เมนู

อรรถกถามหาจุนทสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในมหาจุนทสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เจตีสุ ได้แก่ ในเจติรัฐ. บทว่า สญฺชาติยํ ได้แก่
ในนิคมที่มีชื่ออย่างนี้. บทว่า มหาจุนฺโท ได้แก่ พระน้องชายคนเล็กของ
พระธรรมเสนาบดี.
ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า ธัมมโยคะ เพราะมีการประกอบ คือ การทำ
เนือง ๆ ในธรรม. คำว่า ธมฺมโยคา นั่นเป็นชื่อของพระธรรมกถึกทั้งหลาย.
ภิกษุชื่อว่า ฌายี เพราะเพ่ง.
บทว่า อปสาเทนฺติ ได้แก่ กระทบกระทั่ง คือ รุกราน. บทว่า
ฌายนฺติ ได้แก่ คิด. บทว่า ปชฺฌายนฺติ เป็นต้น ขยาย (รูป) ออกไป
ด้วยอำนาจอุปสรรค. บทว่า กิญฺหิเม ฌายนฺติ ความว่า ภิกษุธรรมกถึก
เหล่านี้เพ่งอยู่อย่างไร.
บทว่า กินฺติเม ฌายนฺติ ความว่า ภิกษุธรรมกถึกเหล่านี้ เข้าฌาน
เพื่ออะไร ? บทว่า กถญฺหิเม ฌายนฺติ ความว่า ภิกษุธรรมกถึกเหล่านี้
เข้าฌาน เพราะเหตุไร ?
บทว่า อมตํ ธาตุํ กาเยน ผุสิตฺวา วิหรนฺติ เป็นต้น มีความว่า
ภิกษุทั้งหลายกำหนดกรรมฐานมุ่งถึงนิพพานธาตุที่เว้นจากมรณะอยู่ คือ ถูกต้อง
นิพพานธาตุนั้นด้วยนามกายตามลำดับอยู่.
บทว่า คมฺภีรอตฺถปทํ ได้แก่ ความหมายของขันธ์ ธาตุ อายตนะ
เป็นต้น ที่ลี้ลับ คือ ถูก (อวิชชา) ปกปิดไว้. บทว่า ปญฺญาย อติวิชฺฌ
ปสฺสนฺติ
ความว่า เห็นโดยแทงตลอดด้วยมรรคปัญญาพร้อมทั้งวิปัสสนาปัญญา.
แต่ในที่นี้ ย่อมควรทั้งปัญญาเครื่องแทงตลอดด้วยการพิจารณา ทั้ง
ปัญญาในการเรียนและการสอบถาม.
จบอรรถกถามหาจุนทสูตรที่ 4

5. ปฐมสันทิฏฐิกสูตร


ว่าด้วยการเห็นธรรมด้วยตนเอง


[31] ครั้งนั้นแล โมฬิยสิวกปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้
ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ธรรมอันผู้บรรลุ
จะพึงเห็นเอง ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ดังนี้ ธรรมอันผู้บรรลุจะพึง
เห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชน
พึงรู้เฉพาะตน ย่อมมีด้วยเหตุเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน
สิวกะ ถ้าเช่นนั้นเราจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ท่านพึงพยากรณ์ข้อนั้นตามที่ควร
แก่ท่าน ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? คือ ท่านย่อมทราบชัดโลภะที่มี
อยู่ในภายในว่า โลภะมีอยู่ในภายในของเรา หรือทราบชัดโลภะที่ไม่มีอยู่ใน
ภายในว่า โลภะไม่อยู่ในภายใน.
สิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนสิวกะ การที่ท่านทราบชัดโลภะที่มีอยู่ในภายในว่า โลภะ
มีอยู่ในภายในของเรา หรือทราบชัดโลภะที่ไม่มีอยู่ในภายในว่า โลภะไม่มีอยู่
ในภายในของเรา อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ฯลฯ ดูก่อน
สิวกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? คือ ท่านทราบชัดโทสะที่มีอยู่ใน
ภายใน ฯลฯ โมหะที่มีอยู่ในภายใน ฯลฯ ธรรมที่ประกอบด้วยโลภะที่มีอยู่
ในภายใน ฯลฯ ธรรมที่ประกอบด้วยโทสะที่มีอยู่ในภายใน ฯลฯ ธรรมที่
ประกอบด้วยโมหะที่มีอยู่ในภายในว่า ธรรมที่ประกอบด้วยโมหะมีอยู่ในภายใน