เมนู

อรรถกถามหาจุนทสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในมหาจุนทสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เจตีสุ ได้แก่ ในเจติรัฐ. บทว่า สญฺชาติยํ ได้แก่
ในนิคมที่มีชื่ออย่างนี้. บทว่า มหาจุนฺโท ได้แก่ พระน้องชายคนเล็กของ
พระธรรมเสนาบดี.
ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า ธัมมโยคะ เพราะมีการประกอบ คือ การทำ
เนือง ๆ ในธรรม. คำว่า ธมฺมโยคา นั่นเป็นชื่อของพระธรรมกถึกทั้งหลาย.
ภิกษุชื่อว่า ฌายี เพราะเพ่ง.
บทว่า อปสาเทนฺติ ได้แก่ กระทบกระทั่ง คือ รุกราน. บทว่า
ฌายนฺติ ได้แก่ คิด. บทว่า ปชฺฌายนฺติ เป็นต้น ขยาย (รูป) ออกไป
ด้วยอำนาจอุปสรรค. บทว่า กิญฺหิเม ฌายนฺติ ความว่า ภิกษุธรรมกถึก
เหล่านี้เพ่งอยู่อย่างไร.
บทว่า กินฺติเม ฌายนฺติ ความว่า ภิกษุธรรมกถึกเหล่านี้ เข้าฌาน
เพื่ออะไร ? บทว่า กถญฺหิเม ฌายนฺติ ความว่า ภิกษุธรรมกถึกเหล่านี้
เข้าฌาน เพราะเหตุไร ?
บทว่า อมตํ ธาตุํ กาเยน ผุสิตฺวา วิหรนฺติ เป็นต้น มีความว่า
ภิกษุทั้งหลายกำหนดกรรมฐานมุ่งถึงนิพพานธาตุที่เว้นจากมรณะอยู่ คือ ถูกต้อง
นิพพานธาตุนั้นด้วยนามกายตามลำดับอยู่.
บทว่า คมฺภีรอตฺถปทํ ได้แก่ ความหมายของขันธ์ ธาตุ อายตนะ
เป็นต้น ที่ลี้ลับ คือ ถูก (อวิชชา) ปกปิดไว้. บทว่า ปญฺญาย อติวิชฺฌ
ปสฺสนฺติ
ความว่า เห็นโดยแทงตลอดด้วยมรรคปัญญาพร้อมทั้งวิปัสสนาปัญญา.
แต่ในที่นี้ ย่อมควรทั้งปัญญาเครื่องแทงตลอดด้วยการพิจารณา ทั้ง
ปัญญาในการเรียนและการสอบถาม.
จบอรรถกถามหาจุนทสูตรที่ 4