เมนู

นรชนนั้นชื่อว่า เป็นผู้รักษาตนที่เป็นส่วน
ภายนอก เพราะเหตุนั้น บัณฑิตไม่ขุด
โค่นคุณความดีของตน ชื่อว่าพึงรักษาตน
ทุกเมื่อ.

จบธรรมิกสูตรที่ 12
จบธรรมิกวรรคที่ 5

อรรถกถาธรรมิกสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในธรรมิกสูตรที่ 12 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สพฺพโส แก้เป็น สพฺเพสุ ทั้งปวง. บทว่า สตฺตสุ อาวาเสสุ
ได้แก่ ในบริเวณ 7 แห่ง. บทว่า ปริภาสติ ได้แก่ ข่มขู่ คือ ก่อให้เกิด
ความกลัว. บทว่า วิหึสติ แปลว่า เบียดเบียน. บทว่า วิตุทติ แปลว่า
ทิ่มแทง. บทว่า โรเสติ คือ กระทบกระทั่งด้วยวาจา. บทว่า ปกฺกมนฺติ
คือ หลีกไปสู่ทิศทั้งหลาย. บทว่า น สณฺฐหนฺติ คือ ไม่ดำรงอยู่. บทว่า
ริญฺจนฺติ คือทิ้ง ได้แก่สละ. บทว่า ปพฺพาเชยฺยาม คือ พึงนำออก. ศัพท์ว่า
หนฺท เป็นนิบาตใช้ในความหมายว่า สละวาง. บทว่า อลํ มีความหมายว่า
การที่อุบาสกทั้งหลายจะพึงขับไล่ท่านพระธัมมิกะนั้นออกไปเป็นการสมควร.
บทว่า ตีรทสฺสึ สกุณํ ได้แก่ กาบอกทิศ. บทว่า มุญฺจนฺติ
ได้แก่ พ่อค้าทั้งหลายเดินทางทะเล ปล่อย (กา) ไปเพื่อดูทิศ. บทว่า สามนฺตา
ได้แก่ ในที่ไม่ไกล. ปาฐะเป็น สมนฺตา ดังนี้ก็มี. หมายความว่าโดยรอบ.
บทว่า อภินิเวโส ได้แก่ การหยุดอยู่ของกิ่งไม้ที่แผ่ออกไปคลุมอยู่. บทว่า

มูลสนฺตานกานํ ได้แก่ การหยุดอยู่ของรากไม้. บทว่า อาฬฺหกถาลิกา
หม้อหุงข้าว (บรรจุ) ข้าวสารได้ 1 อาฬหกะ. บทว่า ขุทฺทมธุํ ได้แก่ น้ำผึ้ง
ติดไม้ที่พวกผึ้งตัวเล็ก ๆ ทำไว้. บทว่า อเนลกํ ได้แก่ ไม่มีโทษ.
บทว่า น จ สุทํ อญฺญมญฺญสฺส ผลานิ หึสนฺตึ ความว่า
ผลไม้ทั้งหลายย่อมไม่เบียดส่วนของกันและกัน. ขึ้นชื่อว่า ต้นไม้ที่จะเอาส่วน
ของมันตัดราก เปลือกหรือใบ (ของต้นอื่น) ไม่มี. มนุษย์ทั้งหลายมีพระราชา
เป็นต้น จะบริโภคกันเฉพาะแต่ผลที่หล่นลงไปภายใต้กิ่งของมัน ๆ เท่านั้น.
แม้ผลที่หล่นจากส่วนของต้นหนึ่ง ไปสลับอยู่กับส่วนของอีกต้นหนึ่ง มนุษย์
ทั้งหลายมีพระราชาเป็นต้น พอทราบว่า ไม่ใช่ผลจากกิ่งของเรา ก็ไม่ยอม
เคี้ยวกิน.
บทว่า ยาวทตฺถํ ภกฺขิตฺวา ได้แก่ เคี้ยวกินโดยประมาณถึงคอ
(จนเต็มอิ่ม). บทว่า สาขํ ภญฺชิตฺวา ความว่า (ชายคนหนึ่ง) ตัดใบไม้
ขนาดเท่าร่ม กั้นให้เกิดร่มเงาพลางหลีกไป. บทว่า ยตฺร หิ นาม ได้แก่
โย หิ นาม (ชายคนใดคนหนึ่ง). บทว่า ปกฺกมิสฺสติ คือ หลีกไปแล้ว.
บทว่า นาทาสิ ความว่า ต้นพญานิโครธก็มิได้ออกผลอีก ด้วยอานุภาพของ
เทวดา. เพราะว่า เทวดานั้นได้อธิษฐานอย่างนี้.
บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า เมื่อชาวชนบทไปกราบทูลว่า ข้าแต่
มหาราช ต้นไม้ไม่ออกผลเลย เป็นความผิดของพวกหม่อมฉันหรือของพระองค์
พระเจ้าโกรัพยะทรงดำริว่า ไม่ใช่ความผิดของเรา ไม่ใช่ความผิดของพวก
ชาวชนบท อธรรมย่อมไม่เป็นไปในแว่นแคว้นของเรา ต้นไม้ไม่ออกผลเพราะ
เหตุอะไรหนอแล เราจักเข้าไปทูลถามท้าวสักกะ ดังนี้แล้ว เข้าไปเฝ้าท้าวสักกะ
จอมเทพจนถึงภพดาวดึงส์. บทว่า ปวตฺเตสิ แปลว่า พัดผัน. บทว่า
อุมมูลมกาสิ ได้แก่ ทำ (ต้นพญานิโครธ) ให้มีรากขึ้นข้างบน. บทว่า

อปิ นุ ตฺวํ เท่ากับ อปิ นุ ตว. บทว่า อฏฺฐิตาเยว คือ อฏฺฐิตายเอว
ตั้งอยู่ไม่ได้เลย. บทว่า สจฺฉวินี ได้แก่ (รากไม้) กลับมีผิวเหมือนเดิม คือ
ตั้งอยู่ในที่ตามปกติ. บทว่า น ปจฺจกฺโกสติ คือ ไม่ด่าตอบ. บทว่า โรสนฺตํ
ได้แก่ บุคคลผู้กระทบอยู่. บทว่า ภณฺฑนฺตํ ได้แก่ บุคคลผู้ประหารอยู่.
บทว่า สุเนตฺโต ควานว่า นัยน์ตา เรียกว่า เนตตะ เพราะนัยน์ตา
คู่นั้นสวยงาม ครูนั้นจึง ชื่อว่า สุเนตตะ. บทว่า ติตฺถกโร ได้แก่
ผู้สร้างท่า (ลัทธิ) เป็นที่หยั่งลงสู่สุคติ. บทว่า วีตราโค ได้แก่ ผู้ปราศจาก
ราคะด้วยอำนาจการข่มไว้. บทว่า ปสวติ ได้แก่ ย่อมได้. บทว่า ทิฏฺฐสมฺปนฺนํ
ได้แก่ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทัสสนะ อธิบายว่า คือ พระโสดาบัน. บทว่า
ขนฺตํ ได้แก่ การขุดคุณของตน. บทว่า ยถา มํ สพฺรหฺมจารีสุ ความว่า
เทวดาและการบริภาษในเพื่อนสพรหมจารีนี้เป็นฉันใด เราไม่กล่าวการขุดคุณ
แบบนี้ ว่าเป็นอย่างอื่น (จากการด่าและบริภาษนั้น).
คนของตนเรียกว่า อามชน ในบทว่า น โน อามสพฺรหฺมจารีสุ นี้
เพราะฉะนั้น ในที่นี้จึงมีความหมายดังนี้ว่า เราทั้งหลายจักไม่มีจิตประทุษร้าย
ในเพื่อนสพรหมจารีผู้เสมอกับของตน.
บทว่า โชติปาโล จ โควินฺโท ความว่า (ครูนั้น) ว่าโดยชื่อ
มีชื่อว่า โชติปาละ ว่าโดยตำแหน่ง มีชื่อว่า มหาโควินทะ.
บทว่า สตฺตปุโรหิโต ความว่า เป็นปุโรหิตของพระราชา 7
พระองค์ มีพระเจ้าเรณุเป็นต้น. บทว่า อภิเสกา อตีตํเส ความว่า ครู
ทั้ง 6 เหล่านี้ (มีครูมูคปักขะเป็นต้น) ได้รับการอภิเษกมาแล้วในส่วนที่เป็น
อดีต.

บทว่า นิรามคนฺธา ได้แก่ ไม่มีกลิ่นดาว ด้วยกลิ่นดาว คือ
ความโกรธ. บทว่า กรุเณ วิมุตฺตา ความว่า หลุดพ้นแล้ว ในเพราะ
กรุณาฌาน คือ ดำรงอยู่ในกรุณาและในธรรมอันเป็นส่วนเบื้องต้นของกรุณา.
บทว่า เย เต แก้เป็น เอเต. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะเป็นอย่างนี้ (เอเต)
ก็มีเหมือนกัน. บทว่า น สาธุรูปํ อาสิเท คือ ไม่พึงกระทบกระทั่งสภาวะ
ที่ดี. บทว่า ทิฏฺฐิฏฺฐานปฺปหายินํ คือ อันมีปกติละทิฏฐิ 62.
บทว่า สตฺตโม ได้แก่ เป็นบุคคลที่ 7 นับตั้งแต่พระอรหันต์ลงมา.
บทว่า อวีตราโค คือ ยังไม่ปราศจากราคะ.
ท่านปฏิเสธความเป็นอนาคามี ด้วยบทว่า อวีตราโค นั้น. บทว่า
ปญฺจินฺทฺริยา มุทู ความว่า อินทรีย์ในวิปัสสนา 5 อ่อน. จริงอยู่ อินทรีย์
เหล่านั้นของพระโสดาบันนั้น เปรียบเทียบกับพระสกทาคามีแล้ว นับว่า อ่อน.
บทว่า วิปสฺสนา ได้แก่ ญาณเป็นเครื่องกำหนดสังขาร. บทว่า
ปุพฺเพว อุปหญฺญติ ได้แก่ กระทบก่อนทีเดียว. บทว่า อกฺขโต ได้แก่
ไม่ถูกขุด คือ ไม่ถูกกระทบกระทั่งโดยการขุดคุณ. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง
ง่ายทั้งนั้นแล.
จบธรรมิกวรรควรรณนาที่ 5
จบปฐมปัณณาสก์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. นาคสูตร 2. มิคสาลาสูตร 3. อิณสูตร 4. มหาจุนทสูตร
5. ปฐมสันทิฏฐิกสูตร 6. ทุติยสันทิฏฐิกสูตร 7. เขมสุมนสูตร 8. อินทริย-
สังวรสูตร 9. อานันทสูตร 10. ขัตติยาธิปปายสูตร 11. อัปปมาทสูตร
12. ธรรมิกสูตร และอรรถกถา.