เมนู

นรชนนั้นชื่อว่า เป็นผู้รักษาตนที่เป็นส่วน
ภายนอก เพราะเหตุนั้น บัณฑิตไม่ขุด
โค่นคุณความดีของตน ชื่อว่าพึงรักษาตน
ทุกเมื่อ.

จบธรรมิกสูตรที่ 12
จบธรรมิกวรรคที่ 5

อรรถกถาธรรมิกสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในธรรมิกสูตรที่ 12 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สพฺพโส แก้เป็น สพฺเพสุ ทั้งปวง. บทว่า สตฺตสุ อาวาเสสุ
ได้แก่ ในบริเวณ 7 แห่ง. บทว่า ปริภาสติ ได้แก่ ข่มขู่ คือ ก่อให้เกิด
ความกลัว. บทว่า วิหึสติ แปลว่า เบียดเบียน. บทว่า วิตุทติ แปลว่า
ทิ่มแทง. บทว่า โรเสติ คือ กระทบกระทั่งด้วยวาจา. บทว่า ปกฺกมนฺติ
คือ หลีกไปสู่ทิศทั้งหลาย. บทว่า น สณฺฐหนฺติ คือ ไม่ดำรงอยู่. บทว่า
ริญฺจนฺติ คือทิ้ง ได้แก่สละ. บทว่า ปพฺพาเชยฺยาม คือ พึงนำออก. ศัพท์ว่า
หนฺท เป็นนิบาตใช้ในความหมายว่า สละวาง. บทว่า อลํ มีความหมายว่า
การที่อุบาสกทั้งหลายจะพึงขับไล่ท่านพระธัมมิกะนั้นออกไปเป็นการสมควร.
บทว่า ตีรทสฺสึ สกุณํ ได้แก่ กาบอกทิศ. บทว่า มุญฺจนฺติ
ได้แก่ พ่อค้าทั้งหลายเดินทางทะเล ปล่อย (กา) ไปเพื่อดูทิศ. บทว่า สามนฺตา
ได้แก่ ในที่ไม่ไกล. ปาฐะเป็น สมนฺตา ดังนี้ก็มี. หมายความว่าโดยรอบ.
บทว่า อภินิเวโส ได้แก่ การหยุดอยู่ของกิ่งไม้ที่แผ่ออกไปคลุมอยู่. บทว่า