เมนู

อรรถกถาอิณสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอิณสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ทาลิทฺทิยํ ได้แก่ ความเป็นผู้ยากจน. บทว่า กามโภคิโน
ได้แก่ สัตว์ผู้บริโภคกาม. บทว่า อสฺสโก ได้แก่ ปราศจากทรัพย์ที่เป็น
ของของตน. บทว่า อนทฺธิโก ได้แก่ ไม่มั่งคั่ง. บทว่า อิณํ อาทิยติ
ได้แก่ เมื่อไม่สามารถจะเป็นอยู่ได้ก็กู้หนี้ยืมสิน.
บทว่า วฑฺฒึ ปฏิสฺสุณาติ ได้แก่ เมื่อไม่สามารถจะใช้คืนให้
ก็ให้สัญญาว่า จักให้ดอกเบี้ย. บทว่า อนุจรนฺติปิ นํ ความว่า (เจ้าหนี้
ทั้งหลาย) ไล่ตามหลังลูกหนี้ไป ทำให้เขาได้รับประการอันแปลกประหลาด
ด้วยการกระทำมีการจับตากแดด และโปรยฝุ่นลงเป็นต้น ในท่ามกลางบริษัท
และท่ามกลางคณะเป็นต้น.
บทว่า สทฺธา นตฺถิ ได้แก่ ไม่มีแม้แต่ศรัทธาคือการปลงใจเชื่อ.
บทว่า หิริ นตฺถิ ได้แก่ ไม่มีแม้แต่อาการที่จะละอายใจ. บทว่า โอตฺตปฺปํ
นตฺถิ
ได้แก่ ไม่มีแม้แต่อาการหวาดกลัว.
บทว่า วิริยํ นตฺถิ ได้แก่ ไม่มีแม้แต่ความเพียรที่เป็นไปทาง
กาย. บทว่า ปญฺญา นตฺถิ ได้แก่ ไม่มีแม้แต่กัมมัสสกตาปัญญา.
บทว่า อิณาทานสฺมึ วทามิ ได้แก่ เรากล่าวถึงการกู้หนี้ยืมสิน. บทว่า
มา มํ ชญฺญู ได้แก่ ขอเจ้าหนี้ทั้งหลายอย่าพบตัวเรา.
บทว่า ทาลิทฺทิยํ ทุกขํ ได้แก่ ความเป็นผู้จนทรัพย์เป็นเหตุให้เกิด
ทุกข์. บทว่า กามลาภาภิชฺปินํ ได้แก่ ผู้ปรารภนาการได้กาม. บทว่า

ปาปกมฺมํ วินิพฺพโย ได้แก่ ผู้ก่อบาปกรรม. บทว่า สํสปฺปติ ได้แก่
ดิ้นรน. บทว่า ชานํ ได้แก่ รู้อยู่.
บทว่า ยสฺส วิปฺปฏิสารชา ความว่า ความดำริเหล่าใดของบุคคล
ผู้ยากจนนั้นเกิดมาจากความเดือดร้อน. บทว่า โยนิมญฺญตรํ ได้แก่ กำเนิด
สัตว์ดิรัจฉานกำเนิดหนึ่ง. บทว่า ททํ จิตฺตํ ปสาทยํ ความว่า ทำจิตให้
เลื่อมใสให้.
บทว่า กฏคฺคาโห ได้แก่ การได้ชัยชนะ คือการได้ที่ไม่ผิดพลาด
มีอยู่. บทว่า ฆรเมสิโน ได้แก่ ผู้แสวงหา หรือ อยู่ครองเรือน. บทว่า
จาโค ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ ความว่า บุญที่เป็นไปในสงฆ์คือ จาคะย่อมเจริญ.
อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า จาคํ ปุญฺญํ ดังนี้ก็มี.
บทว่า ปติฏฐิตา ความว่า ศรัทธาของพระโสดาบัน ชื่อว่า
ศรัทธาที่ตั้งมั่น. บทว่า หิริมโน ได้แก่ จิตสัมปยุตด้วยหิริ. บทว่า
นิรามิสํ สุขํ ได้แก่ สุขที่อาศัยฌาน 3 เกิดขึ้น.
บทว่า อุเปกฺขํ ได้แก่ อุเบกขาในจตุตถฌาน. บทว่า อารทฺธวิริโย
ได้แก่ มีความเพียรประคับประคองไว้เต็มที่. บทว่า ฌานานิ อุปสมฺปชฺช
ได้แก่ บรรลุฌาน 4. บทว่า เอโกทิ นิปโก สโต ได้แก่ มีจิตเป็น
เอกัคคตา และประกอบด้วยกัมมัสสกตาญาณและสติ.
บทว่า เอตํ ญตฺวา ยถาภูตํ ความว่า รู้จักเหตุนี้ คือเท่านี้ตาม
สภาพที่เป็นจริง. บทว่า สพฺพสํโยชนกฺขเย ได้แก่ ในนิพพาน. บทว่า
สพฺพโส ได้แก่ โดยอาการทั้งปวง. บทว่า อนุปาทาย ได้แก่ ไม่ยึดถือ.
ในบทว่า สมฺมา จิตฺตํ วิมุจฺจติ มีคำอธิบายดังนี้ว่า เพราะไม่
ยึดถือโดยประการทั้งปวงในนิพพาน กล่าวคือธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์
ทั้งปวง. มรรคจิตจึงหลุดพ้นโดยชอบ คือ โดยเหตุ โดยนัย. พระสังคีติกา-

จารย์เขียนบาลีเป็น เอวํ ญตฺวา ยถาภูตํ สพฺพสํโยชนกฺขยํ ดังนี้ก็มี.
บาลีนั้นมีความหมายว่า รู้นิพพาน กล่าวคือธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์
ทั้งหมดนั่นตามเป็นจริง. แต่ว่าความหมายบาลีบทหน้ากับบทหลังไม่เชื่อมต่อ
กันเลย.
บทว่า ตสฺส สมฺมาวิมุตฺตสฺส ความว่า พระขีณาสพนั้น คือ
ผู้หลุดพ้นโดยชอบ. บทว่า ญาณํ เจ โหติ ได้แก่ มีปัจจเวกขณญาณ.
บทว่า ตาทิโน ได้แก่ ผู้ดำรงมั่นอยู่ในนิพพานนั้น. บทว่า อกุปฺปา
ความว่า (วิมุตติ) ชื่อว่า ไม่กำเริบ เพราะมีธรรมไม่กำเริบเป็นอารมณ์ และ
เพราะไม่มีกิเลสเครื่องทำให้กำเริบ.
บทว่า วิมุตฺติ หมายถึง ทั้ง มรรควิมุตติ ทั้ง ผลวิมุตติ. บทว่า
ภวสํโยชนกฺขเย ความว่า เพราะเกิดขึ้นในนิพพานกล่าวคือธรรมเป็นที่สิ้น
ไปแห่งกิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพ และเพราะเกิดขึ้นในที่สุดที่กิเลสเครื่อง
ผูกสัตว์ไว้ในภพสิ้นไป. บทว่า เอตํ โข ปรมํ ญาณํ ความว่า มรรค-
ญาณและผลญาณนั่น ชื่อว่า บรมญาณ (ญาณอันยอดเยี่ยม).
บทว่า สุขมนุตฺตรํ ความว่า สุขเกิดแต่มรรคและผลนั้นแลชื่อว่า
อนุตรสุข (สุขอันยอดเยี่ยม). บทว่า อานณฺยมุตฺตมํ ความว่า บรรดา
คนที่ไม่มีหนี้ทั้งหมด พระขีณาสพผู้ไม่มีหนี้เป็นผู้สูงสุด. เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงรวมยอดใจความสำคัญของเทศนา ด้วยอรหัตผลว่า
อรหัตผล เป็นญาณไม่มีหนี้อันสูงสุด.
และในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวัฏฏะไว้ก่อน แล้วจึงได้ตรัส
ทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะไว้ในคาถาทั้งหลายแล.
จบอรรถกถาอิณสูตรที่ 3

4. มหาจุนสูตร


ว่าด้วยข้อควรศึกษาของผู้เจริญฌานและประกอบธรรม


[317] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาจุนทะอยู่ที่นิคมชื่อสัญชาติในแคว้น
เจดี ครั้งนั้น ท่านพระมหาจุนทะเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหาจุนทะแล้ว ท่านพระมหาจุนทะได้
กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบธรรมในธรรมวินัยนี้
ย่อมรุกรานภิกษุผู้เพ่งฌานว่า ภิกษุผู้เพ่งฌานเหล่านี้ ย่อมเพ่งฌาน ยึดหน่วง
ฌานว่า เราเพ่งฌาน ๆ ดังนี้ ภิกษุเหล่านี้ เพ่งฌานทำไม เพ่งฌานเพื่ออะไร
เพ่งฌานเพราะเหตุไร ภิกษุผู้ประกอบธรรมย่อมไม่เลื่อมใสในการเพ่งฌานนั้น
และภิกษุผู้เพ่งฌานย่อมไม่เลื่อมใสในการประกอบธรรมนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อประโยชน์
เพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุผู้เพ่งฌานในธรรมวินัยนี้ ย่อม
รุกรานพวกภิกษุผู้ประกอบธรรมว่า ก็ภิกษุผู้ประกอบธรรมเหล่านี้ ย่อมเป็น
ผู้ฟุ้งเฟ้อ เย่อหยิ่ง วางท่า ปากจัด พูดพล่าม มีสติหลงใหล ไม่มีสัมปชัญญะ
มิใจไม่ตั้งมั่น มิจิตฟุ้งซ่าน มีอินทรีย์ปรากฏว่า เราประกอบธรรม ๆ ดังนี้
ก็ภิกษุเหล่านี้ประกอบธรรมทำไม ประกอบธรรมเพื่ออะไร ประกอบธรรม
เพราะเหตุไร ภิกษุผู้เพ่งฌานย่อมไม่เลื่อมใสในการประกอบธรรมนั้น และ
ภิกษุผู้ประกอบธรรมย่อมไม่เลื่อมใสในการเพ่งฌานนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประ-
โยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก. . .