เมนู

นี้ ผู้นั้นพึงยินดีสุขที่ไม่สะอาด สุขในการนอน และสุขที่อาศัยลาภ สักการะ
และการสรรเสริญ ดูก่อนนาคิตะ อาหาร ที่กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้วย่อมมี
อุจจาระและปัสสาวะเป็นผล นี้เป็นผลแห่งอาหารนั้น ความรักมีโสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ที่เกิดขึ้นเพราะสิ่งที่รักแปรปรวนเป็นอื่นเป็นผล
นี้เป็นผลแห่งความรักนั้น ความเป็นของปฏิกูลในอสุภนิมิต ย่อมตั้งอยู่แก่ภิกษุ
ผู้ขวนขวายการประกอบตามอสุภนิมิต นี้เป็นผลแห่งการประกอบตามอสุภนิมิต
นั้น ความเป็นของปฏิกูลในผัสสะ ย่อมตั้งอยู่แก่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง
ในผัสสายตนะ 6 อยู่ นี้เป็นผลแห่งการพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในผัสสายตนะ
นั้น ความเป็นของปฏิกูลในอุปาทาน ย่อมตั้งอยู่แก่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นความเกิด
และความดับในอุปาทานขันธ์ 5 นี้เป็นผลแห่งการพิจารณาเห็นความเกิดและ
ความดับในอุปาทานขันธ์.
จบนาคิตสูตรที่ 10
จบปัญจังคิกวรรคที่ 3

อรรถกถานาคิตสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในนาคิตสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
ชื่อว่าอุจฺจาสทฺทมหาสทฺทา เพราะชื่อว่ามีเสียงสูงเพราะเสียงขึ้นไป
เบื้องบน และชื่อว่ามีเสียงดังเพราะเสียงเป็นกลุ่มก้อน จริงอยู่เมื่อชนทั้งหลาย
มีกษัตริย์มหาศาลและพราหมณ์มหาศาลเป็นต้น ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ถือสักการะ
เป็นอันมาก พากันเดินมา เมื่อพวกเขาพูดว่า ท่านจงให้โอกาสแก่คนโน้น
จงให้โอกาสแก่คนโน้นดังนี้ เมื่อต่างคนต่างพูดกันอย่างนี้ว่า เราไม่มีโอกาส
ก่อนดังนี้ เสียงก็สูงและดัง. บทว่า เกวฏฺฎา มญฺเญ มจฺเฉ วิโลเปนฺติ

แปลว่า ชะรอยชาวประมง. จริงอยู่ เมื่อชาวประมงเหล่านั้น ถือกระจาดใส่ปลา
เดินมาในตลาดขายปลา ย่อมจะมีเสียงเช่นนี้ของหมู่ชนผู้ซึ่งต่างพูดกันว่า ขาย
ให้ข้านะ ขายให้ข้านะดังนี้.
บทว่า มิฬฺหสุขํ ได้แก่สุขไม่สะอาด. บทว่า มิทฺธสุขํ ได้แก่สุข
ในการหลับ. บทว่า ลาภสกฺการสิโลกสุขํ ได้แก่สุขเกิดขึ้นเพราะอาศัยลาภ
สักการะและการสรรเสริญ. บทว่า ตํนินฺนาว ภวิสฺสนฺติ ท่านอธิบายว่า
ชนทั้งหลายจักไป คือจักติดตามไปยังที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปแล้วนั่น
แหละ. บทว่า ตถา หิ ภนฺเต ภควโต สีลปญฺญาณํ ความว่าเพราะเหตุ
ที่ศีลและความมีชื่อเสียงของพระองค์มีอยู่อย่างนั้น.
บทว่า มา จ มยา ยโส ความว่า แม้ยศก็อย่าร่วมไปกับเราเลย. บทว่า
เอโส ตสฺส นิสฺสนฺโท ได้แก่นี้เป็นผลสำเร็จแห่งความเป็นของไม่สะอาด.
บทว่า ปิยานํ ได้แก่ที่ให้เกิดน่ารัก. บทว่า เอโส ตสฺส นิสฺสนฺโท
ได้แก่ นี้เป็นผลสำเร็จแห่งความเป็นของน่ารัก. บทว่า อสุภนิมิตฺตานุโยคํ
ได้แก่ประกอบเนืองๆ ซึ่งอสุภกรรมฐาน. บทว่า สุภนิมิตฺเต ได้แก่อิฏฐารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งราคะ. บทว่า เอโส ตสฺส นิสฺสนฺโท ได้แก่นี้เป็นผล
สำเร็จแห่งการประกอบเนืองๆ ซึ่งอสุภนิมิตนั้น. ในสูตรนี้ตรัสวิปัสสนาในฐานะ
5 เหล่านี้ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถานาคิตสูตรที่ 10
จบปัญจังคิกวรรควรรณนาที่ 3

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปฐมคารวสูตร 2. ทุติยคารวสูตร 3. อุปกิเลสสูตร 4. ทุส-
สีลสูตร 5. อนุคคหสูตร 6. วิมุตติสูตร 7. สมาธิสูตร 8. อังคิกสูตร
9. จังกมสูตร 10. นาคิตสูตร และอรรถกถา