เมนู

อันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางวันไม่มี ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและ
ปราโมทย์ ตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืนอยู่เถิด ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็มรณสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด.
จบทุติยมรณัสสติสูตรที่ 10
จบสาราณิยาทิวรรคที่ 2

อรรถกถาทุติยมรณัสสติสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทุติยมรณัสสติสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปฏิหิตาย แปลว่า ดำเนินไปแล้ว. บทว่า อิติ ปฏิสญฺจิกฺขติ
ความว่า ย่อมพิจารณาอย่างนี้. ในบทนี้ว่า โส มมสฺส อนฺตราโย ดังนี้
อันตรายมี 3 อย่าง คือ อันตรายแห่งชีวิต 1 อันตรายแห่งสมณธรรม 1
อันตรายแห่งสวรรค์ อันตรายแห่งมรรคสำหรับผู้ทำกาลกิริยาของปุถุชน 1
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสหมายถึง อันตรายทั้ง 3 อย่างนั้นทีเดียว.
บทว่า พฺยาปชฺเชยฺย ความว่า พึงวิบัติไป ด้วยสามารถแห่งการไม่
ย่อยเป็นต้น. บทว่า อธิมตฺโต แปลว่า มีกำลัง. ความพอใจ คือความ
เป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ ชื่อว่า ฉันทะ. ความเพียรในการประกอบกิจ ชื่อว่า
วายามะ. ความเพียรที่เป็นเหตุ แห่งความกระตือรือร้น ชื่อว่า อุตสาหะ
ความเพียรที่เป็นเหตุให้ถึงพร้อม (สำเร็จ) ชื่อว่า อุสโสฬหิ. ความไม่

ท้อถอย คือความไม่หดกลับ ชื่อว่า อัปปฏิวานี. คำที่เหลือในบททั้งปวง
มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาทุติยมรณัสสติสูตรที่ 10
จบสาราณิยาทิวรรควรรณาที่ 2

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปฐมสาราณียสูตร 2. ทุติยสาราณียสูตร 3. เมตตาสูตร
4. ภัททกสูตร 5. อนุตัปปิยสูตร 6. นกุลสูตร 7. กุสลสูตร 8. มัจฉสูตร
9. ปฐมมรณัสสติสูตร 10. ทุติยมรณัสสติสูตร และอรรถกถา.