เมนู

เสนาสนะสงัดอันตั้งอยู่ในราวป่า ฉะนั้น เราจึงพอใจด้วยการอยู่ป่าของภิกษุนั้น
อนึ่ง สมัยใด เราเดินทางไกล ย่อมไม่เห็นใครข้างหน้าหรือข้างหลัง สมัยนั้น
เราย่อมมีความสบาย โดยที่สุดด้วยการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ.
จบนาคิตสูตรที่ 12
จบเสกขปริหานิยวรรคที่ 4

อรรถกถานาคิตสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในนาคิตสูตรที่ 12 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า คามนฺตวิหารํ ได้แก่ ผู้อยู่ในเสนาสนะท้ายบ้าน. บทว่า
สมาหิตํ นิสินฺนํ ได้แก่ ผู้นั่งเข้าสมาธิในเสนาสนะท้ายบ้านนั้น. บทว่า
อิทานิมํ ตัดบทเป็น อิทานิ อิมํ. บทว่า สมาธิมฺหา จาเวสฺสติ ความว่า
จักออกจากสมาธิ. บทว่า น อตฺตมโน โหติ ความว่า ย่อมไม่มีใจเป็น
ของตน (ไม่ดีใจ). บทว่า ปจลายมานํ ได้แก่ กำลังหลบอยู่. บทว่า
เอกตฺตํ มีอธิบายว่า กระทำอรัญญสัญญานั่นแหละไว้ในใจให้ (จิต) มีสภาพ
เป็นเอก คือเป็นจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง. บทว่า อนุรกฺขิสฺสติ ได้แก่ จัก
อนุเคราะห์. บทว่า อธิมุตฺตํ วา จิตฺตํ วิโมเจสฺสติ ความว่า จักเปลื้องจิต
ที่ยังไม่พ้นไปในเวลาอื่น ด้วยวิมุตติทั้ง 5 ในบัดนี้. บทว่า ริญฺจติ ได้แก่
เว้นคือสลัดทิ้ง. บทว่า ปฏิปฺปณาเมตวา ได้แก่บรรเทา คือสลัดออกไป.
บทว่า อุจฺจารปสฺสาวกมฺมาย ได้แก่ เพื่อต้องการถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ.