เมนู

ในการเข้าสมาธิ 1 เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่แห่งสมาธิ 1 เป็นผู้ฉลาดในการ
ออกแห่งสมาธิ 1 เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมมูลแห่งสมาธิ 1 เป็นผู้ฉลาดใน
อารมณ์แห่งสมาธิ 1 เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้แล พึงทำลายขุนเขาหิมวันต์ได้ จะป่วย
กล่าวไปไยถึงอวิชชาอันลามกเล่า.
จบหิมวันตสูตรที่ 4

อรรถกถาหิมวันตสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในหิมวันตสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า ปทาเลยฺย แปลว่า พึงทำลาย. บทว่า ฉวาย ได้แก่
ต่ำทราม. บทว่า สมาธิสฺส สมาปตฺติกุสโล โหติ ความว่า ภิกษุย่อม
เป็นผู้ฉลาด คือเฉียบแหลม ได้แก่มีปรีชาสามารถ เพื่อเข้าสมาธิ โดยกำหนด
เอาอาหารเป็นที่สบาย และฤดูเป็นที่สบาย. บทว่า สมาธิสฺส ฐิตกุสโล
ความว่า เป็นผู้ฉลาดในการหยุดสมาธิไว้ได้ อธิบายว่า สามารถจะยับยั้งไว้ได้.
บทว่า สมาธิสฺส วุฏฐานกุสโล ความว่า เป็นผู้ฉลาดในการออกสมาธิ
อธิบายว่า สามารถเพื่อจะออกได้ตามกำหนด. บทว่า สมาธิสฺส กลฺลิต
กุสโล
ความว่า เป็นผู้ฉลาดในความที่สมาธิควรแก่กาล อธิบายว่า สามารถ
เพื่อจะทำให้สมควร เพื่อให้สมาธิจิตร่าเริง.
บทว่า สมาธิสฺส โคจรกุสโล ความว่า ภิกษุเมื่อเว้นอสัปปายะ
คือธรรมที่ไม่ได้เป็นอุปการะแก่สมาธิ ส้องเสพสัปปายะ คือธรรมที่เป็นอุปการะ
(แก่สมาธิ) ก็ดี รู้อยู่ว่า สมาธินี้มีนิมิตเป็นอารมณ์ สมาธินี้ มีลักษณะ
เป็นอารมณ์ก็ดี ชื่อว่า เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์ของสมาธิ.

บทว่า สมาธิสฺส อภินีหารกุสโล ความว่า ภิกษุเมื่อสามารถ
เพื่อจะนำสมาธิมีปฐมฌานเป็นต้น ให้ก้าวหน้าไป เพื่อประโยชน์แก่การ
เข้าสมาบัติสูง ๆ ขึ้นไป ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาด ในความก้าวหน้าของสมาธิ คือ
เธอออกจากปฐมฌานแล้ว เข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว ฯลฯ ออกจาก
ตติยฌานแล้ว เข้าจตุตถฌาน ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาหิมวันตสูตรที่ 4

5. อนุสสติฏฐานสูตร


ว่าด้วยอนุสติ 6 ประการ


[296] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุสติ 6 ประการนี้ 6 ประการ
เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึง
พระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น. . . เป็นผู้
เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวก
ย่อมระลึกถึงพระตถาคต สมัยนั้น จิตของพระอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูก
ราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไป
ตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
คำว่าความอยากนี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำพุทธา-
นุสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ ได้ด้วยประการฉะนี้.
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรม สมัยนั้น จิตของอริยสาวก