เมนู

8. อินทรียสังวรสูตร


ว่าด้วยการสำรวมอินทรีย์


[321] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออินทรียสังวรไม่มี ศีลของภิกษุผู้มี
อินทรีย์สังวรวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อศีลไม่มี สัมมาสมาธิของภิกษุ
ผู้มีศีลวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะ
ของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี
นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อ
นิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติ ย่อมมี
อุปนิสัยถูกขจัด เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติ แม้สะเก็ดของต้นไม้นั้น
ก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือกก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้กระพี้ก็ไม่ถึงความ
บริบูรณ์ แม้แก่นก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่ ศีลของภิกษุผู้มีอินทรีย-
สังวรสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์ เมื่อศีลมีอยู่ สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีล
สมบูรณ์ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะของ
ภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะ
มีอยู่ นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญานทัสสนะสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัย
สมบูรณ์ เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะของภิกษุ ผู้มีนิพพิทา
วิราคะสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบ
สมบูรณ์ แม้สะเก็ดของต้นไม้นั้นก็ถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือกก็ถึงความ
บริบูรณ์ แม้กระพี้ก็ถึงความบริบูรณ์ แม้แก่นก็ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น.
จบอินทรียสังวรสูตรที่ 8

อรรถกถาอินทรียสังวรสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอินทรียสังวรสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า หตูปนิสํ โหติ ความว่า ศีลที่มีอาศัย (อุปนิสัย) ถูกขจัด
เสียแล้ว. บทว่า สีลวิปนฺนสฺส ได้แก่ ผู้มีศีลวิบัติ. บทว่า ยถาภูตํ
ญาณทสฺสนํ
ได้แก่ วิปัสสนาญาณอย่างอ่อน. ในบทว่า นิพฺพิทา วิราโค
นี้มีอธิบาย ดังต่อไปนี้.
วิปัสสนาที่มีกำลัง ชื่อ นิพพิทา อริยมรรค ชื่อ วิราคะ. ในบทว่า
วิมุตฺติญาณทสฺสนํ นี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ อรหัตผล ชื่อ วิมุตติ ปัจจเวก-
ขณญาณชื่อ ญาณทัสสนะ.
บทว่า อุปนิสฺสยสมฺปนฺนํ โหติ ความว่า ศีลมีที่อาศัยถึงพร้อมแล้ว.
ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงอินทรียสังวร อันเป็นเครื่องช่วยรักษา
ศีลไว้.
จบอรรถกถาอินทรียสังวรสูตรที่ 8

9. อานันทสูตร


ว่าด้วยคุณธรรม 6 ของพระอานนท์


[322] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตร
ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึง
กันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า
ดูก่อนท่านสารีบุตร ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุจึงได้ฟังธรรมที่ยังไม่
เคยฟัง ธรรมทั้งหลายที่เธอได้ฟังแล้วย่อมไม่ถึงความหลงลืม ธรรมทั้งหลาย