เมนู

อรรถกถาทารุกขันธสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทารุกขันธสูตรที่ 11 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เจโตวสิปฺปตฺโต ได้แก่ ผู้ถึงความเป็นผู้มีอำนาจจิต. บทว่า
ปฐวีเตฺวว อธิมุจฺเจยฺย ความว่า พึงกำหนดอาการที่แข้นแข็ง ว่าธาตุดิน.
บทว่า ยํ นิสฺสาย ความว่า อาศัยปฐวีธาตุอันใด ที่มีอาการกระด้างมีอยู่.
(ภิกษุผู้มีฤทธิ์) พึงน้อมใจไปยังท่อนไม้โน้นว่าเป็นดิน ปฐวีธาตุนั้น มีอยู่ใน
ท่อนไม้นี้. เพราะฉะนั้น แม้บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยนี้. อธิบายว่า ใน
ท่อนไม้นั้นมีปฐวีธาตุ ที่มีอาการแข้นแข็งฉันใด อาโปธาตุที่มีอาการเกาะกลุ่ม
เตโชธาตุที่มีอาการอบอุ่น วาโยธาตุที่มีอาการเคลื่อนไหล ก็มีอยู่ในท่อนไม้นั้น
เหมือนกัน. สุภธาตุใดที่มีสีเหมือนดอกปทุม มีอยู่ในแก่นไม้ที่มีสีแดง
(ภิกษุพึงน้อมใจไป คือกำหนดท่อนไม้โน้น โดยอาศัยสุภธาตุนั้น ว่า สุภํ
งาม ดังนี้) อสุภธาตุใดที่มีสีไม่น่าพอใจ มีอยู่ในจุณที่เน่า และในกระพี้
และสะเก็ดทั้งหลาย (ของต้นไม้) ภิกษุน้อมใจไป คือกำหนดท่อนไม้ท่อนโน้น
โดยอาศัยอสุภธาตุนั้นนั่นแหละ ว่า อสุภํ ไม่งามดังนี้. ในพระสูตรนี้ท่าน
กล่าวชื่อว่า มิสสกวิหาร.
อรรถกถาทารุกขันธสูตรที่ 11