เมนู

บทว่า คตึ ได้แก่ ญาณคติ. บทว่า เอกงฺคหีนา ความว่า (บุคคล
ทั้ง 2 จำพวก คือ ปุราณะกับอิสิทัตตะ) ต่ำกว่ากันโดยองค์คุณคนละอย่าง.
(คือ) ปุราณะวิเศษโดยศีล (สูงกว่าโดยศีล) อิสิทัตตะวิเศษโดยปัญญา (สูงกว่า
โดยปัญญา) ศีลของปุราณะตั้งอยู่ในฐานะเสมอกับปัญญาของอิสิทัตตะ ปัญญา
ของอิสิทัตตะตั้งอยู่ในฐานะเสมอกับศีลของปุราณะแล.
จบอรรถกถามิคสาลาสูตรที่ 2

3. อิณสูตร


ว่าด้วยความจนทางโลกกับทางธรรม


[316] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็น
คนจน เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า
อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ ย่อมกู้ยืม แม้การกู้ยืม
ก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก.
ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ กู้ยืมแล้วย่อมรับใช้
ดอกเบี้ย แม้การรับใช้ดอกเบี้ยก็เป็นทุกข์ของผู้บริโภคกามในโลก.
ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ รับใช้ดอกเบี้ยแล้ว
ไม่ใช้ดอกเบี้ยตามกำหนดเวลา เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมทวงเขา แม้การทวงก็เป็น
ทุกข์ของบุคลผู้บริโภคกามในโลก.

ภิ อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ ถูกเจ้าหนี้ทวงไม่ให้
เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมติดตามเขา แม้การติดตามก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภค
กามในโลก.
ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ ถูกเจ้าหนี้ติดตามทัน
ไม่ให้ทรัพย์ เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมจองจำเขา แม้การจองจำก็เป็นทุกข์ของบุคคล
ผู้บริโภคกามในโลก.
ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ความเป็นคนจนก็เป็นทุกข์ของบุคคล
ผู้บริโภคกามในโลก แม้การกู้ยืมก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก
แม้การรับใช้ดอกเบี้ยก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก แม้การทวงก็
เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก แม้การติดตามก็เป็นทุกข์ของบุคคล
ผู้บริโภคกามในโลก แม้การจองจำก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก
ด้วยประการฉะนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ไม่มีหิริ
ในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ไม่มีวิริยะในกุศลธรรม ไม่มี
ปัญญาในกุศลธรรม บุคคลนี้เรียกว่า เป็นคนเข็ญใจยากไร้ในวินัยของพระ-
อริยเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้นั้นแล
เมื่อไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ไม่มีหิริในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม
ไม่มีวิริยะในกุศลธรรม ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย
วาจา ใจ เรากล่าวการประพฤติทุจริตของเขาว่า เป็นการกู้ยืม เขาย่อมตั้ง

วามปรารถนาลามก เพราะเหตุแห่งการปกปิดกายทุจริตนั้น ย่อมปรารถนาว่า
ชนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา ย่อมดำริ ย่อมกล่าววาจา ย่อมพยาบาทด้วยกายว่า
ชนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา เขาย่อมตั้งความปรารถนาลามก เพราะเหตุแห่งการ
ปกปิดวจีทุจริตนั้น ฯลฯ เขาย่อมตั้งความปรารถนาลามก เพราะเหตุแห่งการ
ปกปิดมโนทุจริตนั้น ย่อมปรารถนาว่า ชนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา. . . ย่อม
พยายามด้วยกายว่า ชนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา เรากล่าวเหตุการปกปิดทุจริต
ของเขานั้นว่า เป็นการรับใช้ดอกเบี้ย เพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีศีลเป็นที่รักได้กล่าว
กะเขาอย่างนี้ว่า ก็ท่านผู้มีอายุรูปนี้ เป็นผู้กระทำอย่างนี้ เป็นผู้ประพฤติอย่างนี้
เรากล่าวการถูกว่ากล่าวของเขาว่า เป็นการทวงดอกเบี้ย อกุศลวิตกที่เป็นบาป
ประกอบด้วยความเดือดร้อน ย่อมครอบงำเขา ผู้อยู่ป่า ผู้อยู่โคนไม้ หรือผู้
อยู่ในเรือนว่าง เรากล่าวการถูกอกุศลวิตกครอบงำนี้ของเขาว่า เจ้าหนี้
ติดตามเขา คนจนเข็ญใจยากไร้นั้นแล ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ
เมื่อตายไปแล้ว ย่อมถูกจองจำ ในเรือนจำ คือ นรก หรือในเรือนจำ คือ
กำเนิดดิรัจฉาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่พิจารณาเห็นเรือนจำอื่นเพียง
แห่งเดียว ซึ่งร้ายกาจ เป็นทุกข์ กระทำอันตรายแก่การบรรลุนิพพานซึ่งเป็น
ธรรมเกษมจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ อย่างนี้ เหมือนเรือนจำ คือ
นรก หรือเรือนจำ คือ กำเนิดดิรัจฉานเลย.
ความเป็นคนจน และการกู้ยืม
เรียกว่าเป็นทุกข์ในโลก คนจนกู้ยืมเลี้ยง
ชีวิตย่อมเดือดร้อน เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อม
ติดตามเขา เพราะไม่ใช่หนี้นั้น เขาย่อม
เข้าถึงแม้การจองจำ ก็การจองจำนั้น เป็น
ทุกข์ของชนทั้งหลายผู้ปรารถนาการได้ถาม

ในวินัยของพระอริยเจ้า ผู้ใดไม่มีศรัทธา
ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ พอกพูนบาปกรรม
กระทำกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
ย่อมปรารถนา ย่อมดำริว่า คนเหล่าอื่น
อย่ารู้จักเรา พอกพูนบาปกรรมในที่นั้น ๆ
อยู่ บ่อย ๆ ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
เราตถาคตย่อมกล่าวว่า เป็นทุกข์เหมือน
อย่างนั้น เขาผู้บาปกรรม มีปัญญาทราม
ทราบความชั่วของตนอยู่ เป็นคนจน มี
หนี้สิน เลี้ยงชีวิตอยู่ย่อมเดือดร้อน ลำดับ
นั้น ความดำริที่มีในใจ เป็นทุกข์เกิดขึ้น
เพราะความเดือนร้อนของเขา ย่อมติดตาม
เขาที่บ้าน หรือที่ป่า เขาผู้มีบาปกรรม
มีปัญญาทราม ทราบความชั่วของตนอยู่
ย่อมเข้าถึงกำเนิดดิรัจฉานบางอย่าง หรือ
ถูกจองจำในนรก ก็การจองจำนั้นเป็นทุกข์
ที่นักปราชญ์หลุดพ้นไปได้.
บุคคลผู้ยังใจให้เลื่อมใส ให้ทานด้วย
โภคทรัพย์ทั้งหลายที่ได้มาโดยชอบธรรม
ย่อมเป็นผู้ยึดถือชัยชนะไว้ได้ในโลกทั้งสอง
ของผู้มีศรัทธาอยู่ครองเรือน คือ เพื่อประ
โยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน และเพื่อความสุข
ในสัมปรายภพ การบริจาคของคฤหัสถ์ดัง

กล่าวมานั้นย่อมเจริญบุญ ผู้ใดมีศรัทธา
ตั้งมั่น มีใจประกอบด้วยหิริ มีโอตตัปปะ
มีปัญญาและสำรวมในศีล ในวินัยของพระ
อริยเจ้าผู้นั้น แลเราเรียกว่ามีชีวิตเป็นสุข
ในวินัยของพระอริยเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน
เขาได้ความสุขที่ไม่มีอามิส ยังอุเบกขา
(ในจตุตถฌาน) ให้ดำรงมั่น ละนิวรณ์ 5
ประการ เป็นผู้ปรารภความเพียรเป็นนิตย์
บรรลุฌานทั้งหลาย มีเอกัคคตาจิตปรากฏ
มีปัญญารักษาตัว มีสติ จิตของเขาย่อม
หลุดพ้นโดยชอบ เพราะทราบเหตุใน
นิพพานเป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวง ตาม
ความเป็นจริง เพราะไม่ถือมั่นโดยประการ
ทั้งปวง หากว่าเขาผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบ
คงที่อยู่ในนิพพาน เป็นที่สิ้นไปแห่งกิเลส
เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ ย่อมมี
ญาณหยั่งรู้ว่า ความหลุดพ้นของเราไม่
กำเริบไซร้ ญาณนั้นแลเป็นญาณชั้นเยี่ยม
ญาณนั้นเป็นสุขไม่มีสุขอื่นยิ่งกว่า ญาณ
นั้นไม่มีโศก หมดมัวหมองเป็นญาณเกษม
สูงสุดกว่าความไม่มีหนี้.

จบอิณสูตรที่ 3

อรรถกถาอิณสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอิณสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ทาลิทฺทิยํ ได้แก่ ความเป็นผู้ยากจน. บทว่า กามโภคิโน
ได้แก่ สัตว์ผู้บริโภคกาม. บทว่า อสฺสโก ได้แก่ ปราศจากทรัพย์ที่เป็น
ของของตน. บทว่า อนทฺธิโก ได้แก่ ไม่มั่งคั่ง. บทว่า อิณํ อาทิยติ
ได้แก่ เมื่อไม่สามารถจะเป็นอยู่ได้ก็กู้หนี้ยืมสิน.
บทว่า วฑฺฒึ ปฏิสฺสุณาติ ได้แก่ เมื่อไม่สามารถจะใช้คืนให้
ก็ให้สัญญาว่า จักให้ดอกเบี้ย. บทว่า อนุจรนฺติปิ นํ ความว่า (เจ้าหนี้
ทั้งหลาย) ไล่ตามหลังลูกหนี้ไป ทำให้เขาได้รับประการอันแปลกประหลาด
ด้วยการกระทำมีการจับตากแดด และโปรยฝุ่นลงเป็นต้น ในท่ามกลางบริษัท
และท่ามกลางคณะเป็นต้น.
บทว่า สทฺธา นตฺถิ ได้แก่ ไม่มีแม้แต่ศรัทธาคือการปลงใจเชื่อ.
บทว่า หิริ นตฺถิ ได้แก่ ไม่มีแม้แต่อาการที่จะละอายใจ. บทว่า โอตฺตปฺปํ
นตฺถิ
ได้แก่ ไม่มีแม้แต่อาการหวาดกลัว.
บทว่า วิริยํ นตฺถิ ได้แก่ ไม่มีแม้แต่ความเพียรที่เป็นไปทาง
กาย. บทว่า ปญฺญา นตฺถิ ได้แก่ ไม่มีแม้แต่กัมมัสสกตาปัญญา.
บทว่า อิณาทานสฺมึ วทามิ ได้แก่ เรากล่าวถึงการกู้หนี้ยืมสิน. บทว่า
มา มํ ชญฺญู ได้แก่ ขอเจ้าหนี้ทั้งหลายอย่าพบตัวเรา.
บทว่า ทาลิทฺทิยํ ทุกขํ ได้แก่ ความเป็นผู้จนทรัพย์เป็นเหตุให้เกิด
ทุกข์. บทว่า กามลาภาภิชฺปินํ ได้แก่ ผู้ปรารภนาการได้กาม. บทว่า