เมนู

สุมนวรรคที่ 4


สุมนสูตร


ว่าด้วยเทวดามีความพิเศษต่างกันด้วยเหตุ 5


[31] ครั้งนั้นแล สุมนาราชกุมารี แวดล้อมด้วยรถ 500 คัน
และราชกุมารี 500 คน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคม
แล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า 2 คน มีศรัทธา
มีศีล มีปัญญาเท่า ๆ กัน คนหนึ่งเป็นผู้ให้ คนหนึ่งไม่ให้ คนทั้งสองนั้น เมื่อ
ตายไปแล้ว พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ แต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่เป็นเทวดา
เหมือนกัน พึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนสุมนา คนทั้งสองนั้นพึงมีความพิเศษแตกต่างกัน คือ ผู้ให้เป็นเทวดา
ย่อมข่มเทวดาผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ 5 ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ
และอธิปไตยที่เป็นทิพย์ ดูก่อนสุมนา ผู้ที่ให้เป็นเทวดา ย่อมข่มเทวดาผู้
ไม่ให้ด้วยเหตุ 5 ประการนี้.
สุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้าเทวดาทั้งสองนั้นจุติจากเทวโลกนั้น
แล้ว มาสู่ความเป็นมนุษย์ แต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่เป็นมนุษย์เหมือนกัน
พึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ.
พ. ดูก่อนสุมนา คนทั้งสอง มีความพิเศษแตกต่างกัน คือ ผู้ให้
เป็นมนุษย์ ย่อมข่มคนไม่ให้ได้ด้วยเหตุ 5 ประการ คือ อายุ วรรณะ
สุข ยศ
และอธิปไตยที่เป็นของมนุษย์ ดูก่อนสุมนา ผู้ให้เป็นมนุษย์ย่อม
ข่มคนผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ 5 ประการนี้.

สุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้าคนทั้งสองนั้น ออกบวช แต่คนทั้งสอง
นั้น ทั้งที่เป็นบรรพชิตเหมือนกัน พึงมีควานพิเศษแตกต่างกันหรือ.
พ. ดูก่อนสุมนา คนทั้งสองนั้นมีความพิเศษแตกต่างกัน คือ คน
ที่ให้เป็นบรรพชิต ย่อมข่มคนที่ไม่ให้ด้วยเหตุ 5 ประการ คือ เมื่อออกปาก
ขอย่อมได้จีวรมาก เมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย เมื่อออกปากขอย่อมได้
บิณฑบาตมาก เมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย เมื่อออกปากขอย่อมได้เสนาสนะ
มาก เมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย เมื่อออกปากขอย่อมได้บริขารคือยาที่เป็น
เครื่องบำบัดไข้มาก เมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย และจะอยู่ร่วมกับเพื่อน
พรหมจรรย์เหล่าใด เพื่อนพรหมจรรย์เหล่านั้นก็ประพฤติต่อเธอด้วยกายกรรม
วจีกรรม มโนกรรม เป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก ไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย
ย่อมนำสิ่งเป็นที่พอใจมาเป็นส่วนมาก ย่อมนำสิ่งไม่เป็นที่พอใจมาเป็นส่วนน้อย
ดูก่อนสุมนา ผู้ให้เป็นบรรพชิต ย่อมข่มผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ 5 ประการนี้.
สุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้าคนทั้งสองนั้นบรรลุอรหัต แต่คนทั้ง-
สองนั้นทั้งที่ได้บรรลุอรหัตเหมือนกัน พึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ.
พ. ดูก่อนสุมนา เราไม่กล่าวว่ามีเหตุแตกต่างกันใด ๆ ในวิมุตติ
กับวิมุตติ ข้อนี้.
สุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญไม่เคยมี
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้กำหนดได้ว่า ควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะ
บุญเป็นอุปการะแม้แก่เทวดา แม้แก่มนุษย์ แม้แก่บรรพชิต.
พ. อย่างนั้นสุมนา อย่างนั้นสุมนา ควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะ
บุญเป็นอุปการะแม้แก่เทวดา แม้แก่มนุษย์ แม้แก่บรรพชิต.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง
แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน โคจรไป
ในอากาศย่อมสว่างกว่าหมู่ดาวทั้งปวงใน
โลก ด้วยรัศมี ฉันใด บุคคลผู้สมบูรณ์
ด้วยศีล มีศรัทธา ก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์
กว่าผู้ตระหนี่ทั้งปวงในโลกด้วยจาคะ. เมฆ
ที่ลอยไปตามอากาศ มีสายฟ้าปลาบแปลบ
มีช่อตั้งร้อย ตกรดแผ่นดินเต็มที่ดอนและ
ที่ลุ่ม ฉันใด สาวกของพระสัมมาสัม-
พุทธเจ้าผู้สมบูรณ์ด้วยทัศนะ เป็นบัณฑิต
ก็ฉันนั้น ย่อมข่มผู้ตระหนี่ได้ด้วยฐานะ 5
ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และ
เปี่ยมด้วยโภคะ ย่อมบันเทิงใจในสวรรค์
ในปรโลก ดังนี้.

จบสุมนสูตรที่ 1

อรรถกถาสุมนสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสุมนสูตรที่ 1 วรรคที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สุมนา ราชกุมาร ได้แก่ เจ้าหญิง ผู้ได้พระนามอย่างนั้น
เพราะทรงกระทำมหาสักการะแล้ว ทรงตั้งความปรารถนาไว้. ความพิสดาร
มีว่า ครั้งพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพวกชาวเมืองคิดกันว่า พวกเรา
ทำการรบเสร็จแล้ว จักยึดพระศาสดาของพวกเราไว้ จึงริเริ่มที่จะได้พระสงฆ์
มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข อาศัยเสนาบดีแล้วทำบุญตามลำดับ ในวันแรก ๆ
แห่งวันทั้งหมดเป็นวาระของเสนาบดี. ในวันนั้นเสนาบดีเตรียมมหาทาน
วางคนรักษาการณ์ไว้โดยรอบสั่งว่า วันนี้ พวกเจ้าจงคอยรักษาการณ์ไว้โดยที่
ใคร ๆ อื่นจะไม่ถวายแม้ภิกษาสักอย่างหนึ่ง. วันนั้นภรรยาเศรษฐีร้องไห้ พูด
กะธิดา ซึ่งเล่นกับพวกหญิงสาว 500 คนกลับมาแล้วว่า ลูกเอ๋ย หากว่าบิดา
ของลูกยังมีชีวิตอยู่ วันนี้แม่ต้องนิมนต์พระทศพลฉันเป็นรายแรก. ลูกสาว
พูดกะมารดาว่า แม่จ๋า แม่อย่าคิดเลย ลูกจักทำโดยวิธีที่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประมุข จักฉันภิกษาของเราเป็นรายแรก ต่อจากนั้น ธิดาจึงบรรจุข้าว-
ปายาสที่ไม่มีน้ำลงในถาดทองคำมีค่าแสนหนึ่งจนเต็ม แล้วปรุงด้วยเนยใส
น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวดเป็นต้น เอาถาดอีกถาดหนึ่งครอบ เอาพวงมาลัย
ดอกมะลิล้อมภาชนะนั้น ทำคล้ายพวงดอกไม้ ครั้นได้เวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จเข้าไปบ้าน นางยกเองมีหมู่ทาสีแวดล้อมออกจากเรือนไป. ครั้นถึง
ระหว่างทาง พวกคนรับใช้ของเสนาบดีพูดว่า แม่หนูอย่ามาทางนี้. ธรรมดา
ผู้มีบุญมาก ย่อมมีถ้อยคำต้องใจคน ถ้อยคำของคนรับใช้เสนาบดีเหล่านั้น
ซึ่งพูดแล้วพูดเล่า ก็ไม่อาจห้ามไว้ได้. นางกล่าวว่า ท่านอา ท่านลุง ท่านน้า