เมนู

อรรถกถาอุทายีสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอุทายีสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุทายี ได้แก่ พระโลฬุทายีเถระ. บทว่า สุณามหํ อาวุโส
ความว่า ดูก่อนอาวุโส เราไม่ใช่คนใบ้ เราได้ยินพระดำรัสของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า แต่เรายังใคร่ครวญปัญหาอยู่. บทว่า อธิจิตฺตํ ได้แก่ สมาธิจิต
และวิปัสสนาจิต. บทว่า อิทํ ภนฺเต อนุสฺสติฏฺฐานํ ความว่า เหตุแห่ง
อนุสติ กล่าวคือฌานทั้ง 3 นี้. บทว่า ทิฏฺฐธมฺมสุขวิหาราย สํวตฺตติ
ความว่า ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่การอยู่เป็นสุข ในอัตภาพนี้เท่านั้น.
บทว่า อาโลกสญฺญํ ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นในอาโลกนิมิต. บทว่า ทิวา
สญฺญํ อธิฏฺฐาติ
ได้แก่ ตั้งสัญญาไว้ว้า กลางวัน. บทว่า ยถา ทิวา ตถา
รตฺต
ึ ความว่า ในเวลากลางวัน เธอมนสิการอาโลกสัญญาโดยประการใด
แม้ในเวลากลางคืน ก็มนสิการอาโลกสัญญานั้น อย่างนั้นเหมือนกัน.
บทว่า ยถา รตฺตึ ตถา ทิวา ความว่า ในเวลากลางคืน เธอมนสิการ
อาโลกสัญญาอย่างใด แม้ในเวลากลางวัน ก็มนสิการอาโลกสัญญานั้นอย่างนั้น
เหมือนกัน. บทว่า วิวเฏน ได้แก่ ปรากฏแล้ว. บทว่า อปริโยนทฺเธน
ความว่า จะถูกนิวรณ์รึงรัดไว้ก็หาไม่. บทว่า สปฺปภาสํ จิตฺตํ ภาเวติ
ความว่า เพิ่มพูนจิตพร้อมด้วยแสงสว่าง คือยังจิตนั้นให้เจริญ เพื่อประโยชน์
แก่ทิพยจักษุญาณ. ก็คำใดที่พระอานนทเถระเจ้ากราบทูลว่า อาโลกสญฺญํ
มนสิ กโรติ
คำนั้นพึงเข้าใจว่า ท่านกล่าวหมายเอาอาโลกสัญญาที่กำจัด
ถีนมิทธะออกไป ไม่ควรเข้าใจว่า หมายเอาอาโลกสัญญา คือทิพยจักษุญาณ.