เมนู

อรรถกถาสุมนสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสุมนสูตรที่ 1 วรรคที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สุมนา ราชกุมาร ได้แก่ เจ้าหญิง ผู้ได้พระนามอย่างนั้น
เพราะทรงกระทำมหาสักการะแล้ว ทรงตั้งความปรารถนาไว้. ความพิสดาร
มีว่า ครั้งพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพวกชาวเมืองคิดกันว่า พวกเรา
ทำการรบเสร็จแล้ว จักยึดพระศาสดาของพวกเราไว้ จึงริเริ่มที่จะได้พระสงฆ์
มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข อาศัยเสนาบดีแล้วทำบุญตามลำดับ ในวันแรก ๆ
แห่งวันทั้งหมดเป็นวาระของเสนาบดี. ในวันนั้นเสนาบดีเตรียมมหาทาน
วางคนรักษาการณ์ไว้โดยรอบสั่งว่า วันนี้ พวกเจ้าจงคอยรักษาการณ์ไว้โดยที่
ใคร ๆ อื่นจะไม่ถวายแม้ภิกษาสักอย่างหนึ่ง. วันนั้นภรรยาเศรษฐีร้องไห้ พูด
กะธิดา ซึ่งเล่นกับพวกหญิงสาว 500 คนกลับมาแล้วว่า ลูกเอ๋ย หากว่าบิดา
ของลูกยังมีชีวิตอยู่ วันนี้แม่ต้องนิมนต์พระทศพลฉันเป็นรายแรก. ลูกสาว
พูดกะมารดาว่า แม่จ๋า แม่อย่าคิดเลย ลูกจักทำโดยวิธีที่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประมุข จักฉันภิกษาของเราเป็นรายแรก ต่อจากนั้น ธิดาจึงบรรจุข้าว-
ปายาสที่ไม่มีน้ำลงในถาดทองคำมีค่าแสนหนึ่งจนเต็ม แล้วปรุงด้วยเนยใส
น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวดเป็นต้น เอาถาดอีกถาดหนึ่งครอบ เอาพวงมาลัย
ดอกมะลิล้อมภาชนะนั้น ทำคล้ายพวงดอกไม้ ครั้นได้เวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จเข้าไปบ้าน นางยกเองมีหมู่ทาสีแวดล้อมออกจากเรือนไป. ครั้นถึง
ระหว่างทาง พวกคนรับใช้ของเสนาบดีพูดว่า แม่หนูอย่ามาทางนี้. ธรรมดา
ผู้มีบุญมาก ย่อมมีถ้อยคำต้องใจคน ถ้อยคำของคนรับใช้เสนาบดีเหล่านั้น
ซึ่งพูดแล้วพูดเล่า ก็ไม่อาจห้ามไว้ได้. นางกล่าวว่า ท่านอา ท่านลุง ท่านน้า

ทำไมท่านไม่ให้เราเข้าไปเล่า. คนรับใช้กล่าวว่า แม่หนู ท่านเสนาบดีตั้งพวก
เราให้คอยรักษาการณ์ โดยสั่งว่า พวกเจ้าจงอยู่ให้ใคร ๆ อื่นนำของเคี้ยว
และของกินเข้ามาเป็นอันขาด. นางกล่าวว่า ก็พวกท่านเห็นของเคี้ยวของกิน
ในมือของฉันหรือ. คนรับใช้พูดว่า เห็นแต่พวงดอกไม้จ้ะ. นางถามว่า ท่าน
เสนาบดีของพวกท่านไม่ให้ทำแม้การบูชาด้วยดอกไม้ด้วยหรือ. คนรับใช้พูดว่า
ให้จ้ะแม่หนู. นางกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นพวกท่านหลีกไปสิ แล้วเข้าไปเฝ้าพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์ทรงให้รับ
พวงดอกไม้เถิดพระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแลดูคนรับใช้ของเสนาบดี
คนหนึ่ง แล้วให้รับพวงดอกไม้ไว้ นางถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้ว
ตั้งความปรารถนาว่า เมื่อข้าพระบาทบังเกิดในภพน้อยภพใหญ่ ขออย่าให้มี
ชีวิตอยู่ด้วยความหวาดสะดุ้งเลย ในภพที่ข้าพระบาทเกิด ขอให้เป็นที่รักดุจ
พวงดอกไม้นี้ และขอให้มีชื่อว่า สุมนาเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เจ้า
จงมีความสุขเถิด ดังนี้ นางถวายบังคมแล้วกระทำประทักษิณ กราบทูลลา
กลับไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จไปยังเรือนของเสนาบดีประทับนั่งเหนือ
อาสนะที่เขาปูไว้ เสนาบดีถือข้าวยาคูน้อมเข้าไปถวาย. พระศาสดาทรงเอา
พระหัตถ์ปิดบาตรไว้. เสนาบดีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หมู่ภิกษุนั่งแล้ว
พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า เราได้บิณฑบาตหนึ่งในระหว่างทาง. เสนาบดี
นำมาลาออกได้เห็นบิณฑบาต . จูฬุปัฏรากคนรับใช้ใกล้ชิดกล่าวว่า นายขอรับ
ผู้หญิงพูดลวงกระผมว่าดอกไม้. ข้าวปายาสเพียงพอแก่ภิกษุทั้งหมด นับแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นต้นไป เสนาบดีได้ถวายไทยธรรมของตน. พระศาสดา
เสวยเสร็จแล้ว ตรัสมงคลกถาเสด็จกลับ. เสนาบดีถามว่า หญิงที่ถวายบิณฑบาต
ชื่อไร. ธิดาเศรษฐีขอรับ. เสนาบดีคิดว่า หญิงมีปัญญา เมื่อมาอยู่ในเรือน
ชื่อว่า สวรรค์สมบัติของบุรุษไม่ใช่หาได้ยากเลย ดังนี้ จึงนำนางนั้นมาตั้งไว้

ในตำแหน่งหัวหน้า. นางก็จับจ่ายทรัพย์ในเรือนของมารดาและในเรือนของ
เสนาบดี ถวายทานแด่พระตถาคตบำเพ็ญบุญตลอดอายุ ครั้นจุติจากนั้นก็ไป
บังเกิดในเทวโลกฝ่ายกามาวจร. ในขณะที่นางเกิดนั้นเอง ฝนดอกมะลิตกเต็ม
ทั่วเทวโลกประมาณแค่เข่า. ทวยเทพคิดว่า เทพธิดานี้ถือเอาชื่อของตนด้วย
ตนเองมา จึงตั้งชื่อเทพธิดานั้นว่า สุมนา. เทพธิดานั้นท่องเที่ยวไปในเทวโลก
และมนุษยโลกตลอด 99 กัป ในที่ที่นางเกิดแล้ว ๆ ฝนดอกมะลิก็ตกไม่ขาด
จึงมีชื่อว่า สุมนา อย่างเดิม ก็ครั้งนี้นางได้ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระ-
อัครมเหสีของพระเจ้าโกศล ในวันนั้นเอง กุมาริกา 500 ก็ถือปฏิสนธิในตระกูล
นั้น ๆ แล้วคลอดจากครรภ์มารดาในวันเดียวกันหมด. ในขณะนั้นเอง ฝน
ดอกมะลิตกประมาณแค่เข่า.
พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระธิดานั้นทรงปลื้มพระทัยว่า ราชธิดา
นี้จักเป็นผู้สร้างบุญกุศลมาก่อน ทรงดำริว่า ธิดาของเราถือเอาชื่อของตน
ด้วยตนเองมา จึงพระราชทานพระนามของพระธิดานั้นว่า สุมนา แล้วทรงให้
ค้นหาทั่วพระนครด้วยทรงดำริว่า ธิดาของเราคงจะไม่เกิดเพียงผู้เดียวเท่านั้น
ทรงสดับว่า มีทาริกา 500 เกิด จึงโปรดเกล้าให้เลี้ยงไว้ทั้งหมดด้วยพระองค์
เอง รับสั่งว่า เมื่อถึงเดือนหนึ่ง ๆ พวกเจ้าจงนำมาแสดงแก่ธิดาของเราดังนี้.
พึงทราบว่า พระธิดาทรงกระทำมหาสักการะ แล้วตั้งความปรารถนาไว้ จึงได้
พระนามอย่างนี้. เวลาพระธิดามีพระชนม์ได้ 7 พระชันษา เมื่ออนาถปิณฑิก-
เศรษฐี สร้างวิหารเสร็จ จึงส่งทูตไปกราบทูลพระตถาคต พระศาสดามีหมู่
ภิกษุเป็นบริวารได้เสด็จไปยังกรุงสาวัตถี.
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ไปกราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ข้าแต่
พระมหาราชเจ้า การเสด็จมา ณ ที่นี้ของพระศาสดา เป็นมงคลทั้งแก่ข้า-
พระองค์ ทั้งแด่พระองค์ พระองค์ทรงโปรดเกล้าให้ พระสุมนาราชกุมารี

พร้อมด้วยทาริกา 500 ถือหม้อน้ำและของหอมและดอกไม้เป็นต้น รับเสด็จ
พระทศพลเถิด พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ดีแล้วเศรษฐี แล้วทรงกระทำ
ตามนั้น. พระธิดาก็เสด็จไปตามที่พระราชาทรงแนะนำ ถวายบังคมพระศาสดา
แล้วทรงบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น แล้วประทับอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่พระธิดา. พระธิดาพร้อมด้วยกุมารี 500 ตั้งอยู่
ในโสดาปัตติผล. ทาริกา 500 มาตุคาม 500 และอุบาสก 500 แม้เหล่าอื่น
ก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลในขณะนั้นเหมือนกัน. ในวันนั้นมีโสดาบัน 2,000
ในระหว่างทางนั้นเอง
บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ถามว่า เพราะเหตุใด จึงเข้าไปเฝ้า.
ตอบว่า เพราะทรงต้องการถามปัญหา. ได้ยินว่า ครั้งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้มีภิกษุสองรูปเป็นสหายกัน. ในภิกษุสองรูปนั้น รูปหนึ่งบำเพ็ญสาราณีย-
ธรรม รูปหนึ่งบำเพ็ญภัตตัคควัตร. รูปที่บำเพ็ญสาราณียธรรม กล่าวกะรูปที่
บำเพ็ญภัตตัคควัตรว่า ผู้มีอายุ ชื่อว่า ทานที่ไม่ให้ผล ย่อมไม่มี การให้
ของที่ตนได้แก่ผู้อื่น แล้วบริโภคจึงควรดังนี้. แต่รูปที่บำเพ็ญภัตตัคควัตร
กล่าวว่า ผู้มีอายุ ท่านไม่รู้หรือการให้ไทยธรรมตกไปไม่ควร ผู้ที่ถือเอาเพียง
อาหารยังชีวิตของตนให้เป็นไปได้เท่านั้น บำเพ็ญวัตรในโรงครัวจึงควร. ใน
ภิกษุสองรูปนั่น แม้รูปหนึ่งก็ไม่อาจจะให้อีกรูปหนึ่งอยู่ในโอวาทของตนได้. แม้
ทั้งสองรูปบำเพ็ญข้อปฏิบัติของตน ครั้นจุติจากภพนั้น ก็บังเกิดในเทวโลก
ฝ่ายกามาพจร บรรดาภิกษุสองรูปนั้น รูปที่บำเพ็ญสาราณียธรรม ล้ำภิกษุ
อีกรูปหนึ่งด้วยธรรม 5 อย่าง ภิกษุเหล่านั้นเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์สิ้น
ไปพุทธันดรหนึ่ง จึงเกิดในกรุงสาวัตถีในเวลานี้. รูปที่บำเพ็ญสาราณียธรรมถือ
ปฏิสนธิในพระครรภ์ของอัครมเหสีของพระเจ้าโกศล อีกรูปหนึ่งถือปฏิสนธิใน
ท้องของหญิงรับใช้ ของพระอัครมเหสีนั้นเหมือนกัน. คนแม้ทั้งสองเหล่านั้น

ก็เกิดในวันเดียวกันนั่นเอง. ในวันตั้งชื่อ มารดาให้คนเหล่านั้นอาบน้ำ แล้วให้
นอนในห้องประกอบด้วยสิริ จัดเตรียมของขวัญในภายนอกไว้ให้แก่คน แม้
ทั้งสอง. บรรดาคนเหล่านั้น คนที่บำเพ็ญสาราณียธรรมพอลืมตาก็เห็นเศวต-
ฉัตรใหญ่ ที่นอนประกอบด้วยสิริที่เขาไว้เป็นอย่างดี และนิเวศน์ประดับ
ด้วยเครื่องอลังการ จึงได้รู้ว่า เราเกิดในราชตระกูลแห่งหนึ่งดังนี้. เขานึก
อยู่ว่า เราทำกรรมอะไรหนอ จึงได้เกิดในที่นี้ดังนี้ ก็รู้ว่า ด้วยผลของการ
บำเพ็ญสาราณียธรรมดังนี้ จึงนึกว่า สหายของเราเกิดที่ไหนหนอ ก็ได้เห็น
เขานอน บนที่นอนต่ำ คิดว่า ผู้นี้บำเพ็ญวัตรในโรงครัว ไม่เชื่อคำของเรา
คราวนี้เราจะข่มเขาในฐานะนี้ก็ควร จึงได้พูดว่า เพื่อน เจ้าไม่เชื่อคำของเรา.
เขาตอบว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น จะเกิดอะไร. เขาได้บอกว่า เจ้าดูสมบัติของเราสิ
เรานอนบนที่นอนมีสิริอยู่ภายใต้เศวตฉัตร เจ้านอนบนเตียงต่ำข้างบนลาดด้วย
ของแข็ง สหายกล่าวว่า ก็ท่านอาศัยสิ่งนั้นแล้วยังทำมานะหรือ ? สิ่งของนั้น
ทั้งหมดเขาเอาซี่ไม้ไผ่นำเอาผ้าขี้ริ้วห่อพันไว้ เป็นเพียงปฐวีธาตุเท่านั้นมิใช่หรือ
ดังนี้.
พระราชธิดาสุมนา ทรงสดับถ้อยคำของคนทั้งสองนั้นแล้ว คิดว่า
ที่ใกล้ ๆ น้องชายทั้งสองของเรา ก็ไม่มีใครดังนี้ เดินเข้าไปใกล้คนเหล่านั้น
ยืนพิงประตู ได้ยินคำว่า ธาตุ แล้วก็คิดว่า คำว่า ธาตุนี้ ในภายนอกก็ไม่มี
น้องชายของเรา จักเป็นสมณเทพบุตร คิดว่าถ้าเราจักบอกแก่มารดาบิดาว่า
คนเหล่านี้ พูดกันอย่างนี้ ท่านก็จักให้นำออกไปด้วยเข้าใจว่า คนเหล่านั้น
เป็นอมนุษย์ดังนี้. เราไม่บอกเหตุนี้แก่คนอื่น จักทูลถามเฉพาะพระทศพล
ผู้เป็นมหาโคตมพุทธบิดาของเรา ซึ่งเป็นเหรัญญิกบุรุษผู้ตัดความสงสัยได้
ดังนี้. เสวยพระกระยาหารเช้าเสร็จ ก็เข้าไปเฝ้าพระราชาทูลขออนุญาตไปเฝ้า
พระทศพล. พระราชาตรัสสั่งให้จัดรถ 500 คัน. ความจริง ในภาคพื้น

ชมพูทวีป กุมารีสามคนเท่านั้น ได้รถ 500 คัน ในสำนักของบิดาทั้งหลาย
คือ เจ้าหญิงจุนที ราชธิดาของพระเจ้าพิมพิสาร นางวิสาขาธิดาของธนัญชย-
เศรษฐี และเจ้าหญิงสุมนานี้. นางถือเอาของหอมและดอกไม้แล้ว ยืนอยู่ใน
รถซึ่งมีรถ 500 เป็นบริวาร จึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคิดว่า
เราจักทูลถามปัญหานี้ ดังนี้.
บทว่า อิธสฺสุ แปลว่า พึงมีในที่นี้. บทว่า เอโก ทายโก ความว่า
คนหนึ่งเป็นผู้แบ่งลาภที่ตนได้แล้วให้แก่คนอื่นบริโภคเป็นการบำเพ็ญสาราณีย-
ธรรม. บทว่า เอโก อทายโก ความว่า คนหนึ่งเป็นผู้ไม่แบ่งสิ่งที่ตน
ได้แล้วให้แก่คนอื่นบริโภค เป็นผู้บำเพ็ญวัตรในโรงครัว. บทว่า เทวภูตานํ
ปน เนสํ ได้แก่ คนทั้งสองเหล่านั้น ก็เป็นเทวดา. บทว่า อธิคณฺหาติ
ได้แก่ ถือเอาล้ำหน้า. บทว่า อธิปเตยฺเยน ได้แก่ เหตุของผู้เป็นหัวหน้า.
บทว่า อิเมหิ ปญฺจหิ ฐาเนหิ ความว่า ล้ำหน้าผู้ไม่เป็นทายกด้วยเหตุ
5 เหล่านี้ เหมือนท้าวสักกเทวราช ล้ำหน้าพวกเทพที่เหลือฉะนั้น.
ในบทเป็นต้นว่า มานุสเกน พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ เป็นหัวหน้า
ล้ำหน้าด้วยเหตุ 5 เหล่านี้ คือ ด้วยอายุ เหมือนพระมหากัสสปเถระ พระ-
พักกุลเถระและพระอานนทเถระ. ด้วยวรรณะเหมือนพระมหาคติมพอภัยเถระ
และอำมาตย์ผู้เป็นภัณฑาคาริกผู้รักษาเรือนคลัง ด้วยสุข เหมือนรัฏฐปาล-
กุลบุตร โสภณเศรษฐีบุตร และยศกุลบุตร. ด้วยยศทั้งความเป็นใหญ่เหมือน
พระเจ้าธรรมาโศกราช. บทว่า ยาจิโตว พหุลํ ความว่า เป็นหัวหน้า
ล้ำหน้าด้วยเหตุนี้ว่าเป็นผู้อันเขาวิงวอนจึงบริโภคจีวรเป็นต้น เป็นส่วนมาก
เหมือนพระพักกุลเถระ พระสีวสีลเถระ และพระอานนทเถระเป็นต้น. บทว่า
ยทิทํ วิมุตฺติยา วิมุตฺตํ ความว่า เหตุต่าง กันอันใด ที่จะพึงกล่าว
ปรารภวิมุตติของอีกคนหนึ่งกับวิมุตติของคนหนึ่ง เราไม่กล่าวเหตุที่ต่าง ๆ กัน

อันนั้น. จริงอยู่ เด็กอายุ 7 ขวบก็ดี พระเถระอายุ 100 ปีก็ดี ไม่ว่าจะเป็น
ภิกษุหรือภิกษุณี อุบาสกหรืออุบาสิกา เทวดาหรือมาร พรหม ก็แทงตลอด
วิมุตติ ในโลกุตรมรรคที่แทงตลอดแล้ว ชื่อว่า ความต่างๆ กันไม่มีเลย.
บทว่า อลเมว แปลว่า ควรแท้. บทว่า ยตฺร หิ นาม เท่ากับ ยานิ
นาม
แปลว่า ชื่อเหล่าใด.
บทว่า คจฺฉํ อากาสธาตุยา คือ โคจรไปทางอากาศ. บทว่า
สทฺโธ ได้แก่ ผู้เชื่อคุณพระรัตนตรัย. บทว่า ถนยํ แปลว่า ลอยไป.
บทว่า วิชฺชุมาลี ได้แก่ ประกอบด้วยสายฟ้าแลบอยู่หน้าเมฆเช่นกับมาลา.
บทว่า สตกฺกกุ คือ มียอดตั้งร้อย อธิบายว่า ประกอบด้วยเมฆตั้งร้อยยอด
ที่ตั้งขึ้นทางนี้ทางโน้น. บทว่า ทสฺสนมฺปนฺโน คือ พระโสดาบัน.
บทว่า โภคปริพฺยุฬฺโห ได้แก่ เป็นผู้พรั่งพรูด้วยโภคะที่มีอยู่นำไปให้ด้วย
อำนาจทาน คล้ายห้วงน้ำ. อธิบายว่า ให้ถึงเทวโลก. บทว่า เปจฺจ คือ
ในปรโลก. บทว่า สคฺเค ปโมทติ ความว่า ย่อมปลาบปลื้มปราโมทย์
ในสวรรค์ที่เขาเกิดนั้นนั่นแล.
จบอรรถกถาสุมนสูตรที่ 1

2. จุนทิสูตร


ว่าด้วยสิ่งที่อำนวยผลเลิศ


[32] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน
กลันทกนิวาปสถานใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ราชกุมารีพระนามว่าจุนที แวด
ล้อมด้วยรถ 500 คัน และกุมารี 500 คน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประ
ทับถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า