เมนู

ของเรามีอยู่ เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศีลเช่นใด ด้วยสุตะเช่นใด ด้วย
จาคะเช่นใด ด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น
ปัญญาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อม
ระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ของตนและของเทวดาเหล่านั้น
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม
ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป
หลุดไปจากความอยาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อ
ของเบญจกามคุณ สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำเทวดานุสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์
ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุสติ 6 ประการนี้แล.
จบอนุสสติฏฐานสูตรที่ 5

อรรถกถาอนุสสติฏฐานสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอนุสสติฏฐานสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนุสฺสติฏฺฐานานิ ได้แก่ เป็นเหตุแห่งอนุสิ. บทว่า
อิติปิ โส ภควา เป็นต้น ข้าพเจ้าได้ให้พิสดารในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
แล้วทั้งนั้น. บทว่า อิทมฺปิ โข ภิกฺขเว อารมฺมณํ กริตฺวา ความว่า
กระทำพุทธานุสติกัมมัฏฐานนี้ ให้เป็นอารมณ์. บทว่า วิสุชฺฌนฺติ ความว่า
ถึงพระนิพพานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง. ข้อความที่เหลือ ในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้น.
ก็ในพระสูตรนี้พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอนุสติกัมมัฏฐาน 6
อย่างไว้คละกัน.
จบอรรถกถาอนุสสติฏฐานสูตรที่ 5

6. กัจจานสูตร


ว่าด้วยอนุสติสำหรับพระอริยสาวก


[297] ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหากัจจานะ เรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหากัจจานะแล้ว
ท่านพระมหากัจจานะได้กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์
ไม่เคยมีมาแล้ว คือ ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ถึงโอกาสได้ในที่คับแคบ เพื่อความบริสุทธิ์
แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อ
บรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน การถึงโอกาสนี้ คือ อนุสติ
6 ประการ 6 ประการเป็นไฉน ?
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึง
พระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด
อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระตถาคต สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิต
ไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนิน
ไปตรงทีเคียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไบ่จากความอยาก ดูก่อนท่าน
ผู้มีอายุทั้งหลาย คำว่าความอยากนี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ อริยสาวกนั้นแล
ย่อมมีใจเสมอด้วยอากาศ ไพบูลย์เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียน โดยประการทั้งปวงอยู่ สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำพุทธา-
นุสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดา ด้วยประการ
ฉะนี้.