เมนู

อรรถกถาวิวาทมูลสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในวิวาทมูลสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
มูลเหตุของการวิวาท ชื่อว่า วิวาทมูล. ผู้ที่ประกอบด้วยความโกรธ
มีความเคืองเป็นลักษณะ ชื่อว่า โกธนะ (ผู้มักโกรธ) ผู้ประกอบด้วยการ
ผูกโกรธ มีการไม่สลัดเวรเป็นลักษณะ ชื่อว่า อุปนาหี (ผูกโกรธ). บทว่า
อหิตาย ทุกฺขาย เทวมนุสฺสานํ ความว่า การวิวาทของภิกษุ 2 รูป
ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย.
ถามว่า เป็นไปได้อย่างไร ? ตอบว่า (เป็นไปได้อย่างนี้ คือ) เมื่อ
ภิกษุ 2 รูปวิวาทกัน อันเตวาสิกของท่านทั้งสองนั้น ในวัดนั้นก็จะวิวาทกัน
ภิกษุณีสงฆ์ผู้รับโอวาทของภิกษุเหล่านี้ ก็จะวิวาทกัน เหมือนในคัมภีร์โกสัมพี-
ขันธกะ ต่อจากนั้น อุปัฏฐากของท่านเหล่านั้น ก็จะวิวาทกัน ต่อมาอารักข-
เทวดาของมนุษย์ทั้งหลาย ก็จะแยกกันเป็นสองฝ่าย อารักขเทวดาของฝ่าย
พระธรรมวาที ก็จะเป็นเช่นนั้น คือเป็นข้างฝ่ายพระธรรมวาที ของฝ่ายพวก
อธรรมวาที ก็จะเป็นพวกอธรรมวาที. ต่อจากนั้น ภุมมเทวดาผู้เป็นมิตรของ
อารักขเทวดาทั้งหลาย ก็จะแตกกัน. แต่ (ถ้า) ฝ่ายอธรรมวาที มีจำนวน
มากกว่าฝ่ายธรรมวาที ต่อแต่นั้น เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ก็จะยึดเอาสิ่งที่
คนจำนวนมากยึดถือ จะพากันละทิ้งธรรมยึดเอาอธรรม เป็นจำนวนมาก
ทีเดียว. เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น เมื่ออยู่อย่างยึดเอาอธรรมเป็นหลัก ก็จัก
เกิดในอบาย การวิวาทของภิกษุทั้งสองรูป ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนาฉะนี้.

บทว่า อชฺฌตฺตํ วา ได้แก่ บริษัทภายในของท่านทั้งหลาย. บทว่า
พหิทฺธา ได้แก่ บริษัทของคนเหล่าอื่น. ผู้ที่ประกอบไปด้วยการลบหลู่ ที่มี
การลบล้างคุณของผู้อื่นเป็นลักษณะ ชื่อว่า มักขี. ผู้ที่ประกอบไปด้วยการ
ตีเสมอ มีการจักคู่เป็นลักษณะ ชื่อว่า ปฬาสี (ตีเสมอ). ผู้ที่ประกอบไป
ด้วยความริษยา ที่มีความริษยาในสักการะเป็นต้นของผู้อื่นเป็นลักษณะ ชื่อว่า
อิสฺสุกี (ริษยา).
ผู้ที่ประกอบไปด้วยความตระหนี่ทั้งหลาย มีความตระหนี่ที่อยู่เป็นต้น
ชื่อว่า มัจฉรี (ผู้ตระหนี่) ผู้ที่โอ้อวด ชื่อว่า สฐะ ผู้ที่ปกปิดสิ่งที่ทำไว้แล้ว
ชื่อว่า มายาวี. ผู้ทุศีล ผู้ปรารถนาความยกย่องที่ไม่มีอยู่ ชื่อว่า ปาปิจฺโฉ
(ปรารถนาลามก ).
บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิ ได้แก่ นัตถิกวาทีบุคคล อเหตุกวาทีบุคคล
อกิริยวาทีบุคคล. บทว่า สนฺทิฏฺฐิปรามาสี ได้แก่ ผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน
นั่นแล. บทว่า อาธานคฺคาหี ได้แก่ ผู้ยึดมั่น. บทว่า ทุปฺปฏินิสฺสคฺคี
ได้แก่ เป็นผู้ไม่อาจจะละทิฏฐิที่ตนยึดแล้ว. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสวัฏฏะไว้อย่างเดียวเท่านั้น.
จบอรรถกถาวิวาทมูลสูตรที่ 6

7. ทานสูตร


ว่าด้วยองค์แห่งทักษิณาทาน 6 ประการ


[308] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล อุบาสิกร
ชื่อนันทมารดา ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะ ถวายทักษิณาทานอันประกอบด้วยองค์ 6
ประการ ในภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นประมุข พระผู้มี-
พระภาคเจ้าได้ทรงเห็นอุบาสิกาชื่อนันทมารดา ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะถวาย
ทักษิณาทานอันประกอบด้วยองค์ 6 ประการ ในภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตรและ
พระโมคคัลลานะเป็นประมุข ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์
แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาชื่อนันทมารดา
ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะนั้นถวายทักษิณาทานอันประกอบด้วยองค์ 6 ประการ
ในภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นประมุข ก็ทักษิณาทาน
อันประกอบด้วยองค์ 6 ประการเป็นอย่างไร ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย องค์ 3 ของทายก องค์ 3 ของปฏิคาหก องค์ 3
ของทายกเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทายกก่อนให้ทาน เป็นผู้ดีใจ 1
กำลังให้ทานอยู่ย่อมยังจิตให้เลื่อมใส 1 ครั้นให้ทานแล้วย่อมปลื้มใจ 1

นี้องค์ 3 ของทายก องค์ 3 ของปฏิคาหกเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ปฏิคาหกในศาสนานี้เป็นผู้ปราศจากราคะหรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ 1
เป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ 1
เป็นผู้ปราศจาก
โมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะ 1 นี้องค์ 3 ของปฏิคาหก องค์ 3 ของ
ทายก องค์ 3 ของปฏิคาหกย่อมมีประการดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายทักษิณา-
ทานที่ประกอบด้วยองค์ 6 ประการ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้แล การถือประมาณ