เมนู

อรรถกถาขัตติยาธิปปายสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในขัตติยาธิปปายสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โภคาธิปฺปายา ความว่า กษัตริย์ทั้งหลายตั้งพระประสงค์ไว้
คือ มีอัธยาศัยเป็นไปเพื่อรวบรวมโภคะ.
บทว่า ปญฺญูปวิจารา ความว่า กษัตริย์ทั้งหลายมีการพิจารณา
เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ปัญญาอย่างนี้ว่า ขอเราทั้งหลายพึงเป็นผู้มีปัญญา.
การพิจารณานี้แลของกษัตริย์เหล่านั้นย่อมเที่ยวไปในจิต.
บทว่า พลาธิฏฺฐานา ความว่า กษัตริย์ทั้งหลายมีพระวรกายที่มีกำลัง
เป็นที่ตั้ง. เป็นความจริง กษัตริย์เหล่านั้นได้ร่างกายที่มีกำลังแล้ว ชื่อว่า
ได้ที่พึ่ง.
บทว่า ปฐวีอภินิเวสา ความว่า กษัตริย์ทั้งหลายทำการตั้งพระทัยมั่น
เพื่อประโยชน์แก่แผ่นดินอย่างนี้ว่า เราจักเป็นเจ้าของแผ่นดิน.
บทว่า อิสฺสริยปริโยสานา ความว่า กษัตริย์ทั้งหลายมีรัชดาภิเษก
(การอภิเษกเป็นพระราชา) เป็นที่สุด เป็นความจริง กษัตริย์เหล่านั้น ได้รับ
การอภิเษกแล้ว ชื่อว่า ถึงที่สุด. พึงทราบความหมายในบททั้งปวง โดย
นัยนี้.
ส่วนในบทที่เหลือในสูตรนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ มีอันดับแรก พราหมณ์
ทั้งหลายได้มนต์แล้ว ชื่อว่า ได้ที่พึ่ง. คฤหบดีทั้งหลายได้ศิลปะอย่างใด
อย่างหนึ่งแล้ว ชื่อว่าได้ที่พึ่ง. หญิงทั้งหลายได้บุตรซึ่งเป็นเจ้าของมรดกใน
ตระกูล ชื่อว่าได้ที่พึ่ง. โจรทั้งหลายได้ศัสตราวุธ ชนิดใดชนิดหนึ่งแล้ว ชื่อว่า

ได้ที่พึ่ง. สมณะทั้งหลายมีศีลบริบูรณ์ ชื่อว่า ได้ที่พึ่ง. เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบททั้งหลาย มีบทว่า มนฺตาธิฏฺฐานา เป็นต้นไว้.
อนึ่ง จิตของพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมยึดมั่นว่า เราทั้งหลายจักบูชายัญ
ครั้นเมื่อได้เข้าถึงพรหมโลกแล้ว พราหมณ์ทั้งหลาย ชื่อว่า ถึงที่สุด
เพราะเหตุนั้น พราหมณ์เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มียัญเป็นที่
ยึดมั่น มีพรหมโลกเป็นที่สุด. คฤหบดีทั้งหลาย ชื่อว่ามีการงานเป็นที่ยึดมั่น
เพราะเหตุที่มีใจยึดมั่น เพื่อต้องการที่จะทำการงาน เมื่อการงานเสร็จแล้ว
คฤหบดีทั้งหลาย ชื่อว่า ถึงที่สุด เพราะเหตุนั้น คฤหบดีทั้งหลาย จึงชื่อว่า
มีการงานที่เสร็จแล้ว เป็นที่สุด.
บทว่า ปุริสาธิปฺปายา ได้แก่ (หญิงทั้งหลาย) มีอัธยาศัยเป็นไปในบุรุษ
ทั้งหลาย. หญิงชื่อว่า มีใจฝักใฝ่ในเครื่องประดับ เพราะเหตุที่มีใจมุ่งหมายเพื่อ
ต้องการเครื่องประดับ. หญิง ชื่อว่า ไม่มีหญิงร่วนผัวเป็นที่ยึดมั่น เพราะ
เหตุที่มีจิตยึดมั่นอย่างนี้ว่า ขอเราอย่าได้เป็นหญิงร่วมผัว (กับหญิงอื่น) ขออยู่
(เป็นใหญ่) แต่ผู้เดียวเท่านั้นในเรือน. หญิง ชื่อว่า มีความเป็นใหญ่เป็นที่สุด
เพราะเหตุที่ เมื่อได้ความเป็นใหญ่ในการครองเรือน ก็นับว่าถึงที่สุดแล้ว.
โจรทั้งหลาย ชื่อว่า มีความช่วงชิงเป็นที่ประสงค์ เพราะเหตุที่มี
ความประสงค์ในการช่วงชิงเอาทรัพย์สิ่งของของบุคคลอื่น. โจรทั้งหลาย ชื่อว่า
สนใจในป่าชัฏ เพราะเหตุที่มีใจท่องเที่ยวไปในป่าชัฏ คือในที่สำหรับหลบซ่อน.
โจรทั้งหลาย ชื่อว่า มีความมืดเป็นที่ยึดมั่น เพราะเหตุที่ มีใจยึดมั่น เพื่อ
ต้องการความมืด. โจรทั้งหลาย ชื่อว่า มีการมองไม่เห็นเป็นที่สุด เพราะเหตุที่
(เมื่อ) ถึงภาวะที่ไม่มีใครมองเห็น ก็นับว่า ถึงที่สุดแล้ว.

สมณะทั้งหลาย ชื่อว่า มีขันติและโสรัจจะเป็นที่ประสงค์ เพราะเหตุ
ที่มีความประสงค์ในอธิวาสขันติ และในศีลซึ่งมีความสะอาดเป็นภาวะ. สมณะ
ทั้งหลาย ชื่อว่า ไม่มีอะไรเป็นที่ยึดมั่น เพราะเหตุที่ มีใจยึดมั่น ในความ
ไม่มีอะไร คือ ในภาวะที่ไม่มีการยึดถือ. สมณะทั้งหลาย ชื่อว่า มีนิพพาน
เป็นที่สุด เพราะเหตุที่ (เมื่อ) บรรลุนิพพาน ก็นับว่า ถึงที่สุดแล้ว.
จบอรรถกถาขัตติยาธิปปายสูตรที่ 10

11. อัปปมาทสูตร


ว่าด้วยธรรมที่ให้สำเร็จประโยชน์


[324] ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง
ที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึก
ถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือ
ประโยชน์ทั้ง 2 ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ
มีอยู่หรือหนอแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมข้อหนึ่ง
ซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง 2 ไว้ได้ คือ ประโยชน์
ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพมีอยู่.
พราหมณ์. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง 2 ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน
และประโยชน์ในสัมปรายภพ เป็นไฉน.