เมนู

ชื่อว่าเป็นอันพยากรณ์อรหัตผลแล้ว. บทว่า วิจิกิจฺฉากถํกถาสลฺลํ ได้แก่
ลูกศรคือความสงสัยเคลือบแคลง.
บทว่า มา เทวนฺติสฺส วจนีโย ความว่า ถ้าว่าวิจิกิจฉา
ที่ปฐมมรรคจะพึงฆ่า เกิดขึ้นแก่ท่านไซร้ การพยากรณ์อรหัตผล ย่อมผิดพลาด
เพราะฉะนั้น ท่านต้องถูกห้ามว่า อย่าพูดเรื่องไม่จริง.
บทว่า อสฺมีติ มานสมุคฺฆาโต ได้แก่ อรหัตมรรค. อธิบายว่า
เมื่อเห็นพระนิพพานด้วยอรหัตมรรคแล้ว อัสมิมานะย่อมไม่มีอีก เพราะฉะนั้น
อรหัตมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ถอนขึ้นได้ซึ่งมานะว่าเรามี.
ในพระสูตรนี้ ตรัสให้ชื่อว่า อภูตพยากรณ์ (พยากรณ์เรื่องไม่จริง)
ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.
จบอรรถกถาเมตตาสูตรที่ 3

4. ภัททกสูตร


ว่าด้วยการอยู่ที่เจริญและไม่เจริญ


[285] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระ
สารีบุตรได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการ
ที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ย่อมไม่มีความตายที่เจริญ ตายแล้วก็ไม่เจริญ ก็ภิกษุ
ย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ย่อมไม่มีความตายที่
เจริญ ตายแล้วก็ไม่เจริญ เป็นอย่างไร ? คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้

ชอบการงาน (นวกรรม) ยินดีการงาน ขวนขวายความเป็นผู้ชอบการงาน
ชอบการคุย ยินดีการคุย ขวนขวายความเป็นผู้ชอบการคุย ชอบความหลับ
ยินดีความหลับ ขวนขวายความชอบความหลับ ชอบความคลุกคลีหมู่คณะ
ยินดีความคลุกคลีหมู่คณะ ขวนขวายความเป็นผู้ชอบคลุกคลีหมู่คณะ ชอบ
ความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ยินดีความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ขวนขวายความชอบ
ความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุ
ให้เนิ่นช้า ขวนขวายความชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย
ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อสำเร็จการอยู่ ย่อมไม่มีความตายที่
เจริญ ตายแล้วก็ไม่เจริญ อย่างนี้แล ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีสักกายะ (เตภูมิกวัฏ)
ไม่ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอ
สำเร็จการอยู่ ย่อมมีความตายที่เจริญ ตายแล้วก็เจริญ ก็ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่
โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ย่อมมีความตายที่เจริญ ตายแล้วก็เจริญ
เป็นอย่างไร ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ชอบการงาน ไม่ยินดีการงาน
ไม่ขวนขวายความชอบการงาน ไม่ชอบการคุย ไม่ยินดีการคุย ไม่ขวนขวาย
ความชอบการคุย ไม่ชอบความหลับ ไม่ยินดีความหลับ ไม่ขวนขวายความ
ชอบความหลับ ไม่ชอบความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่ยินดีความคลุกคลีหมู่
คณะ ไม่ขวนขวายความชอบความคลุกคลีหมู่คณะ ไม่ชอบความคลุกคลีด้วย
คฤหัสถ์ ไม่ยินดีความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ไม่ขวนขวายความชอบคลุกคลีด้วย
คฤหัสถ์ ไม่ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ไม่ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ไม่ขวนขวายความชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ
ย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ย่อมมีความตายที่เจริญ

ตายแล้วก็เจริญ อย่างนี้แล ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีนิพพาน ละสักกายะเพื่อ
ทำที่สุดทุกข์โดยชอบ.
ครั้นท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้
กล่าวคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ผู้ใดประกอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่น-
ช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เช่น
ดังมฤค ผู้นั้นย่อมไม่ได้ชมนิพพานที่เกษม
จากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ส่วนผู้
ใดละธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีใน
บทคือธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้นั้น
ย่อมได้ชมนิพพานที่เกษมจากโยคะ หา
ธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้.

จบอรรถกถาสูตรที่ 4

อรรถกถาภัททกสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในภัททกสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า น ภทฺทกํ ความว่า ไม่ได้. อธิบายว่า ในสองอย่างนั้นผู้
ใดกลัวมากแล้ว ตาย ผู้นั้นชื่อว่า ตายไม่ดี. (ส่วน) ผู้ใด ถือปฏิสนธิในอบาย
ผู้นั้น (ชื่อว่า) มีกาลกิริยาไม่ดี.
ในบทมีอาทิว่า กมฺมาราโม ดังนี้ สิ่งที่มายินดีชื่อว่า อารามะ
อธิบายว่า ได้แก่ความยินดียิ่ง. บุคคล ชื่อว่า กมฺมาราโม เพราะมีความ