เมนู

เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการ
ที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ตายแล้วย่อมไม่เดือดร้อน อย่างนี้แล ภิกษุนี้เรียกว่า
ผู้ยินดีนิพพาน ละสักกายะ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ.
ครั้นท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้กล่าว
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ผู้ใดประกอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่น-
ช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนินช้า เช่นดัง
มฤค ผู้นั้นย่อมไม่ได้ชมนิพพานที่เกษม
จากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ส่วน
ผู้ใดละธรรมที่เป็นเหตุให้เนินช้า ยินดีใน
บทคือธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้นั้น
ย่อมได้ชมนิพพานที่เกษมจากโยคะ หา
ธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้.

จบอนุตัปปิยสูตรที่ 5

อรรถกถาอนุตัปปิยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอนุตัปปิยสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนุตปฺปา ความว่า ต้องโศกเศร้าในภายหลัง คือทำความ
เดือดร้อนให้ในภายหลัง. ในพระสูตรแม้ทั้งสองเหล่านี้ก็ดี ในคาถาทั้งหลายก็ดี
พระสารีบุตรกล่าวไว้ทั้งวัฏฏะ และวิวัฏฏะ.
จบอรรถกถาอนุตัปปิยสูตรที่ 5

6. นกุลสูตร


ว่าด้วยคำเตือนของนกุลมารดาคฤหปตานี


[287] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ป่าเภสกาลามิค-
ทายวัน ใกล้นครสุงสุมารคีระ แคว้นภัคคะ สมัยนั้น นกุลบิดาคฤหบดีอาพาธ
มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น นกุลมารดาคฤหปตานีได้กล่าวเตือนนกุลบิดา
คฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี ท่านอย่าเป็นผู้มีความห่วงใยกระทำกาละเลย
เพราะการกระทำกาละของผู้มีความห่วงใยเป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็ทรงติเตียน ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะพึงมีความห่วงใยอย่างนี้ว่า เมื่อเราล่วง
ไปแล้ว นกุลมารดาคฤหปตานี จักไม่สามารถเลี้ยงทารกดำรงการอยู่ครองเรือน
ไว้ได้ แต่ข้อนั้นท่านไม่พึงเห็นอย่างนี้ เพราะดิฉันเป็นคนฉลาดปันฝ้าย
ทำขนสัตว์ เมื่อท่านล่วงไปแล้ว ดิฉันย่อมสามารถเลี้ยงทารก ดำรงการอยู่
ครองเรือนไว้ได้ เพราะฉะนั้น ท่านอย่าเป็นผู้มีความห่วงใยกระทำกาละเลย
เพราะการกระทำกาละของผู้มีความห่วงใยเป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็ทรงติเตียน.
ดูก่อนคฤหบดี ก็ท่านจะพึงมีความห่วงใยอย่างนี้ว่า เมื่อเราล่วงไปแล้ว
นกุลมารดาคฤหปตานี จักได้คนอื่นเป็นสามี แต่ข้อนั้นท่านไม่พึงเห็นอย่างนี้
ทั้งท่านทั้งดิฉันย่อมรู้ว่า ได้อยู่ร่วมกันมาอย่างเคร่งครัดต่อระเบียบประเพณี
ตลอด 16 ปี เพราะฉะนั้น ท่านอย่าเป็นผู้มีความห่วงใยกระทำกาละเลย
เพราะการกระทำกาละของผู้มีความห่วงใยเป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงติเตียน.