สงบระงับ.
บทว่า วปกสฺสเตว สตฺถารา ได้แก่ หลีกไปจากสำนักพระศาสดา.
บทว่า สํสฏฺฐสฺส ได้แก่ คลุกคลีด้วยการคลุกคลี 5 อย่าง. บทว่า วิสฏฺฐสฺส
ได้แก่ ถูกปล่อย. บทว่า ปากฏสฺส ได้แก่ มีอินทรีย์ปรากฏ. บทว่า
กิฏฺฐาโท ได้แก่ กินข้าวกล้า. บทว่า อนฺตรธาเปยฺย ได้แก่ พึงให้ฉิบหาย.
บทว่า โคปสู ได้แก่ โคและแพะ. บทว่า สิปฺปิสมฺพุกํ ได้แก่ หอย-
นางรมและหอยโข่ง. บทว่า สกฺขรกถลํ ได้แก่ ก้อนกรวดและกระเบื้อง.
บทว่า อาภิโทสิกํ ได้แก่ ของกินปรุงด้วยหญ้ากับแก้อันมีโทษปรากฏ
แล้ว. บทว่า นจฺฉาเทยฺย คือ ไม่พึงชอบใจ. บททุติยาวิภัตติที่ว่า ปุริสํ
ภุตฺตาวึ
นั้นใดในสูตรนั้น บทนั้นพึงเห็นว่าใช้ในความหมายแห่งฉัฏฐีวิภัตติ.
บทว่า อมุญฺหาวุโส ปุริสํ ความว่า ดูก่อนผู้มีอายุ บุรุษโน้น.
บทว่า สพฺพนิมุตฺตานํ ได้แก่ นิมิตว่าเที่ยงทั้งปวง. บทว่า อนิ-
มิตฺตํ เจโตสมาธึ
ได้แก่ สมาธิในวิปัสสนาที่มีพลัง. บทว่า จีริฬิยสทฺโท
ได้แก่ เสียงจิ้งหรีด. บทว่า สริสฺสติ เนกฺขมฺมสฺส ได้แก่ จักระลึกถึงคุณ
ของบรรพชา. บทว่า อรหตํ อโหสิ ได้แก่ ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง
ในระหว่างพระอรหันต์ผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

แท้จริง พระเถระนี้เป็นคฤหัสถ์ 7 ครั้ง บวช 7 ครั้ง. เพราะเหตุไร ?
ได้ยินว่า ในสมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ ท่านได้กล่าว
สรรเสริญคุณในความเป็นคฤหัสถ์แก่ภิกษุรูปหนึ่ง. เพราะกรรมนั้นนั่นแล
ทั้งที่เมื่ออุปนิสัยของอรหัตผลมีอยู่แท้ ๆ ท่านก็เร่ร่อนไปในความเป็นคฤหัสถ์
และการบรรพชา (บวชแล้วสึก) ถึง 7 ครั้ง บวชในครั้งที่ 7 จึงได้บรรลุ
อรหัตผลแล
จบอรรถกถาจิตตหัตถิสาริปุตตสูตรที่ 6

7. ปรายนสูตร


ว่าด้วยส่วนสุด 2 อย่าง


[332] สมัยหนึ่ง พระผู้มีภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤค-
ทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ก็สมัยนั้น เมื่อภิกษุผู้เถระหลายรูปกลับจาก
บิณฑบาตภายหลังภัต นั่งประชุมอยู่ที่โรงกลม ได้เกิดการสนทนากันขึ้นใน
ระหว่างว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ในปัญหาของ
เมตเตยยมาณพ ในปรายนสูตรว่า
ผู้ใดทราบส่วนสุดทั้งสองด้วยปัญญา
แล้ว ไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง เรา
กล่าวผู้นั้นว่าเป็นมหาบุรุษ ผู้นั้นก้าวล่วง
เครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้แล้ว ดังนี้.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ส่วนสุดที่ 1 เป็นไฉนหนอ ส่วนสุดที่ 2
เป็นไฉน อะไรเป็นส่วนท่ามกลาง อะไรเป็นเครื่องร้อยรัด.