เมนู

อันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางวันไม่มี ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและ
ปราโมทย์ ตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืนอยู่เถิด ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็มรณสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด.
จบทุติยมรณัสสติสูตรที่ 10
จบสาราณิยาทิวรรคที่ 2

อรรถกถาทุติยมรณัสสติสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทุติยมรณัสสติสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปฏิหิตาย แปลว่า ดำเนินไปแล้ว. บทว่า อิติ ปฏิสญฺจิกฺขติ
ความว่า ย่อมพิจารณาอย่างนี้. ในบทนี้ว่า โส มมสฺส อนฺตราโย ดังนี้
อันตรายมี 3 อย่าง คือ อันตรายแห่งชีวิต 1 อันตรายแห่งสมณธรรม 1
อันตรายแห่งสวรรค์ อันตรายแห่งมรรคสำหรับผู้ทำกาลกิริยาของปุถุชน 1
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสหมายถึง อันตรายทั้ง 3 อย่างนั้นทีเดียว.
บทว่า พฺยาปชฺเชยฺย ความว่า พึงวิบัติไป ด้วยสามารถแห่งการไม่
ย่อยเป็นต้น. บทว่า อธิมตฺโต แปลว่า มีกำลัง. ความพอใจ คือความ
เป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ ชื่อว่า ฉันทะ. ความเพียรในการประกอบกิจ ชื่อว่า
วายามะ. ความเพียรที่เป็นเหตุ แห่งความกระตือรือร้น ชื่อว่า อุตสาหะ
ความเพียรที่เป็นเหตุให้ถึงพร้อม (สำเร็จ) ชื่อว่า อุสโสฬหิ. ความไม่