เมนู

5. อนุตัปปิยสูตร


ว่าด้วยการอยู่ที่ทำให้เดือดร้อนและไม่เดือดร้อน


[286] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการ
อยู่ ตายแล้วย่อมเดือดร้อน ก็ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เธอสำเร็จ
การอยู่ ตายแล้วย่อมเดือดร้อนเป็นอย่างไร ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ชอบการงาน ยินดีการงาน ขวนขวายความชอบการงาน ชอบการคุย. . .
ชอบความหลับ. . . ชอบความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ. . . ชอบความคลุกคลี
ด้วยคฤหัสถ์. . . ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ขวนขวายความชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย
ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ตายแล้วย่อมเดือด
ร้อนอย่างนี้แล ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีสักกายะ ไม่ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์
โดยชอบ.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอ
สำเร็จการอยู่ ตายแล้วย่อมไม่เดือดร้อน ก็ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการ
ที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ตายแล้วย่อมไม่เดือดร้อน เป็นอย่างไร ? คือ ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ ไม่ชอบการงาน ไม่ยินดีการงาน ไม่ขวนขวายความชอบ
การงาน ไม่ชอบการคุย. . . ไม่ชอบความหลับ . . . ไม่ชอบความคลุกคลี
ด้วยหมู่คณะ. . . ไม่ชอบความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ไม่ชอบธรรมที่เป็นเหตุ
ให้เนิ่นช้า ไม่ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ไม่ขวนขวายความชอบธรรมที่

เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการ
ที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ตายแล้วย่อมไม่เดือดร้อน อย่างนี้แล ภิกษุนี้เรียกว่า
ผู้ยินดีนิพพาน ละสักกายะ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ.
ครั้นท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้กล่าว
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ผู้ใดประกอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่น-
ช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนินช้า เช่นดัง
มฤค ผู้นั้นย่อมไม่ได้ชมนิพพานที่เกษม
จากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ส่วน
ผู้ใดละธรรมที่เป็นเหตุให้เนินช้า ยินดีใน
บทคือธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้นั้น
ย่อมได้ชมนิพพานที่เกษมจากโยคะ หา
ธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้.

จบอนุตัปปิยสูตรที่ 5

อรรถกถาอนุตัปปิยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอนุตัปปิยสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนุตปฺปา ความว่า ต้องโศกเศร้าในภายหลัง คือทำความ
เดือดร้อนให้ในภายหลัง. ในพระสูตรแม้ทั้งสองเหล่านี้ก็ดี ในคาถาทั้งหลายก็ดี
พระสารีบุตรกล่าวไว้ทั้งวัฏฏะ และวิวัฏฏะ.
จบอรรถกถาอนุตัปปิยสูตรที่ 5