เมนู

บุรุษชื่ออิสิทัตตะก็หามิได้ อนึ่ง บุรุษชื่ออิสิทัตตะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา
เช่นใด บุรุษชื่อปุราณะก็ได้เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นนั้น บุรุษชื่ออิสิทัตตะ
ได้รู้แม้คติของบุรุษชื่อปุราณะก็หามิได้ ดูก่อนอานนท์ คนทั้ง 2 เลวกว่ากัน
ด้วยองคคุณคนละอย่างด้วยประการฉะนี้.
จบมิคสาลาสูตรที่ 2

อรรถกถามิคสาลาสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในมิคสาลาสูตรที่ 2 ดังต่อไป่นี้ :-
บทว่า กถํ กถํ นาม ความว่า ด้วยเหตุอะไร ๆ. บทว่า
อญฺเญยฺโย แปลว่า (ธรรม) อันบุคคลพึงรู้ให้ทั่วถึง. บทว่า ยตฺร หิ นาม
คือ ในธรรมชื่อใด. บทว่า สมสมคติกา ความว่า พรหมจารีบุคคล
และอพรหมจารีบุคคล (ผู้มิใช่เป็นพรหมจารี) อันชนทั้งหลายรู้แล้วว่า จักเป็น
ผู้มีคติเสมอกันโดยภาวะที่เสมอกันนั่นเอง. บทว่า สกทาคามี สตฺโต ตุสิตํ
กายํ อุปปนฺโน
ความว่า บังเกิดเป็นสกทาคามีบุคคลในภพดุสิตนั่นเอง.
บทว่า กถํ กถํ นาม ความว่า (มิคสาลาอุบาสิกาถามว่า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพรหมจารีบุคคลและอพรหมจารีบุคคลไว้) ด้วยเหตุ
อะไรหนอแล คือ พระองค์ทรงรู้จักแล้วจึงแสดงไว้หรือว่าไม่ทรงรู้จัก พระเถระ
(อานนท์) ไม่ทราบเหตุจึงกล่าวว่า ดูก่อนน้องหญิง ก็แลข้อนี้ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงพยากรณ์ไว้อย่างนี้.
บทว่า อมฺพกา อมฺพกสญฺญา ความว่า (มิคสาลาอุบาสิกา)
เป็นหญิง ยังประกอบด้วยความสำคัญอย่างหญิงอยู่นั่นเอง.

ในบทว่า เก จ ปุริสปุคฺคลปฏรปริยญาเณ นี้ มีความย่อดังนี้ว่า
ญาณเป็นเครื่องกำหนดรู้ความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ของบุรุษบุคคลทั้งหลาย
ว่า แข้งกล้า ว่าอ่อน เรียกว่า ปุริสปุคคลปโรปริยญาณ ในคำว่า เก จ
ปุริสปุคฺคลปโรปริยญาเณ
นี้. เพราะเหตุนั้น มิคสาลาอุบาสิกาหญิงโง่
คือใคร และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีอารมณ์ไม่ถูกขัดขวางในเพราะญาณเป็น
เครื่องรู้ความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ของบุรุษบุคคลทั้งหลาย เป็นใคร การ
เปรียบเทียบ (บุคคล) ทั้งสองนั้นยังอยู่ห่างไกลกันมาก.
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงว่า มิคสาลาอุบาสิกากับพระองค์ห่างไกลกันมาก
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า ฉ อิเม อานนฺท เป็นต้น. บทว่า โสรโต
โหติ
ความว่า (บุคคลบางคน) เป็นผู้งด คือ เว้นด้วยดีจากบาป. ปาฐะเป็น
สูรโต ดังนี้ก็มี.
บทว่า อภินนฺทนฺติ สพฺรหฺมจารี เอกตฺตวาเสน ความว่า
พรหมจารีบุคคลทั้งหลายต่างพากันชื่นชม คือ ยินดี ด้วยการอยู่ร่วมกันกับ
บุคคลนั้น. ปาฐะเป็น เอกนฺตวาเสน ดังนี้ก็มี. หมายความว่า ด้วยการอยู่
ใกล้ชิดกัน.
บทว่า สวเนนปิ อกตํ โหติ ความว่า มิได้ฟังสิ่งที่ควรฟัง. ใน
บทว่า พาหุสจฺเจนปิ อกติ โหติ นี้มีความว่า วิริยะเรียกว่า พาหุสัจจะ
มิได้ทำสิ่งที่ควรทำด้วยวิริยะ. บทว่า ทิฏฺฐิยาปิ อปฺปฏิวิทฺธํ โหติ ความว่า
มิได้แทงตลอดสิ่งที่ควรแทงตลอดด้วยทิฏฐิ.
บทว่า สามายิกมฺปิ วิมุตฺตึ น ลภติ ความว่า ไม่ได้ปีติและ
ปราโมทย์ (ที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยการฟังธรรมตามกาลอันสมควร. บทว่า

หานคามีเยว โหติ ความว่า ย่อมถึงความเสื่อมถ่ายเดียว. บทว่า ปมาณิกา< /B>
คือ เป็นผู้ถือประมาณ (การเปรียบเทียบ) ในบุคคลทั้งหลาย.
บทว่า ปมินนฺติ ได้แก่ เริ่มที่จะเปรียบเทียบ คือ ชั่ง. บทว่า เอโก
หีโน
ความว่า คนหนึ่งต่ำกว่าโดยคุณ (มีคุณต่ำกว่า). บทว่า เอโก ปณีโต
ความว่า คนหนึ่งประณีตกว่าโดยคุณ (มีคุณสูงกว่า). บทว่า ตญฺหิ ได้แก่
การทำการเปรียบเทียบนั้น.
บทว่า อภิกฺกนฺตตโร คือ ดีกว่า. บทว่า ปณีตตโร คือ อุดมกว่า.
บทว่า ธมฺมโสโต นิพฺพหติ ความว่า วิปัสสนาญาณเป็นไปอย่างกล้าแข็ง
นำออกไป (จากกิเลส) คือให้ถึงอริยภูมิ. บทว่า ตทนนฺตรํ โก ชาเนยฺย
ความว่า ช่วงติดต่อนั้น คือ เหตุนั้น นอกจากพระตถาคตแล้ว ใครเล่าจะรู้ ?
บทว่า โกธมาโน ได้แก่ ความโกรธและความถือตัว. บทว่า
โลภธมฺมา ได้แก่ ความโลภนั่นเอง. บทว่า วจีสํขารา ได้แก่ การพูด
ด้วยอำนาจการสนทนาปราศรัย.
บทว่า โย วา ปนสฺส มาทิโส ความว่า ก็หรือว่า พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าใดที่เหมือนกับเราตถาคต จะพึงมีอีกพระองค์หนึ่ง พระสัมมาสัม-
พุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็จะพึงถือประมาณ (การเปรียบเทียบ) ในบุคคลทั้งหลาย.
บทว่า ขญฺญติ ได้แก่ ถึงการขุดคุณ.
บทว่า อิเม โข อานนฺท ฉ ปุคฺคลา ความว่า บุคคล 6 บุคคล
เหล่านี้ คือ บุคคลผู้สงบเสงี่ยม 2 จำพวก บุคคลผู้ข่มความโกรธ ความถือตัว
และธรรมคือความโลภได้ 2 จำพวก บุคคลผู้ข่มความโกรธ ความถือตัวและ
วจีสังขารได้ 2 จำพวก.

บทว่า คตึ ได้แก่ ญาณคติ. บทว่า เอกงฺคหีนา ความว่า (บุคคล
ทั้ง 2 จำพวก คือ ปุราณะกับอิสิทัตตะ) ต่ำกว่ากันโดยองค์คุณคนละอย่าง.
(คือ) ปุราณะวิเศษโดยศีล (สูงกว่าโดยศีล) อิสิทัตตะวิเศษโดยปัญญา (สูงกว่า
โดยปัญญา) ศีลของปุราณะตั้งอยู่ในฐานะเสมอกับปัญญาของอิสิทัตตะ ปัญญา
ของอิสิทัตตะตั้งอยู่ในฐานะเสมอกับศีลของปุราณะแล.
จบอรรถกถามิคสาลาสูตรที่ 2

3. อิณสูตร


ว่าด้วยความจนทางโลกกับทางธรรม


[316] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็น
คนจน เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า
อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ ย่อมกู้ยืม แม้การกู้ยืม
ก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก.
ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ กู้ยืมแล้วย่อมรับใช้
ดอกเบี้ย แม้การรับใช้ดอกเบี้ยก็เป็นทุกข์ของผู้บริโภคกามในโลก.
ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ รับใช้ดอกเบี้ยแล้ว
ไม่ใช้ดอกเบี้ยตามกำหนดเวลา เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมทวงเขา แม้การทวงก็เป็น
ทุกข์ของบุคลผู้บริโภคกามในโลก.