เมนู

หวังประโยชน์ กล่าวเตือนพร่ำสอนท่าน ดูก่อนคฤหบดี พวกสาวิกาของเรา
ที่ยังเป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มผ้าขาว กระทำให้บริบูรณ์ในศีล มีประมาณเท่าใด
นกุลมารดาคฤหปตานีก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น พวกสาวิกา
ของเราที่ยังเป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มผ้าขาว ได้ความสงบใจ ภายใน มีประมาณ
เท่าใด นกุลมารดาคฤหปตานีก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น พวก
สาวิกาของเราที่ยังเป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มผ้าขาว ได้ถึงการหยั่งลงถึงที่พึ่ง ถึงความ
เบาใจ ข้ามพ้นความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า
ในธรรมวินัยนี้ ไม่มีความเชื่อถือต่อผู้อื่นในศาสนาของพระศาสดา มีประมาณ
เท่าใด นกุลมารดาคฤหปตานีก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น ดูก่อน
คฤหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่นกุลมารดาคฤหปตานีเป็นผู้อนุ-
เคราะห์หวังประโยชน์ กล่าวเตือนสั่งสอนท่าน.
จบนกุลสูตรที่ 6

อรรถกถานกุลสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในกุลสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า พาฬฺหคิลาโน แปลว่า เป็นไข้หนักมาก. บทว่า เอตทโวจ
ความว่า คหปตานี ผู้เป็นนกุลมารดา เมื่อไม่สามารถจะจัดยาระงับพยาธิของ
สามีได้ บัดนี้เมื่อจะระงับพยาธิ โดยการบันลือสีหนาท ทำสัจกิริยา จึงนั่ง
ใกล้สามี แล้วกล่าวคำนี้มีอาทิว่า มา โข ติวํ (ท่านอย่ากังวลเลย) ดังนี้.
บทว่า สาเปกฺโข ได้แก่ ยังมีตัณหา. อักษร ในบทว่า น นกุลมาตา
นี้ ต้องประกอบเข้าโดยบทหลังอย่างนี้ว่า น เปกฺขติ. บทว่า สนฺถริตุํ

ความว่า เพื่อกระทำให้ไม่มีช่อง. อธิบายว่า ปู (ให้เต็ม). บทว่า เวณึ
โอลิขิตุํ ความว่า เพื่อเตรียมขนแกะ เอามีสางทำให้เป็นช้อง. บทว่า
อญฺญํ ภตฺตารํ คมิสฺสติ ความว่า เราจักมีสามีใหม่อีก. บทว่า โสฬส
วํสฺสานิ คหฏฺฐพฺรหฺมจริยํ สมาจิณฺณํ
ความว่า นับย้อนหลังจากนี้ไป
16 ปี ดิฉันได้ประพฤติพรหมจรรย์ของคฤหัสถ์ อย่างสม่ำเสมอ. บทว่า
ทสฺสนกามตรา ความว่า อยากจะเฝ้า (พระพุทธเจ้า) โดยยิ่ง ๆ ขึ้นไป.
นางได้บันลือสีหนาทโดยองค์ 3 เหล่านี้แล้ว ได้ทำสัจกิริยาว่า ด้วยความ
สัตย์จริง ขอพยาธิในร่างกายของท่าน (จงเหือดหาย) กลายเป็นความ
สำราญ.
บัดนี้ เพื่อจะอ้างพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสักขีพยาน ทำสัจกิริยา แม้
โดยคุณมีศีลเป็นต้นของตน นางจึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า สิยา โข ปน เต
ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริปูรการินี ได้แก่ กระทำให้สมบูรณ์.
บทว่า เจโตสมถสฺส ได้แก่ สมาธิกัมมัฏฐาน. บทว่า โอคาธปฺปตฺตา
ได้แก่ ถึงการหยั่งลง คือเข้าถึงเนือง ๆ. บทว่า ปฏิคาธปฺปตฺตา ได้แก่
ถึงการหยั่งลงเฉพาะ คือมั่นคง. บทว่า อสฺสาสปฺปตฺตา ได้แก่ ถึงความ
ปลอดโปร่ง คือเอาเป็นที่พึ่งได้. บทว่า เวสารชฺชปฺปตฺตา ได้แก่ถึง
โสมนัสญาณ. บทว่า อปรปฺปจฺจยา ความว่า ศรัทธาเนื่องด้วยผู้อื่น คือ
ปฏิปทาที่ต้องอาศัยผู้อื่น ท่านเรียกว่า ปรปัจจยะ (มีผู้อื่นเป็นปัจจัย)
อธิบายว่า เว้นจากการมีผู้อื่นเป็นปัจจัยนั้น.
นางคฤหปตานี ผู้เป็นมารดาของนกุลมาณพ ได้ทำสัจกิริยา ปรารภ
คุณความดีของตน ด้วยองค์ 3 เหล่านี้. บทว่า คิลานา วุฏฺฐิโต ความว่า

เป็นไข้แล้วหาย. บทว่า ยาวตา ได้แก่ หมู่ของผู้บำเพ็ญเพียร. บทว่า ตาสํ
อญฺญตรา
ได้แก่ เป็นคนหนึ่งในระหว่างสาวิกาเหล่านั้น. บทว่า อนุกมฺปิกา
ได้แก่ ผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล. บทว่า โอวาทิกา ได้แก่ ผู้ให้โอวาท.
บทว่า อนุสาสิกา ได้แก่ ผู้ให้การพร่ำสอน.
จบอรรถกถานกุลสูตรที่ 6

7. กุสลสูตร


ว่าด้วยโทษของการเห็นแก่หลับนอน


[288] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร-
เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เสด็จเข้าไปยังศาลาที่เร้นใน
ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้ว แม้ท่านพระสารีบุตรที่ออกจากที่เร้นใน
เวลาเย็นเข้าไปยังศาลาที่บำรุง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แม้ท่านพระมหาโมคคัลลานะ แม้ท่านพระมหากัสสปะ
แม้ท่านพระมหากัจจายนะ แม้ท่านพระมหาโกฏฐิกะ แม้ท่านพระมหาจุนทะ
แม้ท่านพระมหากัปปินะ แม้ท่านพระมหาโกฏฐิกะ แม้ท่านพระมหาจุนทะ
พระอานนท์ ก็ออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เข้าไปยังศาลาที่บำรุง ถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้งนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงยับยั้งอยู่ด้วยการประทับนั่งสิ้นราตรีเป็นอันมาก แล้วทรงลุกจาก
อาสนะเสด็จเข้าไปยังพระวิหาร แม้ท่านเหล่านั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า