เมนู

ทุติยปัณณาสก์


มหาวรรควรรณนาที่ 1


อรรถกถาโสณสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในโสณสูตรที่ 1 แห่งวรรคที่ 1 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โสโณ ได้แก่ พระโสณเถระผู้สุขุมาลชาติ. บทว่า สีตวเน
ได้แก่ ในป่าช้าที่มีชื่ออย่างนี้ (สีตวัน).
เล่ากันว่า ในป่าช้านั้นเขาสร้างที่จงกรมไว้ 500 แห่ง (เรียงรายกัน)
ตามลำดับ. บรรดาที่จงกรม 500 แห่งนั้น พระเถระเลือกเอาที่จงกรม (แห่ง
หนึ่ง) ซึ่งเป็นที่สัปปายะสำหรับตน แล้วบำเพ็ญสมณธรรม. เมื่อพระเถระนั้น
ปรารภความเพียรเดินจงกรมอยู่ พื้นเท้าก็แตก. เมื่อท่านคุกเข่าเดินจงกรม
ทั้งเข่าทั้งฝ่ามือก็แตกเป็นช่อง ๆ. พระเถระปรารภความเพียรอยู่อย่างนั้น
ก็ไม่สามารถเห็นแม้แต่โอภาสหรือนิมิต. เพื่อแสดงถึงวิตกที่เกิดขึ้นแก่พระโสณะ
นั้น ผู้ลำบากกายด้วยความเพียรแล้วนั่ง (พัก ) อยู่บนแผ่นหิน (ซึ่งตั้งอยู่) ใน
ที่สุดที่จงกรม พระอานนทเถระจึงกล่าวคำว่า อถโข อายสฺมโต เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อารทฺธวิริยา ได้แก่ ประคองความเพียร
ไว้เต็มที่. บทว่า น อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตํ วิมุจฺจติ ความว่า พระ
โสณะปลงใจเชื่อว่า ก็ถ้าว่า เราจะพึงเป็นอุคฆฎิตัญญู วิปจิตัญญู หรือเนยยะ
ไซร้ จิตของเราจะพึงหลุดพ้นได้อย่างแน่นอน แต่นี่เราเป็นปทปรมบุคคล
แท้ทีเดียว จิตของเราจึงไม่หลุดพ้น ดังนี้ แล้วคิดถึงเหตุมีอาทิว่าก็โภคทรัพย์
แลมีอยู่
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โภคา เป็นปฐมาวิภัตติ ใช้ในความหมาย