เมนู

มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวก
ของพระตถาคต นี้เราเรียกว่า อนุสตานุตริยะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุตริยะ
6 ประการนี้แล.
ภิกษุเหล่าใดได้ ทัสสนานุตริยะ
สวนานุตริยะ ลาภานุตริยะ ยินดีใน
สิกขานุตริยะ เข้าไปตั้งการบำรุง เจริญ
อนุสติที่ประกอบด้วยวิเวกเป็นแดนเกษม
ให้ถึงอมตธรรม ผู้บันเทิงในความไม่ประ-
มาท มีปัญญารักษาตน สำรวมในศีล
ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อมรู้ชัดซึ่งที่เป็นที่ดับ-
ทุกข์ โดยกาลอันควร.

จบอนุตตริยสูตรที่ 10
จบอนุตตริยวรรคที่ 3

อรรถกถาอนุตตริยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอนุตตริยสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุจฺจาวจํ ความว่า อีกอย่างหนึ่ง (ไปเพื่อฟัง) เสียง
ใหญ่น้อยอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ. บทว่า หีนํ แปลว่า
เลว. บทว่า คมฺมํ ความว่า เป็นการดูของชาวบ้าน. บทว่า โปถุชฺชนิกานํ
ความว่า เป็นของมีอยู่แห่งปุถุชน. บทว่า อนริยํ ความว่า ไม่ประเสริฐ
คือไม่สูงสุด ได้แก่ ไม่บริสุทธิ์. บทว่า อนตฺถสญฺหิตํ ความว่า ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์.

บทว่า น นิพฺพิทาย ความว่า มิใช่เพื่อประโยชน์แก่ความเบื่อ-
หน่ายในวิฏฏะ. บทว่า น วิราคาย ความว่า มิใช่เป็นไปเพื่อประโยชน์
แก่การสำรอกราคะเป็นต้น. บทว่า น นิโรธาย ความว่า ไม่ใช่เป็นไป
เพื่อดับความไม่เป็นไป แห่งกิเลสมีราคะเป็นต้น. บทว่า น อุปสมาย คือ
ไม่ใช่เป็นไปเพื่อสงบระงับกิเลสมีราคะเป็นต้น. บทว่า น อภิญฺญาย
ความว่า มิใช่เป็นไป เพื่อต้องการรู้ยิ่ง.
บทว่า น สมฺโพธาย ความว่า มิใช่เพื่อต้องการแทงตลอด
มัคคญาณทั้ง 4 กล่าวคือ สัมโพธิญาณ. บทว่า น นิพฺพานาย ความว่า
ไม่ใช่เป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน. บทว่า นิวิฏฺฐสทฺโธ ความว่า
ผู้มีศรัทธาตั้งมั่นแล้ว. บทว่า นิวิฏฺฐเปโม ความว่า ได้แก่มีความรัก
ตั้งมั่นแล้ว. บทว่า เอกนฺตคโต ความว่า ถึงที่สุดยอด อธิบายว่า มีศรัทธา
ไม่คลอนแคลน. บทว่า อภิปฺปสนฺโน ความว่า เลื่อมใสเหลือเกิน. บทว่า
เอตทานุตฺตริยํ ความว่า การเห็นนี้ เป็นการเห็นที่ไม่มีการเห็นอย่างอื่น
เยี่ยมกว่า.
บทว่า หตฺถิสฺมิมฺปิ สิกฺขติ ความว่า ศึกษาหัตถิศิลปะที่มีช้าง
เป็นนิมิต ที่จะต้องศึกษา. แม้ในบททั้งหลายที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า อุจฺจาวจํ ได้แก่ ศึกษาศิลปะใหญ่น้อย. บทว่า อุปฏฐิตา ปาริจริเย
ความว่า บำรุงด้วยการปรนนิบัติ. บทว่า ภาวยนฺติ อนุสฺสตึ ความว่า
เจริญอนุสติอันยอดเยี่ยม. บทว่า วิเวกปฺปฏิสํยุตฺตํ ความว่า กระทำให้
อาศัยพระนิพพาน. บทว่า เขมํ ได้แก่ ปราศจากอุปัทวันตราย. บทว่า
อมตคามินํ ความว่า ให้ถึงพระนิพพาน อธิบายว่า บำเพ็ญอริยมรรค.
บทว่า อปฺปมาเท ปโมทิตา ความว่า บันเทิงทั่วในความ
ไม่ประมาท กล่าวคือการไม่อยู่ปราศจากสติ. บทว่า นิปกา ความว่า

ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน. บทว่า สีลสํวุตา ความว่า สังวร
คือปิดกั้นไว้ด้วยศีล. บทว่า เต เว กาเลน ปจฺจนฺติ ความว่า ภิกษุ-
เหล่านั้นแล ย่อมรู้ (เหตุที่ดับทุกข์) ตามกาลที่เหมาะสม. บทว่า ยตฺถ
ทุกฺขํ นิรุชฺฌติ
มีอธิบายว่า ภิกษุเหล่านั้น ย่อมรู้ฐานะเป็นที่ดับวัฏทุกข์
ทั้งสิ้น คืออมตมหานิพพาน. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอนุตริยะ
6 คละกันไปฉะนี้แล.
จบอนุตตริยสูตรที่ 10
จบอนุตตริยวรรควรรณนาที่ 3

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. สามกสูตร 2. อปริหานิยสูตร 3. ภยสูตร 4. หิมวันตสูตร
5. อนุสสติฐานสูตร 6. กัจจานสูตร 7. ปฐมสมยสูตร 8. ทุติยสมยสูตร
9. อุทายีสูตร 10. อนุตตริยสูตร และอรรถกถา.