เมนู

แล้วหลีกไป ครั้นเมื่อท่านเขมะและท่านพระสุมนะหลีกไปแล้วไม่นาน พระผู้มี-
พระภาคเจ้าได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรทั้งหลาย
ย่อมพยากรณ์อรหัตผลอย่างนี้แล กล่าวแต่เนื้อความ และไม่น้อมตนเข้าไป
ส่วนว่าโมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ เหมือนจะร่าเริงพยากรณ์อรหัตผล
เขาเหล่านั้นย่อมถึงความทุกข์ในภายหลัง.
พระขีณาสพทั้งหลาย ไม่น้อมตน
เข้าไปเปรียบบุคคลที่ดีกว่า ไม่น้อมตน
เข้าไปเปรียบบุคคลที่เลวกว่า ไม่น้อมตน
เข้าไปเปรียบบุคคลที่เสมอกัน มีชาติสิ้น
แล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ประพฤติ
เป็นผู้หลุดพ้นจากสังโยชน์.

จบเขมสุมนสูตรที่ 7

อรรถกถาเขมสุมนสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในเขมสุมนสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วุสิตวา ได้แก่ ผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว. บทว่า กตกรณีโย
ได้แก่ ผู้ทำกิจที่ควรทำด้วยมรรค 4 แล้วอยู่. บทว่า โอหิตภาโร ได้แก่
ผู้ปลงขันธภาระ กิเลสภาระ และอภิสังขารภาระลงแล้วอยู่.
บทว่า อนุปฺปตฺตสทตฺโถ ความว่า พระอรหัตเรียกว่า ประโยชน์
ของตน ผู้บรรลุประโยชน์ของตนนั้น. บทว่า ปริกฺขีณภวสํโยชโน ความว่า
ผู้มีกิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพสิ้นแล้ว. บทว่า สมฺมทญฺญา วิมุตฺโต
ความว่า หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ คือ โดยเหตุ โดยการณะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธมานะ 3 มีมานะว่า เราดีกว่าเป็นต้น
(อันเป็นของมีอยู่) ของปุถุชนผู้ดีกว่า (บุคคลอื่น) แม้ด้วยบทว่า ตสฺส น
เอวํ โหติ อตฺถิ เม เสยฺโยติ วา
เป็นต้น.
เพราะว่า พระขีณาสพไม่มีมานะว่า คนที่ดีกว่าเรายังมีอยู่ คนที่เสมอ
กับเรายังมีอยู่ คนที่เลวกว่าเรายังมีอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธมานะ
3 เหล่านั้นนั่นแล แม้ด้วยบทว่า นตฺถิ เม เสยฺโย เป็นต้น. เพราะว่า
พระขีณาสพไม่มีมานะอย่างนี้ว่า เรานี่แหละดีกว่าเขา เราเสมอกับเขา เรา
เลวกว่าเขา ไม่มีบุคคลอื่นที่ดีกว่าเป็นต้น.
บทว่า อจิรปกฺกนฺเตสุ ความว่า เมื่อพระเขมะกับพระสุมนะพยากรณ์
อรหัตผล แล้วหลีกไปได้ไม่นาน. บทว่า อญฺญํ พฺยากโรนฺติ ได้แก่
กล่าวถึงอรหัตผล. บทว่า หสมานกา มญฺเญ อญฺญํ พฺยากโรนฺติ ความว่า
พูดเหมือนหัวเราะ. บทว่า วิฆาตํ อาปชฺชนฺติ ได้แก่ ประสบทุกข์.
ในบทว่า น อุสฺเสสุ นโอเมสุ สมตฺเต โนปนียฺยเร นี้ มีอธิบายว่า
บทว่า อุสฺสา ได้แก่ บุคคลผู้ที่เขายกย่อง คือ บุคคลผู้ประเสริฐกว่าเขา.
บทว่า โอมา ได้แก่ บุคคลผู้เลวกว่าเขา. บทว่า สมตฺโต ได้แก่
บุคคลผู้เสมอกันกับเขา. บรรดาบุคคลผู้ประเสริฐกว่าเขา เลวกว่าเขา และ
เสมอกับเขาทั้ง 3 จำพวกนี้ พระขีณาสพ อันมานะย่อมนำเข้าไปไม่ได้ คือ
ไม่เข้าใกล้ อธิบายว่า ไม่เข้าถึงมานะ.
บทว่า ขีณา สญฺชาติ ได้แก่ ชาติของพระขีณาสพเหล่านั้นสิ้นแล้ว.
บทว่า วุสิตํ พฺรหฺมจริยํ ได้แก่ มรรคพรหมจรรย์ อันพระขีณาสพอยู่จบ
แล้ว. บทว่า จรนฺติ สญฺโญชนวิปฺปมุตฺตา ความว่า พระขีณาสพทั้งหลาย
เป็นผู้หลุดพ้นจากสังโยชน์ทั้งปวงเที่ยวไป. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถึงพระ-
ขีณาสพทั้งในพระสูตร ทั้งในคาถา.
จบอรรถกถาเขมสุมนสูตรที่ 7

8. อินทรียสังวรสูตร


ว่าด้วยการสำรวมอินทรีย์


[321] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออินทรียสังวรไม่มี ศีลของภิกษุผู้มี
อินทรีย์สังวรวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อศีลไม่มี สัมมาสมาธิของภิกษุ
ผู้มีศีลวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะ
ของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี
นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อ
นิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติ ย่อมมี
อุปนิสัยถูกขจัด เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติ แม้สะเก็ดของต้นไม้นั้น
ก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือกก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้กระพี้ก็ไม่ถึงความ
บริบูรณ์ แม้แก่นก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่ ศีลของภิกษุผู้มีอินทรีย-
สังวรสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์ เมื่อศีลมีอยู่ สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีล
สมบูรณ์ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะของ
ภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะ
มีอยู่ นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญานทัสสนะสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัย
สมบูรณ์ เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะของภิกษุ ผู้มีนิพพิทา
วิราคะสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบ
สมบูรณ์ แม้สะเก็ดของต้นไม้นั้นก็ถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือกก็ถึงความ
บริบูรณ์ แม้กระพี้ก็ถึงความบริบูรณ์ แม้แก่นก็ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น.
จบอินทรียสังวรสูตรที่ 8