เมนู

เป็นเยี่ยมกว่าแสงสว่างแห่งดาวเหล่านั้น ฉันใด ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญแล้ว ทำ
ให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง 2 ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และ
ประโยชน์ในสัมปรายภพ คือ ความไม่ประมาท ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อน
พราหมณ์ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์
ทั้ง 2 ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ คือ
ความไม่ประมาทนี้แล.
พราหมณ์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์
แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ
ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบอัปปมาทสูตรที่ 11

อรรถกถาอัปปมาทสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอัปปมาทสูตรที่ 11 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สมธิคฺคยฺห แปลว่า ยึดถือไว้ได้ด้วยดี. บทว่า ชงฺคลานํ
ปาทานํ
ไค้แก่ สัตว์มีเท้าที่มีปกติท่องเที่ยวไปบนพื้นปฐพี. บทว่า ปทชาตานิ
ได้แก่ รอยเท้า. บทว่า สโมธานํ คจฺฉนฺติ ได้แก่ ถึงการรวมลง คือ
ใส่ลง. บทว่า อคฺคมกฺขายติ ได้แก่ ที่ชาวโลกกล่าวว่าประเสริฐที่สุด.
บทว่า ปพฺพชลายโก ได้แก่ คนเกี่ยวแฝก. บทว่า โอธุนาติ
ได้แก่ จับยอดกระแทกลง. บทว่า นิธุนาติ ได้แก่ แกว่งไปทางข้างทั้งสอง.
บทว่า นิจฺฉาเทติ ได้แก่ ฟาดที่แขนหรือที่ต้นไม้. บทว่า อมฺพปิณฺฑิยา

ได้แก่ พวงผลมะม่วง. บทว่า วณฺโฏปนิพนฺธนานิ ได้แก่ ติดอยู่ที่ขั้ว
หรือห้อยอยู่ที่ขั้ว.
บทว่า ตทนฺวยานิ ภวนฺติ ได้แก่ ย่อม (หล่น) ไปตามขั้ว.
หมายความว่า ย่อม (หล่น) ไปตามขั้วของผลพวงมะม่วง (ที่หล่นไป).
บทว่า ขุทฺทราชาโน ได้แก่ พระราชาเล็ก (น้อยศักดิ์) หรือ พระราชา
ธรรมดา.
จบอรรถกถาอัปปมาทสูตรที่ 11

12. ธรรมิกสูตร


ว่าด้วยธรรมของสมณะและศาสดาทั้ง 6


[325] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฎ ใกล้
กรุงราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ท่านธรรมิกะเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในอาวาส 7 แห่ง
ที่มีอยู่ในชาติภูมิชนบททั้งหมด ทราบข่าวว่า ท่านพระธรรมิกะย่อมด่า
บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีซึ่งภิกษุทั้งหลายที่จรมาอาศัยด้วยวาจา
และภิกษุผู้จรมาอาศัยเหล่านั้น ถูกท่านพระธรรมิกะด่า บริภาษ เบียดเบียน
ทิ่มแทง เสียดสีด้วยวาจา ย่อมหลีกไป ไม่อยู่ ละอาวาสไป ครั้งนั้น พวก
อุบาสกชาวชาติภูมิชนมทคิดกันว่า พวกเราได้บำรุงภิกษุสงฆ์ ด้วยจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ก็แต่ว่า พวกภิกษุที่จร
มาอาศัยย่อมหลีกไป ไม่อยู่ ละอาวาสไป อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
พวกภิกษุผู้จรมาอาศัยหลีกไป ไม่อยู่ ละอาวาสไป ครั้งนั้น พวกอุบาสกชาว
ชาติภูมิชนบทคิดกันว่า ท่านพระธรรมิกะนี้แลย่อมด่าบริภาษ เบียดเบียน