เมนู

อันนั้น. จริงอยู่ เด็กอายุ 7 ขวบก็ดี พระเถระอายุ 100 ปีก็ดี ไม่ว่าจะเป็น
ภิกษุหรือภิกษุณี อุบาสกหรืออุบาสิกา เทวดาหรือมาร พรหม ก็แทงตลอด
วิมุตติ ในโลกุตรมรรคที่แทงตลอดแล้ว ชื่อว่า ความต่างๆ กันไม่มีเลย.
บทว่า อลเมว แปลว่า ควรแท้. บทว่า ยตฺร หิ นาม เท่ากับ ยานิ
นาม
แปลว่า ชื่อเหล่าใด.
บทว่า คจฺฉํ อากาสธาตุยา คือ โคจรไปทางอากาศ. บทว่า
สทฺโธ ได้แก่ ผู้เชื่อคุณพระรัตนตรัย. บทว่า ถนยํ แปลว่า ลอยไป.
บทว่า วิชฺชุมาลี ได้แก่ ประกอบด้วยสายฟ้าแลบอยู่หน้าเมฆเช่นกับมาลา.
บทว่า สตกฺกกุ คือ มียอดตั้งร้อย อธิบายว่า ประกอบด้วยเมฆตั้งร้อยยอด
ที่ตั้งขึ้นทางนี้ทางโน้น. บทว่า ทสฺสนมฺปนฺโน คือ พระโสดาบัน.
บทว่า โภคปริพฺยุฬฺโห ได้แก่ เป็นผู้พรั่งพรูด้วยโภคะที่มีอยู่นำไปให้ด้วย
อำนาจทาน คล้ายห้วงน้ำ. อธิบายว่า ให้ถึงเทวโลก. บทว่า เปจฺจ คือ
ในปรโลก. บทว่า สคฺเค ปโมทติ ความว่า ย่อมปลาบปลื้มปราโมทย์
ในสวรรค์ที่เขาเกิดนั้นนั่นแล.
จบอรรถกถาสุมนสูตรที่ 1

2. จุนทิสูตร


ว่าด้วยสิ่งที่อำนวยผลเลิศ


[32] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน
กลันทกนิวาปสถานใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ราชกุมารีพระนามว่าจุนที แวด
ล้อมด้วยรถ 500 คัน และกุมารี 500 คน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประ
ทับถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราชกุมารพระนามว่าจุนทะ พระภาดาของหม่อมฉัน
กล่าวอย่างนี้ว่า หญิงหรือชายเป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรม
เป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจาก
อทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจาก
การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ผู้นั้นตายไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงสุคติอย่างเดียว ไม่เข้าถึงทุคติ ดังนี้ หม่อมฉันจึงขอทูลถามว่า
ผู้ที่เลื่อมใสในศาสดาเช่นไร เมื่อตายไปแล้วจึงเข้าถึงสุคติอย่างเดียว ไม่เข้าถึง
ทุคติ ผู้ที่เลื่อมใสในธรรมเช่นไร เมื่อตายไปแล้วจึงเข้าถึงสุคติอย่างเดียว
ไม่เข้าถึงทุคติ ผู้ที่เลื่อมใสในสงฆ์เช่นไร เมื่อตายไปแล้วจึงเข้าถึงสุคติอย่างเดียว
ไม่เข้าถึงทุคติ ผู้ที่ทำให้บริบูรณ์ในศีลเช่นไร เมื่อตายไปแล้ว จึงเข้าถึงสุคติ
อย่างเดียว ไม่เข้าถึงทุคติ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนจุนที สัตว์ที่ไม่มีเท้าก็ดี มี 2 เท้า
ก็ดี มี 4 เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี ไม่มี
สัญญาก็ดี มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ดี มีประมาณเท่าใด พระตถาคต-
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสัตว์เหล่านั้น ชนเหล่าใด
เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ก็วิบากอันเลิศ
ย่อมมีแก่บุคคลที่เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ. ธรรมที่เป็นปัจจัยปรุงแต่งก็ดี ที่ปัจจัย
ไม่ปรุงแต่งก็ดี มีประมาณเท่าใด วิราคะ คือ ธรรมอันย่ำยีความเมา
กำจัดความกระหาย ถอนเสียซึ่งอาลัย เข้าไปตัดวัฏฏะ เป็นที่สิ้นตัณหา
เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับ นิพพาน บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น
ชนเหล่าใดเลื่อมใสในวิราคธรรม ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ก็วิบาก
อันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ. หมู่ก็ดี คณะก็ดี มีประมาณเท่าใด
สงฆ์สาวกของพระตถาคต คือ คู่แห่งบุรุษ 4 บุรุษบุคคล 8 นี้สงฆ์สาวก

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้
ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าหมู่หรือคณะเหล่านั้น ชนเหล่าใดเลื่อมใสในสงฆ์
ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ก็วิบากอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้ที่เลื่อมใส
ในสิ่งที่เลิศ. ศีลมีประมาณเท่าใด ศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว คือ ศีลที่ไม่ขาด
ไม่ทะลุ ไม่ต่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ลูบคลำ เป็นไปเพื่อสมาธิ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าศีลเหล่านั้น ชนเหล่า-
ใดย่อมทำให้บริบูรณ์ในอริยกันตศีล ชนเหล่านั้นชื่อว่าทำให้บริบูรณ์ในสิ่งที่
เลิศ ก็วิบากอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิ่งที่เลิศ.
บุญอันเลิศ คือ อายุ วรรณะ ยศ
เกียรติ สุขและกำลัง ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้
รู้แจ้งธรรมที่เลิศ เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ คือ
เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ผู้เป็นทักขิ-
ไณยบุคคลชั้นเยี่ยม เลื่อมใสในพระธรรม
ที่เลิศ อันปราศจากราคะ เป็นที่เข้าไปสงบ
เป็นสุข เลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เลิศ เป็น
นาบุญชั้นเยี่ยม ให้ทานในสิ่งที่เลิศ
ปราชญ์ผู้ถือมั่นธรรมที่เลิศ ให้สิ่งที่เลิศ
เป็นเทวดาหรือมนุษย์ ย่อมถึงสถานที่เลิศ
บันเทิงใจอยู่.

จบจุนทิสูตรที่ 2

อรรถกถาจุนทิสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในจุนทิสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปญฺจหิ รถสเตหิ ความว่า เจ้าหญิงจุนทีเสวยพระกระยาหาร
เช้าแล้ว เสด็จเข้าเฝ้าพระชนก ให้จัดรถ 500 คัน มีรถเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว.
บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า เจ้าหญิงจุนที ดำริว่า เราจักทูลถามข้อสนทนา
ปัญหาที่เราให้เป็นไปกับพระเชษฐภาดา [เจ้าชายจุนทะ] ดังนี้ ถือของหอม
ดอกไม้และจุณเป็นต้น แล้วจึงเข้าไปเฝ้า. บทว่า อเทว โส โหติ ได้แก่
เมื่อใดผู้นั้น. อีกอย่างหนึ่ง ผู้นั้นใด. บทว่า อริยกนฺตานิ สีลานิ ได้แก่
สีลสัมปยุตด้วยมรรคและผล. ก็ศีลเหล่านั้นเป็นศีลอันน่าใคร่ของพระอริยะ
ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงไม่ละแม้ในภพอื่น. บทที่เหลือพึงทราบแม้โดยนัย
ที่ท่านกล่าวไว้แล้วในอัคคัปปสาทสูตรจตุกนิบาต.
จบอรรถกถาจุนทิสูตรที่ 2

3. อุคคหสูตร


ว่าด้วยหน้าที่ของภรรยาที่ดี


[33] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ชาติยาวัน
ใกล้เมืองภัททิยะ ครั้งนั้นแล ท่านอุคคหเศรษฐีผู้เป็นหลานท่านเมณฑก-
เศรษฐี ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ
ที่อันควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุ 3 รูปจงทรงรับภัตตาหารของข้าพระองค์