เมนู

สุตตะ เคยยะ เวยยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม
เวทัลละ ท่านอานนท์ ย่อมแสดงธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดย
พิสดาร ท่านอานนท์ย่อมบอกสอนธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา แก่ผู้อื่น
โดยพิสดาร ท่านอานนท์ย่อมทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาโดย
พิสดาร ท่านอานนท์ย่อมตรึกตรอง เพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้
เรียนมา ท่านอานนท์ย่อมจำพรรษาอยู่ในอาวาสที่มีภิกษุผู้เถระผู้เป็นพหูสูต
ชำนาญคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา อยู่ ท่านอานนท์ย่อมเข้า
ไปหาภิกษุผู้เถระเหล่านั้นโดยกาลอันควร แล้วไต่ถามสอบสวนว่า ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ ภาษิตนี้เป็นอย่างไร เนื้อความของภาษิตนี้เป็นอย่างไร ภิกษุผู้เถระ
เหล่านั้นย่อมเปิดเผยภาษิตที่ยังไม่แจ่มแจ้ง ย่อมทำภาษิตที่ยากให้ง่ายแก่ท่าน
อานนท์ และย่อมบรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งความ
สงสัยมีประการต่าง ๆ.
จบอานันทสูตรที่ 9

อรรถกถาอานันทสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอานันทสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :
บทว่า กิตฺตาวตา ได้แก่ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร ? บทว่า
อสฺสุตญฺเจว ความว่า ธรรมที่ไม่เคยฟังมาในกาลอื่น. บทว่า น สมฺโมสํ
คจฺฉนฺติ
ความว่า (ธรรมทั้งหลาย) ย่อมไม่ถึงความเสื่อมสิ้นไป. บทว่า
เจตสา สมฺผุฏฺฐปุพฺพา ความว่า (ธรรมทั้งหลาย) ที่เคยสัมผัสด้วยจิต.
บทว่า สมุทาจรนฺติ ได้แก่ เที่ยวไปในมโนทวาร. บทว่า อวิญฺญาตญฺจ

วิชานาติ ความว่า รู้จักเหตุที่ยังไม่รู้มาในกาลอื่น. บทว่า ปริยาปุณาติ< /B>
ได้แก่ ใช้สอย คือ กล่าว. บทว่า เทเสติ คือ ประกาศ. บทว่า ปรํ
วาเจติ คือ สอนบุคคลอื่นให้เรียบ. บทว่า อาคตาคมา ความว่า พระ
เถระทั้งหลายชื่อว่า ผู้มีอาคมอันตนบรรลุแล้ว เพราะหมายความว่า ผู้บรรลุ
อาคมอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาอาคม (นิกาย) ทั้งหลายมีคัมภีร์ทีฆนิกายเป็นต้น.
บทว่า ธมฺมธรา ได้แก่ พระเถระทั้งหลายผู้ทรงพระสุตตันตปิฎก. บทว่า
วินยธรา ได้แก่ พระเถระทั้งหลายผู้ทรงวินัยปิฏก. บทว่า มาติกาธรา
ได้แก่พระเถระทั้งหลายผู้ทรงจำปาฏิโมกข์ทั้งสอง. บทว่า ปริปุจฺฉติ ได้แก่
ถามถึงเบื้องต้นและเบื้องปลายของอนุสนธิ. บทว่า ปริปญฺหติ ได้แก่ ใคร่
ครวญ คือ กำหนดว่า เราจักถามสิ่งนี้และสิ่งนี้.
บทว่า อิทํ ภนฺเต กถํ ความว่า ภิกษุย่อมถามว่า เบื้องต้นและ
เบื้องปลายของอนุสนธินี้เป็นอย่างไร ? บทว่า อิมสฺส กวตฺโถ ความว่า
ภิกษุย่อมถามว่า ภาษิตนี้มีความหมายเป็นอย่างไร บทว่า อวิวฏํ ได้แก่
ธรรมที่ยังไม่เปิดเผย. บทว่า วิวรนฺติ ได้แก่ ทำให้เปิดเผย. บทว่า
กงฺขาฏฺฐานีเยสุ ได้แก่ ในธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นเหตุแห่งความสงสัย. ในบท
ว่า กงฺขาฏฺฐานีเยสุ นั้นพึงทราบความว่า ความสงสัยเกิดขึ้นในธรรมใด
ธรรมนั้นแหละชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย.
จบอรรถกถาอานันทสูตรที่ 9

10. ขัตติยาธิปปายสูตร


ว่าด้วยความประสงค์ของคน 6 จำพวก


[323] ครั้งนั้น ชาณุสโสณิพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้
ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มี-
พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ กษัตริย์ทั้งหลาย ย่อมมีความประสงค์
อะไร นิยมอะไร มั่นใจอะไร ต้องการอะไร มีอะไรเป็นที่สุด พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมดากษัตริย์ทั้งหลาย ย่อมประสงค์โภคทรัพย์
นิยมปัญญา มั่นใจในกำลังทหาร ต้องการในการได้แผ่นดิน มีความเป็นใหญ่
เป็นที่สุด.
ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็พราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมมีความ
ประสงค์อะไร นิยมอะไร มั่นใจอะไร ต้องการอะไร มีอะไรเป็นที่สุด.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ บรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมประสงค์โภค-
ทรัพย์ นิยมปัญญา มั่นใจในมนต์ ต้องการการบูชายัญ มีพรหมโลกเป็นที่สุด.
ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็คฤหบดีทั้งหลาย ย่อมมีความประสงค์
อะไร นิยมอะไร มั่นใจในอะไร ต้องการอะไร มีอะไรเป็นที่สุด.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมดาคฤหบดีทั้งหลาย ย่อมประสงค์โภค-
ทรัพย์ นิยมปัญญา มั่นใจในศิลปะ ต้องการการงาน มีการงานที่สำเร็จแล้ว
เป็นที่สุด.
ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็สตรีทั้งหลาย ย่อมประสงค์อะไร
นิยมอะไร มั่นใจในอะไร ต้องการอะไร มีอะไรเป็นที่สุด.