เมนู

อรรถกถาปฐมมรณัสสติสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปฐมามรณัสสติสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า นาทิเก ได้แก่ ในบ้านที่มีชื่ออย่างนี้. บทว่า คิญฺชกาวสเถ
ได้แก่ ในปราสาทที่ก่อด้วยอิฐ. บทว่า อมโตคธา ได้แก่ หยั่งลงสู่พระ-
นิพพาน อธิบายว่า เข้าสู่พระนิพพาน. บทว่า อโห วต เป็นนิบาตลงใน
อรรถว่าที่สุด. บทว่า ภาเวถ โน แปลว่า จงเจริญเถิด. บทว่า มรณสฺสตึ
ได้แก่ มรณสติกัมมัฏฐาน. ศัพท์ว่า อโห วต เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า
ปรารถนา. บทว่า อหุ วต เม กตํ อสฺส ความว่า กิจของข้าพระองค์ใน
ศาสนาของพระองค์ พึงเป็นกิจที่ข้าพระองค์กระทำให้มาก. บทว่า ตทนฺตรํ
ความว่า ในระหว่างคือขณะ ได้แก่โอกาสนั้น. ในบทว่า อสฺสสิตฺวา วา
ปสฺสสามิ
นี้ ลมที่เข้าไปข้างใน ท่านเรียกว่า อัสสาสะ ลมที่ออกมาภายนอก
ท่านเรียกว่า ปัสสาสะ. ภิกษุนี้ปรารถนาจะดำรงชีวิตอยู่ ชั่วเวลาที่ลมเข้าไป
ข้างใน กลับออกมาข้างนอก ลมที่ออกไปข้างนอก กลับเข้ามาข้างใน จึงได้
ทูลอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
ว่า ทนฺธํ ได้แก่ เป็นไปอ่อน ๆ หนัก คือไม่เร็ว. บทว่า อาสวนํ
ขยาย
ได้แก่ เพื่อพระอรหัตผล. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
มรณสติไปจนถึงพระอรหัตผล.
จบอรรถกถาปฐมมรณัสสติสูตรที่ 9

10. ทุติยมรณัสสติสูตร


ว่าด้วยการเจริญมรณสติมีผลมาก


[291] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปราสาทสร้าง
ด้วยอิฐ ใกล้บ้านนาทิกคาม ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มรณสติอันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ก็มรณสติ
อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางวันผ่านไป
กลางคืนย่างเข้ามา ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เหตุแห่งความตายของเรามีมาก
หนอ คือ งูพึงกัดเรา แมลงป่องพึงต่อยเรา หรือตะขาบพึงกัดเรา เราพึงตาย
เพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา เราพึงพลาดล้มลง อาหารที่เราฉัน
แล้วไม่พึงย่อย ดีของเราพึงกำเริบ เสมหะของเราพึงกำเริบ หรือลมที่มีพิษ
เพียงดังศาสตราของเราพึงกำเริบ เราพึงตายเพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมี
แก่เรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมอันเป็น
บาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละใน
กลางคืน มีอยู่หรือหนอ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอัน
เป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละใน
กลางคืนยังมีอยู่ ภิกษุนั้นพึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความ-
เพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละธรรมอัน
เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าโพกศีรษะถูกไฟไหม้ หรือ