เมนู

ทุติยปัณณาสก์


มหาวรรควรรณนาที่ 1


อรรถกถาโสณสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในโสณสูตรที่ 1 แห่งวรรคที่ 1 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โสโณ ได้แก่ พระโสณเถระผู้สุขุมาลชาติ. บทว่า สีตวเน
ได้แก่ ในป่าช้าที่มีชื่ออย่างนี้ (สีตวัน).
เล่ากันว่า ในป่าช้านั้นเขาสร้างที่จงกรมไว้ 500 แห่ง (เรียงรายกัน)
ตามลำดับ. บรรดาที่จงกรม 500 แห่งนั้น พระเถระเลือกเอาที่จงกรม (แห่ง
หนึ่ง) ซึ่งเป็นที่สัปปายะสำหรับตน แล้วบำเพ็ญสมณธรรม. เมื่อพระเถระนั้น
ปรารภความเพียรเดินจงกรมอยู่ พื้นเท้าก็แตก. เมื่อท่านคุกเข่าเดินจงกรม
ทั้งเข่าทั้งฝ่ามือก็แตกเป็นช่อง ๆ. พระเถระปรารภความเพียรอยู่อย่างนั้น
ก็ไม่สามารถเห็นแม้แต่โอภาสหรือนิมิต. เพื่อแสดงถึงวิตกที่เกิดขึ้นแก่พระโสณะ
นั้น ผู้ลำบากกายด้วยความเพียรแล้วนั่ง (พัก ) อยู่บนแผ่นหิน (ซึ่งตั้งอยู่) ใน
ที่สุดที่จงกรม พระอานนทเถระจึงกล่าวคำว่า อถโข อายสฺมโต เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อารทฺธวิริยา ได้แก่ ประคองความเพียร
ไว้เต็มที่. บทว่า น อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตํ วิมุจฺจติ ความว่า พระ
โสณะปลงใจเชื่อว่า ก็ถ้าว่า เราจะพึงเป็นอุคฆฎิตัญญู วิปจิตัญญู หรือเนยยะ
ไซร้ จิตของเราจะพึงหลุดพ้นได้อย่างแน่นอน แต่นี่เราเป็นปทปรมบุคคล
แท้ทีเดียว จิตของเราจึงไม่หลุดพ้น ดังนี้ แล้วคิดถึงเหตุมีอาทิว่าก็โภคทรัพย์
แลมีอยู่
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โภคา เป็นปฐมาวิภัตติ ใช้ในความหมาย

แห่งทุติยาวิภัตติ. บทว่า ปาตุรโหสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ
วาระจิตของพระเถระแล้วทรงดำริว่า วันนี้ โสณะนี้นั่งอยู่บนพื้นดินที่บำเพ็ญ-
เพียรในป่าสีตวัน ตรึกถึงวิตกเรื่องนี้อยู่ จำเราจักไปถือเอาวิตกที่เบียดเบียน
เธอ แล้วบอกกัมมัฏฐานที่อุปมาด้วยพิณให้ ดังนี้ และได้มาปรากฏอยู่
เฉพาะหน้าพระเถระ. บทว่า ปญฺญตฺเต อาสเน ความว่า ภิกษุผู้บำเพ็ญ
เพียร ปูลาดอาสนะตามที่หาได้ไว้เพื่อเป็นที่ประทับนั่งของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้เสด็จมา เพื่อตรัสสอนถึงที่เป็นที่อยู่ของตนก่อนแล้วจึงบำเพ็ญเพียร เมื่อหา
อาสนะอย่างอื่นไม่ได้ก็ปูลาดแม้ใบไม้เก่า ๆ แล้วปูลาดสังฆาฏิทับข้างบน.
ฝ่ายพระเถระ. ปูลาดอาสนะก่อนแล้วจึงได้บำเพ็ญเพียร. พระสังคีติกาจารย์
หมายเอาอาสนะนั้น จึงกล่าวว่า ปญฺญตฺเต อาสเน ดังนี้.
บทว่า ตํ กึ มญฺญสิ ความว่า พระศาสดาทรงดำริว่า ภิกษุนี้ไม่มี
ความต้องการด้วยกัมมัฏฐานที่เหลือ ภิกษุนี้ฉลาดเคยชำนาญมาแล้วในศิลปะ
ของนักดนตรี เธอจักกำหนดอุปมาที่เรากล่าวในวิสัยของตนได้เร็วพลัน ดังนี้
แล้ว เพื่อจะตรัสอุปมาด้วยพิณ พระองค์จึงตรัสคำว่า ตํ กึ มญฺญสิ เป็นต้น.
ความเป็นผู้ฉลาดในการดีดพิณ ชื่อว่า ความเป็นผู้ฉลาดในเสียงสายพิณ.
และพระโสณะนั้นก็เป็นผู้ฉลาดในการดีดพิณนั้น เป็นความจริง มารดาบิดา
ของพระโสณะนั้น คิดว่า ลูกชายของเราเมื่อจะศึกษาศิลปะอย่างอื่นก็จัก
ลำบากกาย แต่ว่าศิลปะดีดพิณนี้ ลูกของเรานั่งอยู่บนที่นอน ก็สมารถ
เรียนได้ จึงให้เรียนเฉพาะศิลปะของนักดนตรีเท่านั้น. ศิลปะของนักดนตรี
(คนธรรพ์) มีอาทิคือ

เสียงเหล่านี้ คือ เสียง 7 เสียง หมู่
เสียงผสม 3 หมู่ ระดับเสียง 21 ระดับ
ฐานเสียง 49 ฐาน จัดเป็นกลุ่มเสียง

เสียงทั้งหมดนั่นแหละ พระโสณะได้ชำนาญมาแล้วทั้งนั้น.
บทว่า อจฺจายตา ได้แก่ (พิณ) ที่ขึงตึงเกินไป คือ มีระดับเสียงแข็ง
(ไม่นุ่มนวล). บทว่า สรวตี ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยเสียง. บทว่า กมฺมญฺญา
ได้แก่ เหมาะที่จะใช้งาน คือ ใช้งานได้. บทว่า อติสิถิลา ได้แก่ ระดับ
เสียงอ่อน (ยาน). บทว่า สเม คุเณ ปติฏฺฐิตา ได้แก่ อยู่ในระดับเสียง
ปานกลาง. บทว่า อจฺจารทฺธํ ได้แก่ ความเพียรที่ตึงเกินไป. บทว่า อุทฺธจฺจาย
สํวตฺตติ
ความว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้ฟุ้งซ่าน. บทว่า อติลีนํ ได้แก่
หย่อนเกินไป. บทว่า โกสชฺชาย ได้แก่ เพื่อความเป็นผู้เกียจคร้าน. บทว่า
วิริยสมตํ อธิฏฺฐาหิ ความว่า เธอจงดำรงสมถะที่สัมปยุตด้วยวิริยะไว้ให้มั่น
หมายความว่า จงประกอบวิริยะเข้ากับสมถะ. บทว่า อินฺทฺริยานญฺจ สมตํ
ปฏิวิชฺฌ
ความว่า เธอจงดำรงความสม่ำเสมอ คือ ภาวะที่เสมอกันแห่ง
อินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้นไว้ให้มั่น.
ในข้อนั้น ภิกษุผู้ประกอบศรัทธาเข้ากับปัญญา ประกอบปัญญาเข้ากับ
ศรัทธา ประกอบวิริยะเข้ากับสมาธิ และประกอบสมาธิเข้ากับวิริยะ ชื่อว่า
เป็นผู้ดำรงภาวะที่เสมอกันแห่งอินทรีย์ทั้งหลายไว้มั่น. ส่วนสติ มีประโยชน์ต่อ
ธรรมทั้งปวง สตินั้นเฉพาะที่มีกำลังย่อมควรแม้ในกาลทุกเมื่อ. ก็วิธีประกอบ
อินทรีย์เหล่านั้นเข้าด้วยกันนั้น แถลงไว้ชัดเจนแล้วทีเดียวในปกรณ์วิเสส-
วิสุทธิมรรค.

บทว่า ตตฺถ จ นิมิตฺตํ คณฺหาหิ ความว่า ก็เมื่อภาวะที่เสมอกัน
(แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย) นั้นมีอยู่ นิมิตใดจะพึงเกิดขึ้นเหมือนเงาหน้าในกระจก
เธอจงกำหนดถือเอานิมิตนั้นจะเป็นสมถนิมิตก็ดี วิปัสสนานิมิตก็ดี มรรคนิมิต
ก็ดี ผลนิมิตก็ดี คือ จงทำให้นิมิตนั้นบังเกิด. พระศาสดาตรัสกัมมัฏฐาน
แก่พระโสณะนั้น สรุปลงในพระอรหัตผล ด้วยประการดังพรรณนามานี้.
บทว่า ตตฺถ จ นิมิตฺตํ อคฺคเหสิ ความว่า พระโสณะได้กำหนดถือ
เอาทั้งสมถนิมิตทั้งวิปัสสนานิมิต.
บทว่า ฉฏฺฐานานิ ได้แก่ เหตุ 6 อย่าง. บทว่า อธิมุตฺโต โหติ
ได้แก่ เป็นผู้แทงตลอด คือทำให้ประจักษ์ดำรงอยู่. บททั้งหมดมีอาทิว่า
เนกฺขมฺมาธิมุตฺโต พระโสณะกล่าวไว้ด้วยอำนาจอรหัตผลนั่นแล. จริงอยู่
อรหัตผล ชื่อว่า เนกขัมมะ เพราะออกไปจากกิเลสทั้งปวง ชื่อว่า ปวิเวกะ
เพราะสงัดจากกิเลสเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่า อัพยาปัชฌะ เพราะไม่มีความ
เบียดเบียน ชื่อว่า ตัณหักขยะ เพราะเกิดขึ้นในที่สุดแห่งความสิ้นตัณหา
ชื่อว่า อุปาทานักขยะ เพราะเกิดขึ้นในที่สุดแห่งความสิ้นอุปาทาน ชื่อว่า
อสัมโมหะ เพราะไม่มีความงมงาย. บทว่า เกวลํ สทฺธามตฺตกํ ได้แก่
เว้นจากปฏิเวธ คือ เพียงศรัทธาล้วน ๆ ที่ไม่เจือปนด้วยปฏิเวธปัญญา. บทว่า
ปฏิจยํ ได้แก่ การเจริญด้วยการบำเพ็ญบ่อย ๆ. บทว่า วีตราคตฺตา
ได้แก่ เพราะราคะปราศจากไปด้วยการแทงตลอดมรรคนั่นแล. ภิกษุเป็นผู้แทง
ตลอด คือทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล กล่าวคือเนกขัมมะอยู่. บทว่า ผลสมา-
ปตฺติวิหาเรน วิหรติ ความว่า และเป็นผู้มีใจน้อมไปในผลสมาบัตินั้น
นั่นแล. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัย อย่างเดียวกันนี้แล.

บทว่า ลาภสกฺการสิโลกํ ได้แก่ ลาภ คือปัจจัย 4 ความที่ตน
เหล่านั้นนั่นแลทำดีแล้ว และการกล่าวสรรเสริญคุณ. บทว่า นิกามยมาโน
ได้แก่ ต้องการ คือปรารถนาอยู่. บทว่า ปวิเวกาธิมุตฺโต ความว่า พยากรณ์
อรหัตผลอย่างนี้ว่า เราน้อมไปในปวิเวก. บทว่า สีลพฺพตปรามาสํ ความว่า
เพียงแต่ยึดถือศีลและพรตที่ตนได้ลูบคลำยึดถือมาแล้ว. บทว่า สารโต
ปจฺจาคจฺฉนฺโต
ได้แก่ รู้อยู่โดยความเป็นสาระ. บทว่า อพฺยาปชฺฌาธิมุตฺโต
ได้แก่ พยากรณ์ความไม่เบียดเบียนกันว่าเป็นอรหัตผล. พึงเห็นความหมาย
ในที่ทุกแห่งตามนัยนี้แล.
อีกอย่างหนึ่งในตอนนี้ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสอรหัตผลไว้เฉพาะในบทนี้ว่า เนกฺขมฺมาธิมุตฺโต ตรัสนิพพานไว้ใน
5 บทที่เหลือ. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนิพพาน
ไว้เฉพาะในบทนี้ว่า อสมฺโมหาธิมุตฺโต ตรัสอรหัตผลไว้ในบทที่เหลือ.
แต่ในที่นี้มีสาระสำคัญดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสทั้งอรหัตผลทั้งนิพพาน
ไว้ในบทเหล่านั้นทุกบททีเดียวแล. บทว่า ภูสา ได้แก่ มีกำลัง คือ เหมือน
รูปทิพย์.
บทว่า เนวสฺส จิตฺตํ ปริยาทิยนฺติ ความว่า (กิเลสทั้งหลาย)
ไม่สามารถจะครอบงำจิตของพระขีณาสพนั้นอยู่ได้. เป็นความจริง กิเลสทั้ง
หลายกำลังเกิดขึ้นชื่อว่า ครอบงำจิต. บทว่า อมิสฺสีกตํ ความว่า ก็กิเลส
ทั้งหลายย่อมทำจิตกับอารมณ์ให้ผสมกัน เพราะไม่มีกิเลสเหล่านั้น จิต จึง
ชื่อว่าไม่ถูกทำให้ผสมกัน. บทว่า ฐิตํ ได้แก่ ตั้งมั่นอยู่. บทว่า อาเนญฺ-
ชปฺปตฺตํ
ได้แก่ ถึงความไม่หวั่นไหว. บทว่า วยญฺจสฺสานุปสฺสติ ความว่า

ก็ภิกษุนี้ย่อมเห็นทั้งความเกิดขึ้นทั้งความดับของจิตนั้น. บทว่า ภูสา วาตวุฏฺฐิ
ได้แก่หัวลมแรง. บทว่า เนว สํกมฺเปยฺย ได้แก่ ไม่พึงสามารถจะให้หวั่น
ไหวได้โดยส่วนหนึ่ง. บทว่า น สมฺปกมฺเปยฺย ได้แก่ ไม่พึงสามารถจะ
ให้หวั่นไหวได้ทุกส่วน เหมือนไม่สามารถจะให้คุณหวั่นไหวได้ฉะนั้น. บทว่า
น สมฺปเวเธยฺย ได้แก่ ไม่พึงสามารถจะทำให้สะเทือน คือ สั่น จนหวั่น
ไหวได้.
บทว่า เนกฺขมฺมมธิมุตฺตสฺส ความว่า ผู้แทงตลอดอรหัตผล
แล้วดำรงอยู่. แม้ในบทที่เหลือ ก็ตรัสเฉพาะพระอรหัตเหมือนกัน.
บทว่า จ อุปาทานกฺขยสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติใช้ในความหมายแห่ง
ทุติยาวิภัตติ. บทว่า อสมฺโมหญฺจ เจตโส ได้แก่ และน้อมไปสู่ความไม่
ลุ่มหลงแห่งจิต. บทว่า ทิสฺวา อายตนุปฺปาทํ ได้แก่ เห็นความเกิดขึ้น
และความดับแห่งอายตนะทั้งหลาย. บทว่า สมฺมา จิตฺตํ วิมุจฺจติ
ความว่า ย่อมหลุดพ้น คือ ย่อมน้อมไปในอารมณ์ คือ นิพพาน โดย
ชอบ คือ โดยเหตุ โดยนัย ได้แก่ ด้วยอำนาจผลสมาบัติ เพราะการปฏิบัติ
วิปัสสนานี้. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงปฏิปทาของพระขีณาสพ
ด้วยบทนี้. เพราะว่า จิตของพระขีณาสพนั้นย่อมหลุดพ้นด้วยดีจากกิเลสทั้ง
หมดด้วยอานุภาพอริยมรรคที่ท่านได้เห็นความเกิดขึ้นแห่งอายตนะ แล้วบรรลุ
ด้วยวิปัสสนานี้ เมื่อพระขีณาสพนั้นหลุดพ้นด้วยดีอย่างนั้น ฯลฯ ย่อมไม่มี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตจิตฺตสฺส ได้แก่ มีจิตดับแล้ว. บทว่า
เหลือในสูตรนี้มีความหมายง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาโสณสูตรที่ 1

2. ผัคคุณสูตร


ว่าด้วยพระพุทธองค์เสด็จเยี่ยมพระผัคคุณะอาพาธ


[327] ก็สมัยนั้น ท่านพระผัคคุณะอาพาธ มีทุกข์เป็นไข้หนัก
ครั้งนั้นท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคม
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ ท่านพระผัคคุณะอาพาธมีทุกข์เป็นไข้หนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์ เสด็จ
เข้าไปเยี่ยมท่านพระผัคคุณะเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับโดยดุษณีภาพ ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้น เสด็จเข้าไปเยี่ยมท่านพระผัคคุณะถึงที่อยู่
ท่านพระผัคคุณะได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จมาแต่ไกล แล้วจะลุกจาก
เตียง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระผัคคุณะว่า อย่าเลย
ผัคคุณะเธออย่าลุกขึ้นจากเตียง อาสนะเหล่านี้ที่ผู้อื่นได้ปูไว้มีอยู่ เราจักนั่งบน
อาสนะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทับนั่งบนอาสนะที่ได้ปูไว้แล้ว ครั้นแล้ว
ได้ตรัสถามท่านพระผัคคุณะว่า ดูก่อนผัคคุณะ เธอพออดทนได้หรือ พอยัง
อัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาย่อมบรรเทาไม่กำเริบหรือปรากฏว่า
บรรเทา ไม่กำเริบขึ้นหรือ.
ท่านพระผัคคุณะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทน
ไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนัก
ไม่บรรเทา ปรากฏว่ากำเริบขึ้นไม่บรรเทาเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบ
เหมือนบุรุษ มีกำลังพึงเฉือนศีรษะด้วยมีดโกนที่คมฉันใด ล้มกล้าเสียดแทง