เมนู

อรรถกถาโมคคัลลานสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในโมคคัลลานสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า ติสฺโส นาม ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุผู้เป็นสัทธิวิหาริกของ
พระเถระนั่นเอง. บทว่า มหิทฺธิโก มหานุภาโว ความว่า ภิกษุชื่อว่า
มหิทฺธิโก เพราะมีฤทธิ์มาก โดยอรรถว่า ยังกิจให้สำเร็จได้ (ตามประสงค์)
ชื่อว่า มหานุภโว เพราะมีอานุภาพมาก โดยอรรถว่า แผ่ขยายไปเนือง ๆ.
บทว่า จิรสฺสํ โข มาริส โมคฺคลฺลาน อิมํ ปริยายมกาสิ นี้
เป็นคำทักทายที่น่ารักตามปกติของชาวโลก อธิบายว่า ชาวโลกเห็นคนที่นานๆ
มาบ้าง เห็นคนที่มีลักษณะน่าพอใจ ผู้ยังไม่เคยมาแล้วบ้าง จะกล่าวคำมีอาทิว่า
พ่อมหาจำเริญ พ่อมาจากไหน ? พ่อมหาจำเริญ นาน ๆ พ่อจึงจะมา พ่อ-
มหาจำเริญ รู้ทางมาที่นี่ได้อย่างไร ? พ่อหลงทางมาหรืออย่างไร ? แต่
ติสสพรหมนี้ กล่าวอย่างนี้ เพราะเคยเห็นท่านมาแล้ว. แท้จริง พระเถระ
ไปพรหมโลกนั่นแหละตามกาลที่สมควร. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริยาย-
มกาสิ ความว่า ได้ทำไปตามวาระ. บทว่า ยทิทํ อิธาคมาย มีอธิบายที่
ท่านกล่าวไว้ว่า นาน ๆ ท่านจะได้ทำวาระ เพื่อจะมายังพรหมโลกนี้.
บทว่า อิทมาสนํ ปญฺญตฺตํ ความว่า ติสสพรหม ปูลาดพรหม-
บัลลังก์มีค่ามาก แล้วกล่าวอย่างนี้. บทว่า อเวจฺจปฺปสาเทน ความว่า ด้วย
ความเลื่อมใสอันสัมปยุตด้วยมรรค ที่ไม่คลอนแคลน ที่ตนได้บรรลุแล้ว. ใน
พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสโสดาปัตติมรรคญาณไว้.
จบอรรถกถาโมคคัลลานสูตรที่ 4

5. วิชชาภาคิยสูตร


ว่าด้วยธรรมเป็นส่วนให้เกิดวิชชา


[306] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 6 ประการนี้ ย่อมเป็นไปใน
ส่วนแห่งวิชชา ธรรม 6 ประการเป็นไฉน ? คืออนิจจสัญญา 1 อนิจเจ-
ทุกขสัญญา 1 ทุกเขอนัตตสัญญา 1 ปหานสัญญา 1 วิราคสัญญา 1
นิโรธสัญญา 1.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 6 ประการนี้แล ย่อมเป็นไปในส่วน
แห่งวิชชา.
จบวิชชาภาคิยสูตรที่ 5

อรรถกถาวิชชาภาคิยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในวิชชาภาคิยสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า วิชฺชาภาคิยา ความว่า เป็นธรรมที่เป็นไปในส่วนของวิชชา.
สัญญาที่เกิดขึ้นในอนิจจานุปัสสนาญาณ ชื่อว่า อนิจจสัญญา. สัญญาที่เกิด
ขึ้นในทุกขานุปัสสนาญาณ ชื่อว่า อนิจเจ ทุกขสัญญา. สัญญาที่เกิดขึ้น
ในอนัตตานุปัสสนาญาณ ชื่อว่า ทุกเข อนัตตสัญญา. สัญญาที่เกิดขึ้นใน
ปหานานุปัสสนาญาณ ชื่อว่า ปหานสัญญา. สัญญาที่เกิดขึ้นในวิราคา-
นุปัสสนาญาณ ชื่อว่า วิราคสัญญา. สัญญาที่เกิดขึ้นในนิโรธานุปัสสนาญาณ
ชื่อว่า นิโรธสัญญา.
จบอรรถกถาวิชชาภาคิยสูตรที่ 5