เมนู

สมณะทั้งหลาย ชื่อว่า มีขันติและโสรัจจะเป็นที่ประสงค์ เพราะเหตุ
ที่มีความประสงค์ในอธิวาสขันติ และในศีลซึ่งมีความสะอาดเป็นภาวะ. สมณะ
ทั้งหลาย ชื่อว่า ไม่มีอะไรเป็นที่ยึดมั่น เพราะเหตุที่ มีใจยึดมั่น ในความ
ไม่มีอะไร คือ ในภาวะที่ไม่มีการยึดถือ. สมณะทั้งหลาย ชื่อว่า มีนิพพาน
เป็นที่สุด เพราะเหตุที่ (เมื่อ) บรรลุนิพพาน ก็นับว่า ถึงที่สุดแล้ว.
จบอรรถกถาขัตติยาธิปปายสูตรที่ 10

11. อัปปมาทสูตร


ว่าด้วยธรรมที่ให้สำเร็จประโยชน์


[324] ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง
ที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึก
ถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือ
ประโยชน์ทั้ง 2 ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ
มีอยู่หรือหนอแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมข้อหนึ่ง
ซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง 2 ไว้ได้ คือ ประโยชน์
ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพมีอยู่.
พราหมณ์. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง 2 ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน
และประโยชน์ในสัมปรายภพ เป็นไฉน.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง 2 ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์
ในสัมปรายภพ คือ ความไม่ประมาท ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือนรอย
เท้าชนิดใดชนิดหนึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ที่สัญจรไปบนแผ่นดิน รอยเท้าเหล่านั้น
ทั้งปวงย่อมรวมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างชาวโลกกล่าวว่าเป็นเยี่ยมกว่า
รอยเท้าเหล่านั้น เพราะรอยเท้าช้างเป็นรอยเท้าใหญ่ ฉันใด ธรรมข้อหนึ่ง
ซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง 2 ไว้ได้ คือ ประโยชน์
ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ คือ ความไม่ประมาท ฉันนั้น
เหมือนกัน ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือนกลอนชนิดใดชนิดหนึ่งแห่งเรือนยอด
กลอนเหล่านั้นทั้งปวงย่อมโน้มน้อมรวมเข้าหายอดเรือน ยอดเรือนชาวโลก
กล่าวว่าเป็นเยี่ยม (ที่รวม) แห่งกลอนเหล่านั้น ฉันใด ธรรมข้อหนึ่งซึ่ง
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว. . .ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือน
บุรุษผู้เกี่ยวหญ้า เกี่ยวหญ้าแล้ว จับที่ยอด ถือคว่ำลงสลัดฟาดที่ต้นไม้ ฉันใด
ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว. . .ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนพราหมณ์
เปรียบเหมือนเมื่อพวงผลมะม่วงถูกตัดที่ต้นขั้ว ผลมะม่วงลูกใดลูกหนึ่งที่ติดอยู่
กับต้นขั้ว ผลมะม่วงเหล่านั้นทั้งปวง ย่อมเป็นของติดไปกับต้นขั้ว ฉันใด
ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว. . .ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนพราหมณ์
เปรียบเหมือนพระราชาผู้ครองประเทศเล็ก พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง พระราชา
เหล่านั้นทั้งปวง ย่อมเป็นผู้ขึ้นตรงต่อพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิ
ชาวโลกกล่าวว่าเป็นเยี่ยมกว่าพระราชาเหล่านั้น ฉันใด ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญ
แล้ว ทำให้มากแล้ว. . .ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือน
แสงสว่างชนิดใดชนิดหนึ่งแห่งดาวทั้งหลาย แสงสว่างเหล่านั้นทั้งปวง ย่อมไม่
ถึงส่วนที่สิบหกแห่งแสงสว่างพระจันทร์ แสงสว่างพระจันทร์ชาวโลกกล่าวว่า

เป็นเยี่ยมกว่าแสงสว่างแห่งดาวเหล่านั้น ฉันใด ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญแล้ว ทำ
ให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง 2 ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และ
ประโยชน์ในสัมปรายภพ คือ ความไม่ประมาท ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อน
พราหมณ์ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์
ทั้ง 2 ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ คือ
ความไม่ประมาทนี้แล.
พราหมณ์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์
แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ
ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบอัปปมาทสูตรที่ 11

อรรถกถาอัปปมาทสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอัปปมาทสูตรที่ 11 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สมธิคฺคยฺห แปลว่า ยึดถือไว้ได้ด้วยดี. บทว่า ชงฺคลานํ
ปาทานํ
ไค้แก่ สัตว์มีเท้าที่มีปกติท่องเที่ยวไปบนพื้นปฐพี. บทว่า ปทชาตานิ
ได้แก่ รอยเท้า. บทว่า สโมธานํ คจฺฉนฺติ ได้แก่ ถึงการรวมลง คือ
ใส่ลง. บทว่า อคฺคมกฺขายติ ได้แก่ ที่ชาวโลกกล่าวว่าประเสริฐที่สุด.
บทว่า ปพฺพชลายโก ได้แก่ คนเกี่ยวแฝก. บทว่า โอธุนาติ
ได้แก่ จับยอดกระแทกลง. บทว่า นิธุนาติ ได้แก่ แกว่งไปทางข้างทั้งสอง.
บทว่า นิจฺฉาเทติ ได้แก่ ฟาดที่แขนหรือที่ต้นไม้. บทว่า อมฺพปิณฺฑิยา