เมนู

สุตตะ เคยยะ เวยยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม
เวทัลละ ท่านอานนท์ ย่อมแสดงธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดย
พิสดาร ท่านอานนท์ย่อมบอกสอนธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา แก่ผู้อื่น
โดยพิสดาร ท่านอานนท์ย่อมทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาโดย
พิสดาร ท่านอานนท์ย่อมตรึกตรอง เพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้
เรียนมา ท่านอานนท์ย่อมจำพรรษาอยู่ในอาวาสที่มีภิกษุผู้เถระผู้เป็นพหูสูต
ชำนาญคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา อยู่ ท่านอานนท์ย่อมเข้า
ไปหาภิกษุผู้เถระเหล่านั้นโดยกาลอันควร แล้วไต่ถามสอบสวนว่า ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ ภาษิตนี้เป็นอย่างไร เนื้อความของภาษิตนี้เป็นอย่างไร ภิกษุผู้เถระ
เหล่านั้นย่อมเปิดเผยภาษิตที่ยังไม่แจ่มแจ้ง ย่อมทำภาษิตที่ยากให้ง่ายแก่ท่าน
อานนท์ และย่อมบรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งความ
สงสัยมีประการต่าง ๆ.
จบอานันทสูตรที่ 9

อรรถกถาอานันทสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอานันทสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :
บทว่า กิตฺตาวตา ได้แก่ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร ? บทว่า
อสฺสุตญฺเจว ความว่า ธรรมที่ไม่เคยฟังมาในกาลอื่น. บทว่า น สมฺโมสํ
คจฺฉนฺติ
ความว่า (ธรรมทั้งหลาย) ย่อมไม่ถึงความเสื่อมสิ้นไป. บทว่า
เจตสา สมฺผุฏฺฐปุพฺพา ความว่า (ธรรมทั้งหลาย) ที่เคยสัมผัสด้วยจิต.
บทว่า สมุทาจรนฺติ ได้แก่ เที่ยวไปในมโนทวาร. บทว่า อวิญฺญาตญฺจ