เมนู

ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลผู้มีชาติขาว บรรลุนิพพานอันไม่ดำไม่ขาว
เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เกิดในสกุลสูง ฯลฯ เขาปลงผม
และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เขาบวชแล้วอย่างนี้
ละนิวรณ์ 5 ประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทำปัญญาให้ทุรพล
เป็นผู้มีจิตตั้งอยู่ด้วยดีในสติปัฏฐานทั้ง 4 เจริญโพชฌงค์ 7 ตามความเป็นจริง
แล้วได้บรรลุนิพพานที่ไม่ดำ ไม่ขาว ดูก่อนอานนท์ บุคคลมีชาติขาว
บรรลุนิพพานอันไม่ดำ ไม่ขาว อย่างนี้แล.

ดูก่อนอานนท์ ชาติ 6 นี้แล.
จบฉฬาภิชาติยสูตรที่ 3

อรรถกถาฉฬาภิชาติยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในฉฬาภิชาติยสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ฉฬาภิชาติโย ได้แก่ ชาติทั้ง 6 ประการ ตตฺริทํ คือ
ตตฺรายํ บทว่า ลุทฺทา ได้แก่ ต่ำช้า. บทว่า ภิกฺขู กณฺหาธิมุตฺติกา
ความว่า ธรรมดาว่าสมณะเหล่านี้. บทว่า เอกสาฎกา ได้แก่ (นิครนถ์
ทั้งหลาย) ปิดข้างหน้าด้วยผ้าชิ้นเดียวเท่านั้น. บทว่า อกามกสฺส พิลํ
โอลเภยฺยุํ
ความว่า เมื่อหมู่เกวียนกำลังเคลื่อนขบวนไป เมื่อโค (ตัวหนึ่ง)
ตายลง ชาวนาทั้งหลายก็พึงชำแหละเนื้อโคกันเพื่อต้องการตั้งราคาแล้วเคี้ยวกิน
พลางจัดสรรปันส่วนให้แก่ชาวนาคนหนึ่ง ผู้ไม่ปรารถนาเนื้อโคเลย พร้อม
กล่าวว่า เธอต้องกินส่วนนี้ และต้องให้ราคาด้วย ดังนี้แล้ว มอบชิ้นเนื้อ
กล่าวคือส่วนนั้นให้ อธิบายว่า พึงวางไว้ในมือโดยพลการ. บทว่า อเขตฺ-
ตญฺญุนา
ได้แก่ ผู้ไม่รู้จักเขตด้วยการบัญญัติอภิชาติ.

บทว่า ตํ สุณาหิ ความว่า ขอเธอจงฟังการบัญญัติของเราตถาคตนั้น.
บทว่า กณฺหํ ธมฺมํ อภิชายติ ความว่า เกิดคือบังเกิดเป็นสภาพดำ หรือ
เกิดในกำเนิดดำ. บทว่า นิพฺพานํ อภิชายติ ได้แก่ บรรลุนิพพานหรือ
เกิดในนิพพานชาติ กล่าวคืออริยภูมิ.
จบอรรถกถาฉฬาภิชาติยสูตรที่ 3

4. อาสวสูตร


ว่าด้วยคุณธรรมของภิกษุผู้เป็นนาบุญ


[329] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการ
ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็น
ผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม 6 ประการ
เป็นไฉน ? คือ อาสวะเหล่าใด อันภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงละด้วยการสำรวม
อาสวะเหล่านั้นเป็นอันภิกษุละได้แล้วด้วยการสำรวม 1 อาสวะเหล่าใดอันภิกษุ
พึงละด้วยการซ่องเสพ อาสวะเหล่านั้นเป็นอันภิกษุละได้แล้วด้วยการซ่องเสพ 1
อาสวะเหล่าใดอันภิกษุพึงละด้วยการอดทน อาสวะเหล่านั้น เป็นอันภิกษุละได้
แล้วด้วยการอดทน 1 อาสวะเหล่าใดอันภิกษุพึงละด้วยการหลีกเลี่ยง อาสวะ
เหล่านั้นเป็นอันภิกษุละได้แล้วด้วยการหลีกเลี่ยง 1 อาสวะเหล่าใดอันภิกษุพึงละ
ด้วยการบรรเทา อาสวะเหล่านั้นเป็นอันภิกษุละได้แล้วด้วยการบรรเทา 1
อาสวะเหล่าใด อันภิกษุพึงละด้วยภาวนา อาสวะเหล่านั้นเป็นอันภิกษุละได้แล้ว
ด้วยภาวนา 1.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะอันภิกษุพึงละด้วยการสำรวม ที่เป็นอัน
ภิกษุละได้แล้วด้วยการสำรวมเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณา