เมนู

5. วิชชาภาคิยสูตร


ว่าด้วยธรรมเป็นส่วนให้เกิดวิชชา


[306] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 6 ประการนี้ ย่อมเป็นไปใน
ส่วนแห่งวิชชา ธรรม 6 ประการเป็นไฉน ? คืออนิจจสัญญา 1 อนิจเจ-
ทุกขสัญญา 1 ทุกเขอนัตตสัญญา 1 ปหานสัญญา 1 วิราคสัญญา 1
นิโรธสัญญา 1.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 6 ประการนี้แล ย่อมเป็นไปในส่วน
แห่งวิชชา.
จบวิชชาภาคิยสูตรที่ 5

อรรถกถาวิชชาภาคิยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในวิชชาภาคิยสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า วิชฺชาภาคิยา ความว่า เป็นธรรมที่เป็นไปในส่วนของวิชชา.
สัญญาที่เกิดขึ้นในอนิจจานุปัสสนาญาณ ชื่อว่า อนิจจสัญญา. สัญญาที่เกิด
ขึ้นในทุกขานุปัสสนาญาณ ชื่อว่า อนิจเจ ทุกขสัญญา. สัญญาที่เกิดขึ้น
ในอนัตตานุปัสสนาญาณ ชื่อว่า ทุกเข อนัตตสัญญา. สัญญาที่เกิดขึ้นใน
ปหานานุปัสสนาญาณ ชื่อว่า ปหานสัญญา. สัญญาที่เกิดขึ้นในวิราคา-
นุปัสสนาญาณ ชื่อว่า วิราคสัญญา. สัญญาที่เกิดขึ้นในนิโรธานุปัสสนาญาณ
ชื่อว่า นิโรธสัญญา.
จบอรรถกถาวิชชาภาคิยสูตรที่ 5

6. วิวาทมูลสูตร


ว่าด้วยมูลเหตุแห่งการวิวาท 6 ประการ


[307] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มูลเหตุแห่งการวิวาท 6 ประการนี้
6 ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธ
ไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดย่อมเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุนั้น
ย่อมเป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงแม้ในพระศาสดา. . . แม้ใน
พระธรรม. . . แม้ในพระสงฆ์ เป็นผู้ไม่ทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระศาสดา. . . ในพระธรรม. . .
ในพระสงฆ์ ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมก่อการวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์
ซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อสิ่งไม่เป็นสุขแก่ชน
หมู่มาก เพื่อความฉิบหาย เพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก
เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพึง
พิจารณาเห็นซึ่งมูลเหตุแห่งการวิวาทเห็นปานนั้น ในภายในหรือภายนอกไซร้
เธอทั้งหลายพึงพยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็นบาปนั้นเสีย ถ้าเธอ
ทั้งหลายไม่พึงพิจารณาเห็นซึ่งมูลเหตุแห่งการวิวาทเห็นปานนั้น ในภายในหรือ
ภายนอกไซร้ เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อไม่ให้มูลเหตุแห่งการวิวาทเห็นปานนั้น
ครอบงำต่อไป การละมูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็นปานนั้น (และ) มูลเหตุ
แห่งการวิวาทที่เป็นบาปนั้น ไม่ครอบงำต่อไป ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่ ตีเสมอ ฯลฯ เป็นผู้ริษยา มีความ
ตระหนี่ เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา เป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด
เป็นผู้มีความถือมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละความเห็นของตนได้ยาก